Tuesday, December 3, 2024

ฟอร์ดผลิตเบาะรถยนต์ด้วยโฟมจากถั่วเหลือง

- Advertisement -spot_imgspot_img
- Advertisement -spot_imgspot_img


กรุงเทพฯ ประเทศไทย 22 มีนาคม 2561 – ปีนี้นับเป็นปีที่ 10 ตั้งแต่ที่ฟอร์ดเริ่มใช้โฟมที่ผลิตจากถั่วเหลืองเป็นครั้งแรกในรถฟอร์ด มัสแตง รุ่นปี 2008 และตั้งแต่ปีพ.ศ. 2554 เป็นต้นมา โฟมจากถั่วเหลืองก็ได้กลายมาเป็นวัสดุหลักที่ใช้ในการผลิตเบาะรองนั่ง เบาะรองหลัง และเบาะรองคอ ในรถฟอร์ดทุกคันที่ผลิตในอเมริกาเหนือ ปัจจุบัน จากรถมากกว่า 18.5 ล้านคัน และถั่วเหลืองร่วม 5 แสนล้านเมล็ดที่ใช้ในการผลิต เราได้ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศไปมากกว่า 228 ล้านปอนด์ ซึ่งถือเป็นจำนวนเท่ากับก๊าซที่ต้นไม้จำนวน 4 ล้านต้น จะช่วยดูดซึมออกจากชั้นบรรยากาศต่อปี ตามข้อมูลจากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา

เราได้รับแรงบันดาลใจในการใช้โฟมจากถั่วเหลืองเป็นวัสดุทางเลือกที่มีพืชเป็นองค์ประกอบหลัก เพื่อทดแทนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากปิโตรเลียมทั่วไปในปีพ.ศ. 2550 ซึ่งถือเป็นประโยชน์ในแง่ของความยั่งยืน โดยไม่ทำให้คุณภาพหรือความทนทานของรถยนต์ลดลงแต่อย่างใด เฮนรี่ ฟอร์ด ผู้ก่อตั้งบริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดในการนำวัสดุชีวภาพมาใช้ตั้งแต่ในช่วงปีพ.ศ. 2483 ซึ่งการนำแนวคิดนี้มาสู่ตลาดเป็นครั้งแรก นับเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างแท้จริง เพราะโฟมที่ผลิตขึ้นมาในช่วงแรกนั้นมีสภาพแย่มาก และไม่ได้มาตรฐานของที่นั่งในรถยนต์เลยแม้แต่น้อย โฟมที่ได้จากการทดลองครั้งแรก ๆ ก็ไม่ทนทานพอที่จะนำมาใช้เป็นเบาะที่นั่งตามมาตรฐานที่ว่าตัวเบาะต้องคงสภาพเดิมเป็นระยะเวลา 15 ปีขึ้นไป ซึ่งยังไม่รวมถึงการแยกชั้นของถั่วเหลืองและปิโตรเลียม และโฟมจากถั่วเหลืองก็มีกลิ่นไม่ดีเท่าไหร่นัก ฟอร์ดจึงต้องพยายามค้นคว้าหาวิธีปรับปรุงสูตร ปรับแก้ส่วนผสมทางเคมี และกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ออกไป
เมื่อสิบปีที่แล้ว โลกของเราแตกต่างจากยุคปัจจุบันมาก ยังไม่ค่อยมีใครเห็นว่าการรักษาสิ่งแวดล้อมจะทำกำไรให้บริษัทได้ ดังนั้น การโน้มน้าวใจผู้ผลิตให้เห็นว่าโฟมจากถั่วเหลืองเป็นวัสดุแห่งอนาคตก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน

Advertisements
Advertisements
- Advertisement -spot_imgspot_img

Latest news

Advertising

spot_img

Related news

- Advertisement -spot_img