HomeEDITOR PICKS34ค่ายรถ "ล่ม"ในไทย ทำไมพวกเขาไม่ได้ไปต่อ?

34ค่ายรถ “ล่ม”ในไทย ทำไมพวกเขาไม่ได้ไปต่อ?

เป็นที่ทราบกันดีกว่าก่อนที่พฤติกรรมผู้บริโภคในตลาดรถเมืองไทยจะเติบโตและเปิดกว้างแบบทุกวันนี้”ไทยแลนด์ มาร์เก็ต” คือ พื้นที่”ปราบเซียน”ของนักการตลาดและบรรดาค่ายรถทั่วโลก”แบรนด์ใหม่”หรือมือทำตลาดมือใหม่ไม่มีโอกาสแจ้งเกิด ด้วยรสนิยมแบบไทยๆวัฒนธรรมการบริโภคที่แตกต่างเงื่อนไขการเข้ามาผลิตรถของรัฐบาลกำแพงภาษีมันคือความยากลำบากในอดีต
เอกลักษณ์เฉพาะตัวของคนซื้อไทยซึ่งจงรักภักดีต่อแบรนด์ทำให้พวกเขาไม่เปิดใจสำหรับสินค้าหน้าใหม่รวมถึงภาวะเศรษฐกิจไทยมีขึ้นสุดและลงสุด ก่อให้เกิดผลกระทบแบบใหญ่หลวงเกิดขึ้นมากมายสิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อ”แบรนด์รถ”ดังๆ เอาชีวิตมาทิ้งที่นี่เราบึนทึกเหตุการณ์ความเป็นไปของ แบรนด์รถ34แบรนด์ที่เข้ามาทำตลาดไทยที่เคยทิ้งร่องรอยประวัติศาสตร์ไว้ให้เล่าขาน

