ระยะวิ่งไม่ตรงปก”หลอกดาว”ด้วย Driving Range

- Advertisement -
- Advertisement -

หาคำตอบทำไมรถยนต์ไฟฟ้า ระยะวิ่งจริงไม่ตรงปกที่โฆษณา

Advertisements


ระยะทางวิ่งของยานพาหนะทุกชนิดมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจาก ความเร็ว น้ำหนักบรรทุกและสภาพอากาศ ดังนั้นโดยทั่วไปแล้วผู้ขับขี่จะไม่สามารถวิ่งได้ตามตัวเลขระยะทางที่เป็นทางการได้จริง อย่างไรก็ตาม ระยะทางสูงสุด (Driving Range) ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ที่ผู้จำหน่ายรถแสดงนั้นใช้เป็นตัวอ้างอิงเทียบเคียงเวลาเลือกซื้อรถได้ แต่ที่น่าสนใจคือ มาตรฐานการทดสอบที่คุมตัวแปรให้คงที่ ภายใต้สภาพแวดล้อมเดียวกัน ทำไมแตกต่างกันหลายมาตรฐาน เรากำลังพูดถึง มาตรฐานไหนที่ประเทศไทยควรอ้างอิง และตอบโจทย์ใกล้เคียงความจริงในการใช้งานเบื้องต้นมีข้อสังเกตุว่า ในตลาดของเรานั้น ยังไม่ใช่มาตรฐานเดียวกันและไม่ทันสมัย รวมถึงไม่มีการบังคับจากหน่วยงานที่ควรจะทำ เพราะว่า ด้วยข้อมูลเทคนิคที่แตกต่างกันนี้ ตัวเลขทางการตลาด มีผลจูงใจให้คนใช้รถตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าอย่างมาก

ระยะทางสูงสุด (Driving Range) ในโลกนี้มีมาตรฐานหลายมาตรฐาน Auto.co.th รวมรวมมาให้เห็นภาพในตารางต่อไปนี้

ตารางแสดงมาตรฐานการทดสอบระยะทางวิ่ง

มาตรฐาน ชื่อเต็ม ปีเริ่มต้นใช้ภูมิภาคที่ใช้ เงื่อนไขการ ทดสอบ ข้อเด่น ข้อด้อย
NEDCNew European Driving Cycle1980sยุโรป(เลิกใช้)
ปัจจุบันจีน ไทย อาเซียน
จำลองการขับขี่ในเมืองและนอกเมือง ความเร็วต่ำ-ปานกลางง่ายต่อการเทียบเคียงระหว่างรถยนต์รุ่นต่างๆไม่สะท้อนการใช้งานจริง, ประเมินสูงเกินจริง
WLTPWorldwide Harmonized Light Vehicle Test Procedure2017ยุโรป, ญี่ปุ่น, เกาหลี
ขับขี่ที่ความเร็วต่างๆ (ต่ำ-สูง) และในสภาพแวดล้อมต่างๆ
สะท้อนการใช้งานจริงมากกว่า NEDCยังคงมีความเบี่ยงเบนจากการใช้งานจริงบางส่วน
EPAEnvironmental Protection Agency1970sอเมริกาขับขี่บนทางหลวงและในเมืองที่แตกต่างกัน โดยมีการจำลองสถานการณ์จริงมากขึ้นสะท้อนระยะการวิ่งในสภาพการใช้งานจริงดีระยะการวิ่งที่ต่ำกว่ามาตรฐานอื่นๆ
CLTCChina Light-Duty Vehicle Test Cycle2021จีนเน้นการขับขี่ในเมือง ความเร็วต่ำถึงปานกลาง
ออกแบบมาเฉพาะสำหรับสภาพการจราจรในจีนไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลบางประการ

การพัฒนามาตรฐาน

  1. NEDC (New European Driving Cycle): เริ่มใช้ในยุโรปตั้งแต่ปี 1980 โดยใช้จำลองการขับขี่ในเมืองและนอกเมือง มาตรฐานนี้มีการทดสอบที่ความเร็วต่ำถึงปานกลาง โดยเฉพาะการวิ่งในเมือง ทำให้ผลการทดสอบประเมินระยะทางที่รถสามารถวิ่งได้สูงกว่าการใช้งานจริง ซึ่งนำไปสู่การเลิกใช้งานในยุโรปในปี 2017 (ตามคำสั่งDIR 2017/1151/EU)
  2. WLTP (Worldwide Harmonized Light Vehicle Test Procedure): พัฒนาขึ้นเพื่อแทนที่ NEDC โดยเริ่มใช้ในยุโรปปี 2017 มาตรฐานนี้ใช้การจำลองการขับขี่ในเงื่อนไขต่างๆ ทั้งในเมือง นอกเมือง และบนทางหลวงที่ความเร็วต่างๆ ทำให้การทดสอบสะท้อนถึงการใช้งานจริงมากขึ้น
  3. EPA (Environmental Protection Agency): มาตรฐานจากสหรัฐฯ ที่เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 1970s และมีการปรับปรุงมาตรฐานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในช่วงหลัง มาตรฐานนี้ถือเป็นมาตรฐานที่เข้มงวดและสะท้อนการใช้งานจริงในสภาพถนนอเมริกามากที่สุด แต่ระยะทางที่ประเมินได้มักจะต่ำกว่ามาตรฐานอื่นๆ
  4. CLTC (China Light-Duty Vehicle Test Cycle): เริ่มใช้ในประเทศจีนปี 2021 โดยมุ่งเน้นการจำลองการขับขี่ที่สอดคล้องกับการจราจรในเมืองของจีน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า การทดสอบนี้เน้นการขับขี่ในเมืองที่ความเร็วต่ำถึงปานกลาง ทำให้ผลลัพธ์คล้ายกับ NEDC แต่ปรับให้เหมาะสมกับสภาพจราจรในจีนมากขึ้น

“ความแตกต่างระหว่างมาตรฐานนี้น่าสนใจตรงที่ใครจะรับนำเสนอความเป็นจริง และสท้อนความจริงใจในการทำตลาดกับผู้บริโภคมากกว่ากัน”

เจคู เป็นค่ายรถตัวอย่างที่แสดงข้อมูล ระยะทางวิ่งในเว็บตัวเองไว้ทั้ง 2 มาตรฐานทำให้ข้อมูลชัดเจนมากสำหรับผู้บริโภค
  • NEDC ให้ผลการทดสอบที่ไม่สะท้อนการใช้งานจริงมากนัก และโดยทั่วไประยะการวิ่งที่ได้จากมาตรฐานนี้จะสูงกว่าความเป็นจริงมากซึ่งย้ำว่า เป็นมาตรฐานที่ยุโรปเลิกใช้งาน มาตั้งแต่ปีพ.ศ.2560(2017) หรือ 7ปีมาแล้วอย่างไรก็ตามในไทยยังมีอิงมาตรฐานของ NEDC เผยแพร่ในโบชัวร์เกือบทุกยี่ห้อ
  • WLTP แสดงให้เห็นระยะการวิ่งที่ใกล้เคียงกับการใช้งานจริงมากกว่า NEDC โดยมีการทดสอบที่สภาพการขับขี่ที่หลากหลาย
  • EPA มีความเข้มงวดในการทดสอบและสะท้อนการใช้งานจริงได้อย่างดีในสหรัฐอเมริกา แต่ระยะการวิ่งที่ทดสอบได้มักจะน้อยกว่ามาตรฐานอื่นๆ
  • CLTC เน้นไปที่การทดสอบในสภาพการขับขี่ในเมืองของจีน โดยมุ่งเน้นที่การจำลองสภาพการจราจรที่หนาแน่นและความเร็วต่ำ
โบชัวร์อย่างเป็นทางการโดยBYD(เรเว่ฯ)อิงมาตรฐาน NEDC ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ยุโรปประกาศเลิกการใช้งานไปแล้ว

BYD จำหน่ายในยุโรปแสดงข้อมูลระยะทางวิ่งในเว็บ เป็นมาตรฐาน WLTP ซึ่งแตกต่างไปจากมาตรฐานที่แสดงในตลาดไทย

การเปลี่ยนแปลงการทดสอบWLTPเทียบNEDC
WLTP นั้นนำเสนอเงื่อนไขการทดสอบที่สมจริงมากขึ้น เช่น:
-พฤติกรรมการขับขี่ที่สมจริงยิ่งขึ้น
-สถานการณ์การขับขี่ที่หลากหลายมากขึ้น (ในเมือง, ชานเมือง, ถนนสายหลัก, ทางด่วน);
-ระยะทดสอบที่ยาวขึ้น
-อุณหภูมิโดยรอบที่สมจริงยิ่งขึ้น ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของยุโรป
-ความเร็วเฉลี่ยและความเร็วสูงสุดสูงขึ้น
-กำลังขับเฉลี่ยและสูงสุดสูงกว่า
-การเร่งความเร็วและการชะลอความเร็วที่เป็นแบบไดนามิกและเป็นตัวแทนมากขึ้น
-หยุดสั้นลง
-อุปกรณ์เสริม: มีการระบุค่า CO2 และอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะแต่ละคันเมื่อสร้างเงื่อนไขการตั้งค่าและการวัดรถที่เข้มงวดยิ่งขึ้น
-ช่วยให้สามารถทราบค่าที่ดีที่สุดและแย่ที่สุด สะท้อนถึงตัวเลือกที่มีให้สำหรับรุ่นรถที่คล้ายกัน

สำหรับการคำนวณอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงและการปล่อยมลพิษของรถยนต์ การปรับปรุงทั้งหมดนี้ทำให้ WLTP มีพื้นฐานที่แม่นยำ ซึ่งจะทำให้การวัดในห้องแล็ปสะท้อนถึงประสิทธิภาพบนท้องถนนของรถยนต์ได้ดีขึ้น ดังนั้นประเทศเราควรจะอิงกับมาตรฐานที่เป็นสากลและทันสมัยที่สุดที่สำคัญควรมีมาตรฐานเดียว เพื่อข้อมูลที่เป็นธรรมสำหรับทุกฝ่าย

Advertisements
บชัวร์รถชั้นนำอย่าง เนต้า แสดงมาตรฐาน ระยะทางวิ่งสูงสุด เพียงข้อมูลเดียว คือ ในโหมดมาตรฐาน NEDC เช่นเดียวกับค่าย BYD

การทดสอบระยะทางของรถ EV ความต่างที่มีข้อสรุป

เมื่อพิจารณาตามหลักเกณฑ์ทั่วไป ตัวเลขที่คำนวณตามมาตรฐาน EPA (สหรัฐอเมริกา) ถือเป็นตัวเลขที่สมจริงที่สุดสำหรับการวัดระยะทางวิ่งของรถยนต์ไฟฟ้า ความแตกต่างระหว่างตัวเลขของ EPA กับการใช้งานจริงในชีวิตประจำวันมีเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทำให้ EPA ได้รับการยอมรับในด้านความแม่นยำ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานอื่น ๆ เช่น WLTP (มาตรฐานยุโรปใหม่) พบว่าตัวเลขของ WLTP มักจะสูงกว่า EPA ประมาณ 22% ในขณะที่ CLTC (มาตรฐานจีน) สูงกว่า EPA ถึง 35% ซึ่ง CLTC ยังมีระยะทางที่สูงกว่า NEDC (มาตรฐานยุโรปเก่า) อีกเล็กน้อย

ปัจจุบันในประเทศไทย การประเมินระยะทางของรถยนต์ไฟฟ้ายังคงอิงกับ NEDC ซึ่งเป็นมาตรฐานยุโรปเก่าที่ถูกยกเลิกไปแล้วในหลายประเทศ โดยเฉพาะในยุโรปที่หันไปใช้ WLTP แทน การที่ประเทศไทยยังคงใช้ NEDC เป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับการแสดงข้อมูลใน “อีโค สติกเกอร์” ซึ่งเป็นเครื่องหมายรับรองที่ออกโดยกระทรวงอุตสาหกรรม อาจสร้างความสับสนว่าทำไมถึงยังเลือกใช้มาตรฐานที่ถูกยกเลิก

“ในยุโรป XPENG ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าเคยแสดงท่าทีว่าจะใช้ WLTP เป็นมาตรฐานทั้งหมดทั่วโลก แต่ในไทยยังคงใช้มาตรฐานที่ยุโรปยกเลิกไปแล้ว มาอ้างอิง “

มาตรฐานในประเทศไทยมักจะอิงกับยุโรปเป็นหลัก โดยเฉพาะในด้านความปลอดภัยและการปล่อยมลพิษจากท่อไอเสีย ดังนั้น มาตรฐาน WLTP จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงการวัดการใช้พลังงานไฟฟ้า (Electric Energy Consumption) อย่างไรก็ตาม สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยยังคงมีการใช้มาตรฐานที่แตกต่างกันไปตามแหล่งผลิต รถจากยุโรปส่วนใหญ่ใช้ WLTP ในขณะที่รถจากจีนส่วนใหญ่ยังใช้ NEDC ซึ่งยกเว้นแบรนด์อย่าง Omoda & JAECOO ที่เผยแพร่ข้อมูลทั้งสองมาตรฐาน ซึ่งเป็นแนวทางที่ดีในการให้ข้อมูลที่ครบถ้วนแก่ผู้บริโภค

การเปลี่ยนไปใช้มาตรฐานที่แม่นยำกว่า เช่น WLTP อาจช่วยให้ผู้บริโภคไทยได้รับข้อมูลที่สอดคล้องกับการใช้งานจริงมากขึ้น และลดความสับสนที่เกิดขึ้นจากมาตรฐานที่หลากหลาย

Advertisements
- Advertisement -

Latest news

Advertising

Related news

- Advertisement -
Exit mobile version