Saturday, October 12, 2024

โตโยดะบินด่วนเมืองไทยแก้ปัญหา”ยาริส เอทีฟ” ยันคุณภาพความปลอดภัย ตามข้อกำหนด UN-R95

- Advertisement -spot_imgspot_img
- Advertisement -spot_imgspot_img

นายอากิโอะ โตโยดะ ประธานคณะกรรมการบริหารของโตโยต้า (TMC) บินด่วนแถลงข่าวในไทย ตอกย้ำความเชื่อมั่นในรถโตโยต้าที่ผลิตในประเทศไทย พร้อมแจงแผน ส่งมอบยาริส เอทีพในไทยอีกครั้ง

Advertisements

[กรุงเทพฯ, 8 พ.ค. 2566] จากกรณีที่บริษัท ไดฮัทสุ มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้ออกมาชี้แจงถึงความไม่เหมาะสมในการเตรียมการทดสอบมาตรฐานการชนด้านข้าง UN-R95 ของรถยาริส เอทีฟ ที่ผลิตในประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2566 ที่ผ่านมานายอากิโอะ โตโยดะ ประธานคณะกรรมการบริหารของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น (โตโยต้า) ได้เดินทางมายังประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2566 เป็นการเฉพาะกิจ เพื่อทำงานร่วมกับผู้เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด  และแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง ที่ก่อให้เกิดความไม่สะดวกและข้อกังวลใจ ที่อาจเกิดขึ้นกับลูกค้าชาวไทย ผู้แทนจำหน่ายฯ พนักงาน หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ในส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

นายอากิโอะ โตโยดะกล่าวว่า เหตุผลที่ตนเดินทางมายังประเทศไทยในครั้งนี้ เนื่องจากต้องการตอกย้ำความเชื่อมั่นของลูกค้าชาวไทยว่า “ยาริส เอทีฟ” เป็นรถที่มีมาตรฐานความปลอดภัย เป็นไปตามข้อกำหนดของประเทศไทยทุกประการ อีกทั้งยังยืนยันว่าลูกค้าและผู้ที่ครอบครองยังคงสามารถใช้งานรถรุ่นนี้ต่อไปได้อย่างสบายใจไร้ข้อกังวล

นายโตโยดะ กล่าวเพิ่มเติมว่า โตโยต้านั้นเป็นองค์กรที่เมื่อพบปัญหาไม่ว่าในเวลาใด เราจะหยุด เพื่อร่วมกันค้นหาสาเหตุที่แท้จริง ทำการปรับปรุง และป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดซ้ำขึ้นอีก อันเป็นปรัชญาของโตโยต้าที่ทุกคนต่างยึดมั่น นับตั้งแต่ก่อตั้งองค์กร  ทั้งนี้ตัวผมเองจะเป็นหัวเรือหลัก ในการนำพาทุกคนมุ่งสู่ปรัชญานั้นอีกครั้ง ตลอดจนส่งเสริมเพื่อให้ทุกคนในองค์กรปฏิบัติตามอีกด้วย

ในงานแถลงข่าวนาย มาซาฮิโกะ มาเอดะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารภาคพื้นเอเชีย กล่าวเพิ่มเติมว่า โตโยต้ามี กระบวนการในการปฏิบัติก่อนส่งรถให้กับลูกค้า นั่นคือ การพัฒนา การรับรอง การผลิต และการจำหน่าย ทั้งนี้โตโยต้า ขอยืนยันว่า เรื่องที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ได้เป็นปัญหาเรื่องความปลอดภัยและคุณภาพของรถยนต์ระหว่างกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ แต่เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการรับรอง ซึ่งมีการตรวจพบถึงความไม่เหมาะสมในการเตรียมการทดสอบมาตรฐานการชนด้านข้าง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่เราให้ความสำคัญอย่างยิ่ง จึงมีการเร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

และเพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบของประเทศไทย โตโยต้าจึงระงับการส่งมอบและการจำหน่ายรถยนต์รุ่นดังกล่าวชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน2566ที่ผ่านมา โดยขณะนี้กำลังประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับการกลับมาจำหน่ายและส่งมอบรถรุ่นนี้ในลำดับต่อไป

Advertisements

“ทั้งนี้ โตโยต้าให้ความสำคัญและจริงจังกับเรื่องที่เกิดขึ้น เราพยายามที่จะทบทวนกระบวนการและดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน

โตโยต้ามีความมุ่งมั่นที่จะผลิตและส่งมอบรถยนต์ที่มีความปลอดภัยและมีคุณภาพสูงสุดให้กับลูกค้าของเราอยู่เสมอ  และยังคงมุ่งให้ในการให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรก เราขออภัยจากใจจริงต่อลูกค้าทุกท่านและผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ให้ความไว้วางใจในแบรนด์โตโยต้า ต่อความไม่สะดวกและข้อกังวลใจ ทั้งนี้ ทางบริษัทยินดีที่จะรับฟังทุกความคิดเห็น และมุ่งหวังที่จะได้รับความไว้วางใจจากทุกภาคส่วน   ตลอดจนยังคงมุ่งมั่นที่จะเดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อลูกค้าคนสำคัญของเรา”

