เกาะติดเทคโนโลยี e-POWER อาวุธค่ายนิสสัน

- Advertisement -spot_imgspot_img
- Advertisement -spot_imgspot_img

นิสสัน มอเตอร์ส – มีเครือข่าย R&D ในไทยมีวิศวกรไทย-ญี่ปุ่นรวมกันกว่า250 คนปี2563เมืองไทยถูกวางให้เป็นฐานการผลิตส่งออกเทคโนโลยี e-POWER รถไฟฟ้าแนวใหม่ที่มาพร้อมกับเป้าหมาย”เกมเชนจ์”ตลาดไทย

Advertisements

เมื่อไม่นานมานี้นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย)จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์นิสสันจากญี่ปุ่น เปิดตัวเทคโนโลยี e-POWER ที่เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะของนิสสัน ครั้งแรกในประเทศไทย โดยนิสสันที่พยายามเปลี่ยนทุกความเชื่อเกี่ยวกับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% e-POWER มีจุดขายคือสร้างความตื่นเต้นในการขับขี่ และอัตราเร่งที่เร้าใจหมดกังวลด้วยระยะทางที่ไปได้ไกลกว่า
จากแนวคิดการพัฒนาพลังงานทางเลือกที่คำนึงถึงความสะดวกสบาย ตอบโจทย์ทุกการเดินทาง ด้วยการผสานการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า และระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยเครื่องยนต์สันดาปภายในกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะผลิตกระแสไฟฟ้าไปเก็บไว้ที่แบตเตอรี่ และส่งผ่านไปยังมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 95 กิโลวัตต์ เพื่อขับเคลื่อนโดยไม่ต้องชาร์จไฟ และใช้น้ำมัน ผู้ขับขี่สัมผัสถึงการขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าเหมือนรถยนต์ไฟฟ้า 100%

อี-เพาเวอร์ กับตลาดโลก
ความสำเร็จก้าวแรกของเทคโนโลยี e-POWER เปิดตัวให้เห็นใน ประเทศญี่ปุ่นเป็นที่แรกของโลก ในปี 2016โดยนำเอา e-POWER ใส่ในรถรุ่นโน้ต และ ในปี 2018 ใส่ไว้ในรุ่น Serena e-POWER ซึ่งมียอดขายรวมถึงเดือนส.ค.ปี 2019 ถึง 700,000 คัน และตอกย้ำความสำเร็จของเทคโนโลยี e-POWER อย่างต่อเนื่อง กับการเปิดตัวเทคโนโลยี e-POWER ที่ฮ่องกงในปี 2019

ขุมพลัง อี-เพาเวอร์ (e-POWER) เป็นการประยุกต์จากแนวคิดของเทคโนโลยีขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าที่มีอยู่ในนิสสัน ลีฟ (Nissan LEAF) ที่ประสบความสำเร็จในด้านยอดขายและได้รับการยอมรับจากผู้ใช้งานมาแล้วทั่วโลกโดยในระบบใหม่นี้มีการติดตั้งเครื่องยนต์สันดาปภายในขนาดเล็กเพิ่มเติมเพื่อทำหน้าที่เป็นเครื่องปั่นไฟฟ้าพลังงานสูง เพื่อสร้างกระแสไฟฟ้าชาร์จเข้ามาเก็บในแบตเตอรีลดการพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจากภายนอก แต่ยังให้พลังงานไฟฟ้าในขนาดใกล้เคียงกัน
อี-เพาเวอร์ เทคโนโลยี

ขุมพลังมอเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ อี-พาวเวอร์ ประกอบด้วยเครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง, เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator), อินเวอร์เตอร์ (Inverter), และ มอเตอร์ไฟฟ้า โดยรถยนต์จะถูกขับเคลื่อนด้วยกำลังจากมอเตอร์ไฟฟ้าเท่านั้น ซึ่งกระแสไฟฟ้าที่ถูกส่งมาให้กับมอเตอร์ไฟฟ้านั้น จะถูกเก็บอยู่ในแบตเตอรี่กำลังสูง โดยที่มีเครื่องยนต์สันดาปภายในขนาดกะทัดรัดในทำหน้าที่ในการสร้างกระแสไฟฟ้าเข้ามาเก็บอยู่ตลอดเวลาเพื่อชดเชยกระแสไฟฟ้าที่ถูกใช้งานไป