Advertisements

34 แบรนด์รถ"ล่ม"ในเมืองไทย


ยี่ห้อ

สาเหตุ
Alfa Romeoไทรเพรสทีจ ในเครือPNA คือตัวแทนที่บริหารอัลฟ่า ล่าสุด PNA โชคไม่ดีนักพอจะขายรถได้ ภาษีนำเข้ารถก็เปลี่ยน ทำให้เสียเปรียบการแข่งขันทางด้านราคา ในขณะที่ตัวรถมีปัญหาทางเทคนิคและอะไหล่แพง
Lanciaแลนเซียเป็นรถในเครือ"เฟียตกรุ๊ป"เช่นเดียวกับอัลฟ่าฯ แลนเซียนั้นชัดเจนในการหยุดทำตลาดรถพวงมาลัยขวาทั้งหมดเพราะนโยบายบริษัทแม่ หยุดพัฒนารถสำหรับตลาดพวงมาลัยขวา ในชื่อแลนเซียทั่วโลก
Chryslerไครสเลอร์ มีเรื่องนราวยิ่งกว่า มหากาพย์ ตั้งแต่มาล็อบบี้ให้รัฐบาลไทย ออกภาษีเพื่อเปิดตลาดรถ จี๊ปเพื่อเจาะตลาดรถญี่ปุ่นแต่ ต่อมารัฐบาลปรับโครงงสร้างภาษีสรรพสามิต เปลี่ยนเงื่อนไขจน ไครสเลอร์ต้องประกอบในประเทศแต่ บริษัทแม่ก็ล้มละลายเสียก่อนที่จะเติบโต
Citroenเคยอยู่ในไทยมายาวนานกับบริษัท หลังจากยนตรกิจแบ่งสมบัติ ก็เข้ามาอยู่ในการดูแลของ กลุ่มดีเอดี ยนตรกิจ (DAD Yontrakit) หรือบริษัท ไดเรคชันแนล ออโตโมบิลส์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ไม่ไม่ให้ความสำคัญตลาดไทย รถนำเข้ารถแพง แข่งขันไม่ได้ ยุติการจำหน่ายโดยผู้แทนในไทย
Daihatsuรถยนต์ที่เคยโด่งดัง ในมือ PNA โดนพิกัดภาษีใหม่ รถเสียเปรียบคู่แข่ง ประกอบกับบริษัทแม่ ไดฮัทสุ ในเครือ TMCไม่มีนโยบายทำตลาดต่อในไทย
Renaultเรโนลต์ (ประเทศไทย) โดยตระกูลบุญวิสุทธิ์ เจอมรสุมหลายด้าน ทั้งนโยบายภาษีรัฐบาลเปลี่ยน บริษัทแม่เล่นตัว เศรษฐกิจล่มสลายสุดท้ายไปไม่ได้ ปัจจัยหลักมาจากเมืองนอก
Daewooแดวูรถเกาหลี ทำท่าจะดีแต่เจอพิษต้มยำกุ้ง บริษัทแม่ถูกควบรวมกิจการ ยกเลิกทำแบรนด์โดยบริษัทแม่
Fiatครั้งสุดท้ายอยู่ในมือ PNA ปัญหาคุณภาพรถ กับนำเข้าต้องเสียภาษีสูง นโยบายบริษัทแม่ไม่สนับสนุน จบไปแบบเดียวกับ อัลฟ่าฯ รถดังที่ขายก่อนเลิกคือ ซิตี้คาร์ปุนโต
HoldenในเครือPNA เช่นกัน โฮลเด้นยกเลิกทำแบรนด์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยบริษัทแม่ ใช้แบรนด์เชฟโรเลตทำตลาดแทน แล้วก็บริษัทแม่ยกเลิกฐานการผลิตที่ออสเตรเลียพร้อมกับการล่มสลายของอุตสาหกรรมยานยนต์ออสเตรเลีย
Jeep*ตกอยู่ในอุปสรรคเดียวกับไครสเลอร์ ประเทศไทย เพราะภาษีสรรพสามิต ในประเทศเปลี่ยน-บริษัทแม่ล้มละลาย *ปัจจุบัน จี๊ป กลับมาทำตลาดไทยอีกรอบ
Lotus*บริษัทแม่โดยมาเลเซียนั้นอ่อนแอ รถรุ่นเก่า ไม่มีการพัฒนาแข่งขันไม่ได้ ต้องนำเข้า แบบCBU ภาษีสูงต่อมาขายให้ทุนจีน *ปัจจุบันมีตัวแทนรายใหม่ในไทย
BIZZARRINI ซูเพอร์คาร์ สัญชาติอีตาเลียน บิตซ์ซาร์รีนี เปิดตัวในไทย2008 รับจอง100 คันแต่ไม่มีรายงานการส่งมอบหลังจากนั้นบริษัทที่ประกอบ มีปัญหาทางด้านการเงินล้มเลิกโครงการ ไปไม่น่าจะทันได้ผลิตและขาย
Mitsuokaมัสซูโอกะ โดยยนตรกิจ กรุ๊ป รถนำเข้าจากญี่ปุ่น รูปแบบรถแปลกๆ เพราะดัดแปลงจากรถอื่นๆ เลยไม่เป็นที่นิยมแถมราคาสูงแพงระยับ
Opelจีเอ็มบริษัทแม่เปลี่ยนนโยบาย เข้ามาทำตลาดเอง พร้อมประกาศ เลิกทำแบรนด์OPEL ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ตัวสินค้าไม่ไ้ด้รับการพัฒนา แถมรถมีปัญหาทางด้านเทคนิคการใช้งาน อะไหล่แพง สุดท้ายพีเอ็นเอ ก็หย่ากับโอเปิล ซึ่งเที่ยวนั้นดูเหมือนพีเอ็นเอจะได้ ค่าชดเชยในฐานะถูกบอกเลิกสัญญาไปหลายบาทอยู่
NAZA รถมาเลเซียโดยเครือยนตรกิจเช่นกัน NAZA เป็นรถเมียน้อยโปรตอน ขนาดโปรตอนยังไม่รอด NAZA ก็ไปในปัจจัยเดียวกัน คือ รูปแบบรถล้าสมัย เทคโนโลยีเก่า ไม่มีศูนย์บริการ ไม่มีอะไหล่สนับสนุน