ไทม์ไลน์ ล่าสุดในกระบวนการรับรองอนุมัติ

  • หลังจากที่ตรวจพบความไม่เหมาะสมในการเตรียมการทดสอบมาตรฐานการชนด้านข้าง ทางบริษัท
    ไดฮัทสุ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนาตัวถังและในการขอการรับรอง  ได้ดำเนินการทดสอบการชนด้านข้าง ด้วยชิ้นส่วนที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในรถรุ่นยาริส เอทีฟ เป็นการภายใน และขอยืนยันว่าเป็นไปตามข้อกำหนด UN-R95 ทั้งหมด  
  • ไดฮัทสุ ได้ทำการปรึกษาหน่วยงานภายนอกที่ทำการตรวจสอบและออกหนังสือรับรอง หรือ Vincotte มีการลงความเห็นว่า สำหรับรถรุ่นปัจจุบัน ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการแก้ไขใดๆ ซึ่งทางบริษัทขอยืนยันว่ารถมีมาตรฐานด้านความปลอดภัยสอดคล้องกับข้อบังคับที่กำหนดไว้ และลูกค้าสามารถใช้งานรถของท่านต่อไปได้ตามปกติ
  • นอกจากนั้น ทางบริษัทได้ดำเนินการทดสอบอีกครั้ง โดยใช้รถที่ผลิตและจำหน่ายจริงในประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2566  โดยมีหน่วยงานภายนอกที่มีอำนาจรับรองมาตรฐาน ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของประเทศเบลเยี่ยมเข้าร่วมเป็นสักขีพยานในการทดสอบ และได้รับการอนุมัติว่าเป็นไปตามข้อกำหนด UN-R95 โดยไม่เป็นการเพิกถอนหรือยกเลิกหนังสือรับรองเดิม
  • 2 พ.ค. 2566, บริษัทฯได้รับใบขยายผลการรับรอง UN-R95 (โดยไม่เป็นการยกเลิกผลการรับรองเดิม) และขณะนี้ ทางบริษัทประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในประเทศ เพื่อดำเนินการจำหน่ายและส่งมอบรถรุ่นนี้ในลำดับต่อไป

สำหรับยาริส เอทีฟ เป็นรถยนต์ Subcompact sedan รุ่นใหม่ล่าสุดของโตโยต้า เปิดตัวเป็นครั้งแรกของโลก ที่ไทย เมื่อ วันที่ 9 สิงหาคม 2565 ณ TOYOTA ALIVE บางนา กม.3

      ภายใต้คอนเซ็ป “People beloved car”  หรือ “รถยนต์ที่เป็นที่ชื่นชอบของทุกคน” อันเป็นผลสำเร็จจากการศึกษาความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริงในทุกด้าน ทำให้ได้รถยนต์ที่จะเป็นที่ชื่นชอบของทุกคน ตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง  “YARIS ATIV เริ่มจำหน่าย ครังแรกในปี พ.ศ.2560 โดยมีจุดมุ่งหมายในการนำเสนอรถยนต์ในราคาที่เป็นเจ้าของได้ง่าย ประหยัดน้ำมัน และเชื่อถือได้ในคุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าชาวไทย เช่น กลุ่มคนที่เพิ่งเริ่มทำงาน และคนรุ่นใหม่ รถรุ่นดังกล่าว มียอดขายเป็นอันดับ 1 ในตลาด Subcompact sedan ด้วยยอดขายรวม 133,000 คัน นับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน

ก่อนหน้านี้ โตโยต้า มอเตอร์ (TMC) ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับกรณียาริส เอทีฟดังนี้

คำชี้แจงเกี่ยวกับการเตรียมการทดสอบการชนด้านข้างสำหรับรถยนต์โตโยต้าเฉพาะรุ่นที่ผลิตในภูมิภาคเอเชีย

           บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น (โตโยต้า) ได้รับแจ้งเกี่ยวกับข้อบ่งชี้ถึงความไม่สมบูรณ์ของการเตรียมการทดสอบการชนด้านข้าง (UN R95) โดยบริษัทไดฮัทสุ มอเตอร์ จำกัด (ไดฮัทสุ) ของรถยนต์รุ่นยาริส เอทีฟ [Yaris Ativ] ที่ผลิตที่โรงงานของโตโยต้า 2 แห่งในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งทั้งโตโยต้าและไดฮัทสุได้จัดการแถลงข่าวขึ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566

           แม้ว่าไดฮัทสุเป็นผู้รับผิดชอบพัฒนาตัวถังและดูแลขั้นตอนรับรองรถยนต์รุ่นยาริส เอทีฟ อย่างไรก็ตามทางสำนักงานใหญ่ของโตโยต้าในภูมิภาคเอเชียมีความจำเป็นต้องขออภัยเป็นอย่างสูง ที่ก่อให้เกิดความไม่สะดวกและความไม่สบายใจที่อาจเกิดขึ้นกับลูกค้า ผู้แทนจำหน่ายฯ และผู้เกี่ยวข้องทุกท่านซึ่งครอบครองรถรุ่นนี้ ทั้งนี้ เราขอเรียนชี้แจงให้ท่านทราบถึงความเข้าใจในสถานการณ์ ตลอดจนแผนการดำเนินงานในอนาคตของเรา