ภายใต้ ระบบอี-เพาเวอร์ เครื่องยนต์สันดาปภายในจะไม่เชื่อมต่อเข้ากับชุดส่งกำลังหรือเกียร์โดยตรง แต่จะทำงานร่วมกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อสร้างกระแสไฟฟ้าและชาร์จเข้ามาเก็บในแบตเตอรี ก่อนที่กระแสไฟฟ้านี้จะถูกส่งไปสู่มอเตอร์ไฟฟ้าในการสร้างกำลังเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนตัวรถ ระบบ อี-พาวเวอร์ มีความโดดเด่นกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับระบบไฮบริดแบบดั้งเดิม ซึ่งมีมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดเล็กเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องยนต์สันดาปภายในเพื่อขับเคลื่อนผ่านระบบส่งกำลัง เพราะในระบบไฮบริดทั่วไปมอเตอร์ไฟฟ้าจะไม่ทำงานในภาวะที่แบตเตอรีมีกำลังไฟฟ้าต่ำหรือขณะอยู่ในย่านความเร็วสูง และขณะเดียวกัน ระบบ อี-เพาเวอร์ยังแตกต่างกับรถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับพลังงานไฟฟ้ามาจากชาร์จแบตเตอรีเพียงอย่างเดียวอีกด้วย

Advertisements

โดยทั่วไป โครงสร้างของระบบรถยนต์ไฟฟ้าแบบ นิสสัน ลีฟจำเป็นต้องมีมอเตอร์และแบตเตอรีขนาดใหญ่เป็นแหล่งกำลังหลักในการขับเคลื่อน ซึ่งยากต่อการนำระบบไปประยุกต์ให้เข้ากับรถยนต์แบบคอมแพ็กต์ทั่วไปได้ แต่ทีมวิศวกรของนิสสันสามารถค้นพบวิธีการที่ลดได้ทั้งขนาดและน้ำหนักไปจนถึงพัฒนาวิธีการควบคุมมอเตอร์และจัดการพลังงานไฟฟ้าที่เกิดขึ้น ซึ่งผลที่ได้ทำให้ขุมพลัง อี-พาวเวอร์ มีแบตเตอรีที่มีขนาดย่อมกว่านิสสัน ลีฟ แต่สามารถให้ความรู้สึกในการขับขี่เช่นเดียวกับรถยนต์ไฟฟ้า

ประโยชน์ของ อี-พาวเวอร์ (e-POWER)

ขุมพลังแบบ อี-พาวเวอร์ (e-POWER) ให้แรงบิดมหาศาลในทันทีและคงที่ตลอดเวลาทำให้มีอัตราเร่งที่รวดเร็วแต่นุ่มนวล นอกจากนี้ยังมีความเงียบในระหว่างการขับเคลื่อนเช่นเดียวกับนิสสัน ลีฟที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้า 100% โดยในระบบ อี-พาวเวอร์ เครื่องยนต์สันดาปภายในจะไม่ได้ทำหน้าที่ขับเคลื่อนตัวรถ จึงทำให้มีอัตราการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงต่ำกว่าเมื่อเทียบกับเครื่องยนต์ในรถยนต์ไฮบริดทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานในเมือง ซึ่งเทคโนโลยีสุดล้ำนี้ยังให้ผู้ขับขี่ได้รับประโยชน์เฉกเช่นเดียวกับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี (Battery Electric Vehicle – BEV) แต่สามารถลดความวิตกกังวลเมื่อต้องหาสถานีชาร์จไฟฟ้าได้อีกด้วย

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยมลพิษ และลดอัตราความสูญเสียบนท้องถนนให้เป็นศูนย์ ผ่านนวัตกรรมยานยนต์ที่ใช้พลังงานสะอาด อย่าง รถยนต์ไฟฟ้า และ ระบบขับขี่อัตโนมัติ (autonomous drive) ภายใต้แนวคิดของ “การขับเคลื่อนอัจฉริยะของนิสสัน (Nissan Intelligent Mobility)” ที่ได้กำหนดทิศทางของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ่านการใช้พลังงาน, การขับขี่, การอยู่ร่วมกันของรถยนต์และสังคมไปจนถึงการสร้างความสุขของการใช้รถยนต์ เทคโนโลยี อี-เพาเวอร์ นี้จะเป็นอีกก้าวที่สำคัญให้นิสสันเข้าใกล้เป้าหมายในด้านการปล่อยมลพิษที่เป็นศูนย์