Skoda สโกด้ารถในเครือVW รถต้องนำเข้า CBU จากสาธารณะรัฐเช็ค สโกด้า อยู่ในการดูแลของเสี่ยเชียร แห่งยนตรกิจ เปิดขายมาหลายรุ่นแต่พอ รัฐปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตและภาษีนำเข้ารถCBU รอบใหม่ สโกด้าก็ทำราคาไม่ได้ ไม่มีรถขายยนตรกิจ สายเสี่ยเชียร..ก็บอกหยุดดีกว่า
SeatรถCBU จากสเปน จัดจำหน่ายโดยยนตรกิจ ตอนนันวางในโชว์รูมแฟด คู่กับออดี้ เซียตรถสเปนโดนปัจจัยเดียวกับ Skoda เสียภาษีนำเข้าสูง จากนโยบายใหม่ของรัฐบาล ต้องหยุดทำตลาดไป
Protonโปรตอนมาเลเซีย ทำตลาดโดยPNA บริษัทแม่อ่อนแอ –ฐานการเงินแข่งขันไม่ได้ รถราคาแพง ปัญหา อะไหล่ บริการ ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ
Chevroletบริษัทแม่มีนโยบายถอนตัวเพราะ หยุดผลิตรถเพื่อตลาดพวงมาลัยขวา (ปริมาณน้อย ตลาดเล็ก) ประกอบกับ บริษัทแม่มีปัญหาทางการเงิน เชฟโรเลตที่ประกอบในไทยคันสุดท้ายถูกส่งออกไปขายยังตะวันออกกลาง
DFSK*DFSKในยุคแรก ทำท่าจะดีแต่ต่อมา เกิดปัญหาการบริหารภายในของตัวแทนจำหน่ายในไทย ปัญหาการเงินต่างๆ นาๆ จำต้องละทุกอย่างไป แต่ตอนนี้ มีตัวแทนเข้ามาทำตลาดอีกครั้ง โดยอยู่ในเครืออีวีฮาลิโคนิก และหันไปนำเข้ารถจากแหล่งผลิตที่อินโดนีเซีย
Cheryความพยายามแรกของรถจากจีนค่ายแรกที่จะทำตลาดในไทยดูแลโดย ยนตรกิจ กับซีพี เณอรี่ในขณะนั้น เป็นเหมือนรถจีนทั่วไปคือ เป็นรถคุณภาพต่ำ สินค้าล้าสมัย คุณภาพผลิตและประกอบ ไม่เป็นที่ยอมรับ บริษัทแม่ที่จีนยังไม่สนใจทำตลาดต่างประเทศ เพราะในประเทศก็ผลิตไม่ทันขาย การสนับสนุนตลาดต่างประเทศ จึงไม่มีและรถน้ำเข้า เสียภาษีสูง ยนตรกิจพยายามหลายครั้งแต่สุดท้าย เฌอรี่ต้องบอกลาตลาดไทย ไปในเวลาไม่นานนัก
Dongfang*มีข้อจำกัดในความหลากหลายของสินค้า ปัญหาบริหารภายใน เช่นเดียวกับ DFSK *ปัจจุบันกลับมาทำตลาดอีกครั้ง ด้วยบริษัทใหม่ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ร่วมสมัยมากขึ้น
POLARSUNในเครือยนตรกิจ เป็นรถตู้นำเข้าจากจีน คุณภาพสินค้ายังไม่สามารถแข่งกับรถตู้ญี่ปุ่นได้ เพราะรูปแบบและเทคโนโลยีล้าสมัย
RELYกระบะ หัวตัดขนาดเล็กจากจีนคนไทยไม่นิยม แข่งขันไม่ได้ คุณภาพต่ำ
Fotonโฟรตอน กระบะแบรนด์จีนรายแรกทำท่าจะดีเปิดตัวบุกตลาดไทยแต่ทว่าเขามาเร็วเกินไปช่วง เป็นช่วงที่คนไทยไม่ประทับใจรถแบรนด์จีน เพราะภาพลักษ์สินค้าอื่นๆ นอกจากนี้ตัวแบรนด์FOTON ก็ยังไม่มีใครรู้จักแบรนด์ รถที่ทำออกมาเสนอในตลาดยังcopy toyota รุ่นแรกคือ TUNLAND DC
มีเฉพาะเกียร์ธรรมดา แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาที่ยังไม่สุด อนาคตเลยไม่มั่นใจ FOTONมาทีใหม่ ไม่สามารถสร้าง เครือข่ายการจำหน่ายที่ดีได้ ต้องแบกทุนเยอะ ตอนหลังเลยมีปัญหาการจัดการ
ROVERเปิดตัวครั้งแรกก.พ.2538 จำหน่ายโดยไทยอัลติเมทคาร์(ในเครือTR) มีจำหน่ายแค่2 รุ่นคือ ROVER 623GSi และ Rover 800 แบรนด์นี้ใช้แพทฟอร์มของเก๋งHonda จบลงด้วยบริษัทแม่ล่มสลาย (ตอนหลังฟอร์ดซื้อไปและขายต่อๆ ไปอีกหลายราย)ส่วนในไทย ไทยรุ่งฯก็เจอภาษีนำเข้า สูงขึ้นตาม นโยบายภาษีของรัฐบาลขณะนั้น ทำให้รถนำเข้ามีราคาแพง ขายไม่ได้ก็เลิกในที่สุด
