Tuesday, December 3, 2024

ฮุนได บุกไทยปักฐานEV กำหนดเปิดตัว เม.ย66

- Advertisement -spot_imgspot_img
- Advertisement -spot_imgspot_img

หลังจากฮุนได ขายรถในตลาดไทยมานานหลายปีผ่านตัวแทนจำหน่ายที่ผัดเปลี่ยนกันกว่าสามทศวรรษล่าสุดฮุนได มอเตอร์ มีแผนจะเข้ามาลงทุนและทำตลาดเอง ซึ่งเปลี่ยนโครงสร้างการกระจายสินค้า การขายและการทำการตลาดเหมือนบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่น อย่างโตโยต้า ฮอนด้า นิสสันหรือ บริษัทชั้นนำจากยุโรป

Advertisements

แหล่งข่าวจากวงการรถยนต์ระบุกับ auto.co.th ว่า ฮุนไดมีแผนเข้ามาทำตลาดเองโดยมีแผนเปิดตัวในเดือนเมษายน2566นี้ หลังจากฮุนได มอเตอร์ ศึกษาแนวทางการทำตลาดเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทยมาเป็นเวลายาวนาน ทั้งนี้ไทยถูกวางเป็นศูนย์กลางการผลิตของภูมิภาคและจะเน้นไปที่การสร้างฐานการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์BEv ในขณะที่แผนการผลิตรถกระบะพวงมาลัยขวาที่ศึกษาไว้นานเช่นกันถูกพักไว้ก่อน

ฮุนได โมบิลิตี้

แหล่งข่าวระบุว่า การจัดตั้งบริษัทเพื่อทำหน้าที่ดูแลการตลาดรายใหม่และดูแลการผลิต ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อ 2 ก.ย. 2565 ที่ผ่านมามีทุนจะทะเบียน601 ล้านบาท สำนักงานตั้งอยู่ที่ 388 อาคารเอ็กซ์เชนจ์ ทาวเวอร์ ชั้นที่ 18 ยูนิต 1801, 1802, 1804 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร โดยมีรายชื่อผู้บริหารและผู้ถือหุ้นสำคัญ 2 รายคือ นายแจ กยู ชอง และนายจุนโฮ ลี วัตถุประสงค์การจัดตั้งคือ ประกอบกิจการผลิต ประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ ค้าส่ง ปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ อะไหล่ ส่วนประกอบ อุปกรณ์เสริมสำหรับรถยนต์ทุกประเภท

แหล่งข่าวระบุว่า ฮุนได มอเตอร์ ได้ส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงนี้มาตั้งแต่ปลายปี2565 ในงานมหกรรมยานยนต์ ที่เมืองทองธานีด้วยการนำเสนอไลน์อัพของBEv ฮุนได ครบทุกโปรดักซ์ซึ่งหมายถึงการปุฐานการรับรู้ในตลาดว่ารถยนต์ไฟฟ้าจากเกาหลี มีคุณสมบัติที่ดีพอในการแข่งขันในตลาดที่เติบโตอย่างประเทศไทย แม้ในงานโชว์ยังไม่มีการรับจองแต่ตลาดส่วนใหญ่ก็รับรู้ถึงความน่าสนใจของรถยนต์ฮุนได ที่ขับเคลื่นอด้วยระบบไฟฟ้า ในขณะที่ ฮุนได มอเตอร์ (ไทยแลนด์) ตัวแทนจำหน่ายก็ทำการเคลียร์สต็อครถที่เชื่อว่าขายช้า นั่นคือ ฮุนได เครต้า รถคอมแพ็ค เอสยูวี ที่เพิ่งเปิดตัวไม่นานแต่ ได้นำมาลดราคาลงอย่างมากผิดวิสัยของรถรุ่นใหม่ที่จะลดทีละแสนบาทส่วนรถอื่นๆ ที่ไม่ต้องเคลียสต็อคเพราะว่า รถเหล่านั้นมีแบคออเดอร์ ยาวนานมากอยู่แล้วจากปัญหาที่เกาหลีซัพพลายรถยนต์ไม่ทันความต้องการ

ฮุนได ในประเทศไทย

Advertisements

แบรนด์ฮุนได เริ่มเข้าสู่ตลาดประเทศไทยในปี 2534 โดยกลุ่มPNA โดยขณะนั้นรัฐบาลไทยได้มีการปรับโครงสร้างภาษีอุตสาหกรรมรถยนต์ครั้งใหญ่ เพื่อการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในประเทศด้วยกลยุทธ์ลดมาตรการกีดกันและการปกป้อง ทำให้รถนำเข้าสามารถเข้ามาแข่งในราคาที่ใกล้เคียงกับรถที่ประกอบในประเทศ เพดานภาษีรถนำเข้า ลดลงเปิดโอกาสให้ค่ายรถที่ไม่มีโรงงานประกอบในไทยส่งรถเข้ามาขายได้ ฮุนได ก็เป็นหนึ่งในค่ายรถที่ไม่มีฐานการผลิตจึงส่งรถสำเร็จรูป (CBU)เข้ามาให้ตัวแทนจำหน่ายคือ ยูไนเต็ดออโต้เซลส์(ประเทศไทย) จำกัด บริษัทในเครือ PNA เป็นผู้จัดจำหน่าย ซึ่งในระยะเวลาทำตลาด 5 ปี แบรนด์ฮุนไดก็สามารถครอบครองส่วนแบ่งตลาดรถยนต์นั่งสูงสุดเป็นอันดับ6 ผู้บริหารของฮุนไดในยุคนั้นคือ กิตติวุฒิ ศิริรัตนคุ้มวงศ์ และกิตติ มาไพศาลศิลป์ ต่อมาตลาดของฮุนไดต้องซบเซาลงตามลำดับ รถนำเข้าไม่สามารถทำราคาแข่งขันกับผู้ประกอบรถในประเทศอีกครั้งหนึ่ง ฮุนไดต้องถอนตัวไปจากการที่รัฐบาลไทย มีการปรับโครงสร้างรถยนต์ใหม่โดยเพิ่ม ภาษีนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูปอีกครั้งประกอบกับ ฮุนได มอเตอร์ บริษัทแม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรงของเอเซีย

ฮุนไดยุคใหม่

หลังจากหายไปจากตลาดพักใหญ่ ดีลเลอร์ที่เคยร่วมลงทุนทำโชว์รูมกับPNA ต้องทิ้งโชว์รูมให้ซบเซารกร้างอยู่พักใหญ่ บ้างก็ย้ายไปขายแบรนด์อื่นๆ รถยนต์ฮุนไดกลับมาตลาดไทยอีกครั้งด้วยโครงสร้างระบบการจัดจำหน่ายแบบเดิมคือ ตั้งตัวแทนจำหน่ายและยังคงเป็นรถที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เป็นรถนำเข้าสำเร็จรูป(CBU) ซึ่งแน่นอนมีภาระภาษีที่สูง
นักลงทุนด้านชิ้นส่วนฯ ชื่อ “เย็บ ซู ชวน” ชาวมาเลเซียเป็นผู้ร่วมทุนกับญี่ปุ่น ทำตลาด ภายใต้ชื่อ บริษัท ฮุนได มอเตอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด หรือ HMTh (ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2549)
ถือเป็นยุคใหม่ของแบรนด์รถยนต์ฮุนได แม้จะชื่อว่า ฮุนได มอเตอร์ ไทยแลนด์แต่โครงสร้างการถือหุ้นไม่มีฮุนได มอเตอร์เกาหลีถือหุ้นด้วย ฮุนได มอเตอร์ ไทยแลนด์เกิดจากการร่วมทุนระหว่าง โซจิทซ์ คอร์ปอเรชัน ซึ่งเป็นบริษัทเทรดดิ้ง ของประเทศญี่ปุ่น กับ บริษัท อาปิโก้ไฮเทค จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตชิ้นส่วนรายใหญ๋ เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งอาปิโก้ เป็นของเย็บ ซู ชวน นั่นเอง เย็บ ซู ชวน คือเจ้าของโรงงานผู้ดำเนินธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ส่งให้โรงงานประกอบรถยนต์หลายๆ ค่าย และเป็นดีลเลอร์รถหลายยี่ห้อ อดีตแย็ปซูชวนคือ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ฟอร์ด จากยุโรป แต่เพียงผู้เดียวในไทย ก่อนฟอร์ดมอเตอร์จะปรับโครงสร้างมาทำตลาดเอง

HMTh เป็นผู้แทนจำหน่ายฮุนได อย่างเป็นทางการแต่เพียงผู้เดียวในไทยภาย จนถึงเวลานี้ เป็นเวลา 17ปีที่รับผิดชอบดูแลการขาย การตลาด และการบริการหลังการขายของแบรนด์ฮุนได มาโดยตลอด ในปี2564 HMTh มีรายได้รวม 5,285ล้านบาท มีกำไร 499ล้านบาท

สำหรับเส้นทางของฮุนไดยุคใหม่(HMTh) นั้นมีไทม์ไลน์ดังนี้
2549: ก่อตั้งบริษัท ฮุนได มอเตอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด ทุนจดทะเบียน550ล้านบาท
2550: เปิดตัว บริษัท ฮุนได มอเตอร์ (ไทยแลนด์) สู่สาธารณะครั้งแรก และ และเปิดตัว รุ่น โซนาต้า คูเป้ และ ซานตาเฟ่ เพื่อจำหน่ายเป็นครั้งแรก
2551: เปิดตัวรุ่น H-1 ซีรีส์
2553: เปิดตัวรถ Grand Starex ซีรีส์ (ประกอบในประเทศอินโดนีเซีย)
2556: เปิดตัวสำนักงานใหญ่แห่งใหม่บนถนนวิภาวดี-รังสิต
2557: เปิดตัว Elantra ซีรีส์ (รถประกอบในประเทศมาเลเซีย)
2557: โชว์รูมฮุนไดเปิดครบ 25 แห่ง
2559: เปิดตัวรุ่นไมเนอร์เชนจ์ H-1/Grand Starex MC16
2559: ยอดขายสะสมเกิน 30,000 คัน
2560: ครบรอบ 10 ปี บริษัท ฮุนได มอเตอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด
2561: เปิดตัวรถยนต์พลังงานไฟฟ้าฮุนไดคันแรกในไทย IONIQ electric
2562: เปิดตัวรุ่นไมเนอร์เชนจ์ H-1/Grand Starex MC20 และรถยนต์พลังงานไฟฟ้า KONA electric
2563: เปิดตัวรถยนต์รุ่นลิมิเต็ด H-1 Impressive
2564: เปิดตัวรุ่น STARIA และมีพื้นที่จัดแสดงรถฮุนได Hyundai City Station ที่ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์
2565:เปิดตัวฮุนได เครต้า

Advertisements
- Advertisement -spot_imgspot_img

Latest news

Advertising

spot_img

Related news

- Advertisement -spot_img