ในปี พ.ศ. 2549 นิสสันประสบความสำเร็จด้วยการคิดค้นและพัฒนาแบตเตอรีสำหรับรถยนต์แบบไฮบริดที่มีประสิทธิภาพสูงเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ในขณะเดียวกันก็มีการนำเทคโนโลยีของนิสสันไม่ว่าจะเป็น การผสมผสานของเครื่องยนต์ผลิตกำลัง มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อน เพื่อให้เกิดความทนทาน ลดเสียงรบกวน, ลดการสั่นสะเทือน และลดความกระด้างต่างๆ (Noise/Vibration/Harshness – NVH) ซึ่งทั้งหมดได้กลายมาเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาขุมพลังอย่าง อี-เพาเวอร์ สำหรับรถยนต์ขนาดคอมแพ็กต์โดยเฉพาะ

นิสสันมุ่งมั่นในการพัฒนารถยนต์ปลอดมลพิษที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนมาตลอด โดยผ่านการใช้เชื้อเพลิงรูปแบบต่างๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลาย ขุมพลัง อี-พาวเวอร์ จึงถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการเติมเต็มรูปแบบของระบบขับเคลื่อนที่ใช้พลังงานไฟฟ้าของนิสสัน นอกเหนือจากการมุ่งพัฒนารถยนต์ที่ใช้เซลเชื้อเพลิงแบบใหม่ที่เรียกว่า SOFC (Solid Oxide Fuel Cell Vehicle) ที่เพิ่งประกาศความสำเร็จไปเมื่อไม่นานมานี้อีกด้วย

นิสสันเกมเชนจ์เป้าหมายสูงสุด

ในเชิงการตลาด ที่ชะลอตัวแน่นอนว่ายอดขายโดยรวมลดลงอย่างมากด้วยผลกระทบจากเศรษฐกิจเป็นฐานเดิมและเติมด้วยปัจจัยลบจากโควิด-19 จังหวะของการวาง นิสสัน คิกส์ อี-พาวเวอร์ ใหม่ ว่าจะไปแล้วหากไม่นับผลกระทบจากโควิด-19ก็ถือว่า เป็นการเตรียมหาตลาดใหม่ที่ถูกเวลาโดยเพราะ เซ็คเมนท์เดิมที่ใช้เครื่องยนต์ICE นั้นมีคู่แข่งครองตลาดที่แข็งแกร่ง การนำเอาคลิ๊ก e-POWER ซึ่งวางเครืองยนต์ใหม่ e-POWER เทคโนโลยี นี้นิสสันคิดว่าจะ”เปลี่ยนเกม”โดยพยายามเปลี่ยนทุกอย่างสู่ความทันสมัยเพื่อเข้าหากลุ่มลูกค้ารายใหม่อย่างตรงจุด อย่างไรก็ตามความล้ำสมัยกับการรับรู้และการใช้งานจริงต้องคิดถึงพฤติกรรมที่แท้จริงและงบการตลาดที่ต้องสร้างการรับรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายมหาศาล เหมือนอดีตที่โตโยต้าพยายามสร้างการรับรู้ระบบไฮบริดในประเทศไทยเพื่อวางตลาด คัมรี่ ไฮบริดเป็นครั้งแรก

ณ.วันนี้ด้วยปัจจัยต่างๆ ดูเหมือนโมเดลใหม่พร้อม e-POWER และความตั้งใจเปลี่ยนเกมของนิสสันยังไม่เป็นผล เพราะเจ้าตลาดอย่างโตโยต้าวางรถไฮบริด อย่างโคโรลล่า ครอสในกลยุทธ์ราคาความสดใหม่และความแข็งแรงของโตโยต้า เป็นขวางหนามอันแหลมคมที่ไม่สามารถทำให้นิสสันสร้างเกมของตัวเองได้ประกอบกับความแข็งแกร่งในแบรนด์อิมเมจของมาสด้าที่จับอะไรก็เป็นเงินเป็นทอง Cx-30 จึงเป็นหนึ่งในด่านสำคัญที่ ทำให้เทคโนโลยีสดใหม่ e-POWER เดินไปลำบากกระสุนนัดแรกนัดสำคัญของนิสสันยังไม่เข้าเป้า

วันนี้คงต้องใช้การสื่อสารที่มากกว่าเดิมและและต้องต่อเนื่อง จนกว่าจะเปลี่ยนแปลงการรับรู้ของตลดาได้ ซึ่งสิ่งที่นิสสันเป็นน่าจะยาก โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณที่ระดับโลก ถูกสั่งให้จำกัดรายจ่ายมากมายยกเว้นแต่นิสสันจะ”ใจถึง”กว่าอดีตซึ่งเมื่อนั้น เกมเชนจ์ยังพอมีโอกาสเกิดขึ้นในเมืองไทย

Advertisements
- Advertisement -spot_imgspot_img

Latest news

Advertising

spot_img

Related news

- Advertisement -spot_img