DATSANในสหรัฐอเมริกาในปี 1984อยู่ๆ ค่ายดัทสัน (ขณะนั้นเริ่มมีชื่อNissanแล้ว) ก็บอกว่า Nissan "ตัดสินใจเปลี่ยนชื่อ Datsun เป็น Nissan ทั้งหมดแม้ว่า ดัทสันจะเป็นแบรนด์ แฟลกซ์ชิปในตลาดสหรัฐฯ โดยเริ่มใช้ชื่อนิสสันและเปลี่ยนทั่วโลก ปี 1986 ดัทสันเมืองไทยก็พลอยต้องเปลี่ยนไปด้วย แล้วดัทสันก็เงียบไปกว่า 30 ปีจนกระทั้่ง Carlos Ghosn ซีอีโอคนดังของ Nissan ลุกมาบอกว่า Datsun กำลังจะกลับมาโดยทำเป็นแบรนด์รถยนต์ราคาประหยัดในตลาดเกิดใหม่และเริ่มเปิดตัวในเดลี ประเทศอินเดียด้วยรุ่นDatsun Go ซึ่งก็ไม่ค่อยสำเร็จอะไรมากนัก สรุปคือ- บริษัทแม่เปลี่ยนเป็นแบรนด์ มันก็เลยหายไป
SAABรถCBU คุณภาพเยี่ยมจากสวีเดนแต่ไปไม่ถึงฝั่งในไทยแม้จะได้พาร์ทเนอร์เงินหนาอย่าง ออโต้เทคนิค ในเครือตรีเพชรอีซูซู เพราะ ปัญหาการเงินของบริษัทแม่และภาษีนำเข้าของไทยเปลี่ยน ทำให้รถแพงแข่งขันไม่ได้ ต่อมาสวีเดนตัดขายให้จีนไป
Spykerซูเปอร์คาร์เจ้าสำอางแต่แพงระยับ ไปไม่รอดเช่นกันเพราะการพัฒนารถช้ากว่าคู่แข่ง แถมการตลาดในไทยไม่เก่ง รูปแบบรถโบราณบุญเก่ากินไม่ได้
RUFคนแทนจะจำไม่ได้ว่ามันคืออะไร RUFคือแบรนด์หนึ่งของรถสปอร์ต คาร์ เยอรมัน สร้างจากฟอร์แพลนของ คาเรร่า911 จำหน่ายโดย รอยัลมอเตอร์ (ประเทศไทย) ปัจจัยทางด้านราคา ทำให้RUF ไปไม่ได้มากกว่าคุณภาพ
VWVW ไม่่มีตัวแทนในไทยแม้ปัจจุบันปี65ก็ยังไม่มี รถเก๋งPassenger car ของ VW เคยโลดแล่นในไทย ในนามเยอรมันออโต้เวิร์ค (ยนตรกิจ) สาเหตุการถอนตัวของVWเกิดจากโครงสร้างภาษีเปลี่ยน แม้ยนตรกิจจะทำการประกอบCKDในไทยในช่วงแรกพร้อมเจรจาหาทางร่วมมือ กับVW AG แต่ไม่สำเร็จ ยนตรกิจ จึงแยกทางทางกัน VWพุ่งเป้าไปจีนและหยุดตลาดไทย สำหรับรถVWที่จำหน่ายในไทยในเวลานี้ ผู้จำหน่ายมีลิขสิทธิ์เฉพาะรถcommercial carเท่านั้น หมายเหตุ: เคยมีรายงานว่าค่าย AAS ทำการเจรจา เพื่อขอเปิดตลาด เก๋งของVW แต่ จนขณะนี้ก็ยังไม่มีข้อสรุป
HUMMERรถในเครือGM ถือสิขสิทธิ์การจำหน่ายพวงมาลัยขวาโดยเบนซ์ศรีนครินทร์ ปัญหาเรื่อง การผลิตจากโรงงานพวงมาลัยขวา ซัพพลายรถไม่ต่อเนื่องผู้แทนเลยหันไปนำเข้ารถเกรย์มาร์เก็ต จากอังกฤษ ต่อมา ภาษีนำเข้าเปลี่ยน ทำให้รถมีราคาสูง ประกอบกับบริษัทแม่ในขณะนั้นมีปัญหาการเงิน ฮัมเมอร์เลยค่อยๆ หายไปจากตลาด อย่างน่าเสียดาย
TESLAค่ายนี้ไม่ทันขายก็ล่มแล้ว -9 พ.ย.58 บริษัท เทสลา ออโตโมทีฟ จำกัด อ้างว่าได้เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าเทสลาในเมืองไทยและ จัดแถลงข่าวแนะนำ พันธมิตรและเปิดตัวบริษัทอย่างเป็นทางการที่โรงแรมเอ็มโพเรียม สวีท บาย ชาเทรียม มีแผนโชว์รถครั้งแรก ในมหกรรมยานยนต์ 2015 ที่เมืองทองธานี แต่สุดท้ายจบลงด้วยการโพสต์ผ่านFB ของผู้บริหารว่า บริษัทติดปัญหาลิขสิทธิ์ บางประการ ขอเลื่อนการเข้างาน ข้อเท็จจริง คือว่า หากคุณเข้างาน โชว์ ในฐานะ"แบรนด์" ต้องโชว์เอกสารการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการซึ่ง เทสลา ออโตโมทีฟ ไม่สามารถหามาได้ ทุกอย่างก็เอวัง (ปัจจุบันรถTESLA ที่จำหน่ายในตลาดล้วนเป็นรถเกรย์มาร์เก็ต ไม่ใช่ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ และหากพูดถึง คนแรกที่นำเข้าTESLA มาขาย ต้องบันทึกไว้ว่าอิตัล อิมพอร์ต นำเข้าเป็นเจ้าแรก) ปัจจุบัน 2566 เทสล่า กลับมาไทยอีกครั้งด้วยการทำการตลาดตรงจาก บริษัทแม่
JOYLONG"จอยลอง"ผู้ผลิตรถตู้ และมินิบัสจากหยางโจว ในไทยเคยนำเข้ารถรุ่น A-series ซึ่งหน้าตาcopy โตโยต้า คอมมิวเตอร์ มาทุกกระเบียดนิ้ว ชื่อชั้นของรถจีนแบรนด์นี้ยังไม่เป็นที่รู้จัก ทำให้ความน่าเชื่อถือน้อย ประกอบกับไม่มีการพัฒนาเครือข่ายและศูนย์บริการอย่างชัดเจน ทำให้ค่อยๆ เฟดหายไปจากตลาด ทุกวันนี้คนซื้อต้องเอาบอดี้ มาปั้นเอง ดัดแปลงอะไหล่Totota มาใช้เสียเป็นส่วนใหญ่