  • หลังจากพบข้อบ่งชี้ถึงความไม่สมบูรณ์ของการเตรียมการทดสอบ โตโยต้าปรึกษากับไดฮัทสุ และหยุดการส่งมอบรถชั่วคราวไปยังกลุ่มตลาดที่มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทดสอบการชนด้านข้าง UN-R95
  • นอกจากนี้ ทางไดฮัทสุได้ทำการปรึกษาหน่วยงานที่ทำการตรวจสอบและออกใบรับรอง เพื่อดำเนินการทดสอบการชนด้านข้าง UN-R95 ด้วยชิ้นส่วนที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในรถรุ่น Yaris Ativ เป็นการภายใน และขอยืนยันว่าเป็นไปตามข้อกำหนด UN-R95 ทั้งหมด
  • ภายหลังจากการรายงานผลการทดสอบ มีการลงความเห็นว่า สำหรับรถรุ่นปัจจุบัน ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการแก้ไขใดๆ ซึ่งทางบริษัทขอยืนยันว่าลูกค้าสามารถใช้งานรถของท่านต่อไปได้ตามปกติ 
  • นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 28 เมษายนที่ผ่านมา ทางบริษัทมีการจัดทดสอบการชนด้านข้างต่อหน้าหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดการทดสอบอีกครั้ง ซึ่งได้รับการอนุมัติว่าเป็นไปตามข้อกำหนด UN-R95
  • ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทย มีความจำเป็นที่ต้องตรวจสอบซ้ำในประเทศญี่ปุ่นตามข้อกำหนดการทดสอบพยาน (witness testing) จึงมีความจำเป็นต้องหยุดจัดส่งและจำหน่ายชั่วคราว หลังจากนี้ บริษัทจะทำการเร่งจัดส่งรถให้เร็วที่สุด ภายใต้คำแนะนำและการตรวจสอบอนุมัติโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ทางด้านสาเหตุของความไม่สมบูรณ์ในขั้นตอนการเตรียมการทดสอบ ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทฯ ขออภัยเป็นอย่างสูงต่อลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ที่ให้ความไว้วางใจในแบรนด์โตโยต้า

           นายอากิโอะ โตโยดะ  ประธานคณะกรรมการ บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย อันเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการผลิตรถยนต์… เราขออภัยจากใจจริงต่อลูกค้าทั่วโลกและผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดสำหรับความไม่สะดวกและความไม่สบายใจ… ทั้งนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับรถโดยสารส่วนบุคคลของแบรนด์โตโยต้า ดังนั้น จึงมิได้เป็นเพียงปัญหาของไดฮัทสุอย่างเดียว ซึ่งเราจะเริ่มตรวจสอบอย่างละเอียด และรวบรวมข้อเท็จจริงเพื่อให้เข้าใจถึงสถานการณ์ และทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา รวมถึงทำงานอย่างจริงจังเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นอีก นอกจากนี้ เราจะชี้แจงข้อเท็จจริงที่พบระหว่างขั้นตอนการตรวจสอบให้สาธารณชนทราบอย่างทันท่วงที”

ข้อมูลอ้างอิง

สำหรับข้อกำหนดทางเทคนิค UN R95 มีดังนี้

ข้อกำหนดทางเทคนิค UN R95 (Protection of the Occupants in the event of a Lateral Collision) คือการทดสอบเพื่อพิสูจน์ความปลอดภัยของยานยนต์ในเรื่องการปกป้อง ผู้ขับขี่จากการชนด้านข้างข้อกำหนดทางเทคนิค UN R95 จะเป็นการทดสอบโดยนาแบบจำลองหัวรถยนต์ที่สามารถยุบตัวได้ (Deformable Barrier) เคลื่อนที่พุ่งเข้าชนรถยนต์ทดสอบซึ่งจอดอยู่นิ่ง ในแนวตั้งฉากด้านข้าง (ด้านผู้ขับขี่) ด้วยความเร็ว 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ภายหลังการชน จะมีการตรวจสอบดังนี้

  • สภาพของหุ่นจำลอง (ผู้ขับขี่) ได้แก่ การบาดเจ็บที่หัว ,การบาดเจ็บที่หน้าอก, Soft Tissue Criterion, แรงกดหน้าท้อง และแรงกดที่หัวหน่าว ดังนี้
  • การรั่วของน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Leakage) และระบบป้อนน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถเกิดขึ้นได้ แต่ต้องไม่เกินกว่า 30 กรัมต่อนาที
  • ต้องสามารถนาหุ่นจำลองออกจากรถทดสอบได้
  • ต้องสามารถปลดล็อคระบบป้องกัน (Protective System) ได้
  • ไม่มีการเสียรูปของอุปกรณ์ภายในที่ทาให้แหลมคมและมีอัตราเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ
Advertisements
- Advertisement -spot_imgspot_img

Latest news

Advertising

spot_img

Related news

- Advertisement -spot_img