*กลับมาทำตลาดอีกครั้ง โดยตัวแทนจำหน่ายรายใหม่

สรุป เหตุและผลสำหรับผู้ที่ไม่ได้ไปต่อ


1.นโยบายภาษีเปลี่ยน :ช่วงปี 2534 เมื่อรัฐบาลคุณอานันท์ ปันยารชุนประกาศลดภาษีนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูป(CBU) ทำให้รถที่ไม่เคยมีโอกาสขายในไทยต่างพาเลช การเข้ามาในตลาด แต่หลังจากนั้นมีการปรับภาษีนำเข้าสูงขึ้น ทำให้รถที่ประกอบในประเทศได้เปรียบทางด้านภาษีและรถที่นำเข้า ต้องถอนตัวไป
2.การเปลี่ยนนโยบายของแบรนด์ ต่างประเทศ :เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้รถบางยี่ห้อต้องถอนออกไปจากตลาดไทย

4.ภาวะเศรษฐกิจ:วิกฤตเศรษฐกิจโดยเฉพาะเหตุการต้มยำกุ้งในอดีต ที่กระทบไปทั่วโลกทำให้บริษัทต่างๆ ต้องปรับโครงสร้างและมีผลต่อแบรนด์ในหลายๆ ตลาด
5.ขนาดตลาดไทยเล็กบริษัทแม่ไม่ซัพพอร์ต : การได้รับการสนับสนุนจากบริษัทแม่อย่างจริงจังเช่น ซัพพลายรถรุ่นใหม่ การกำหนดเงื่อนไขราคา เงื่อนไขการซื้อ อะไหล่ ชิ้นส่วนหรือแม้แต่รุ่นที่เป็นที่นิยมในไทย แต่หากเมืองนอกไม่ให้ความสำคัญ ส่งรถไม่ตรงรุ่นบ้าง ไม่ลดราคาอะไหล่บ้างล้วนเป็นสาเหตุทำให้แบรนด์เหล่านั้นแข่งขันไม่ได้ในตลาดไทย
6.คุณภาพสินค้า :บางแบรนด์ยังมีคุณภาพไม่ดี เทียบกับรถคู่แข่งที่อยู่ในตลาดทำให้ตลาดไม่นิยม
7.การรับรู้แบรนด์:ความอ่อนแอของรถหน้าใหม่คือปัญหาเพราะตลาดไม่รู้จัก ไม่เคยใช้ไม่มีราคาขายต่อ ทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับ
8.การบริหารภายใน:หลายแบรนด์ที่ต้องล่มไปเพราะปัญหาการบริหารจัดการภายใน เรื่องหุ้นส่วน การเงิน และเงินทุนทำให้ไม่สามารถแจ้งเกิดได้

Advertisements
RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Advertisements

Most Popular

Recent Comments