“ระเบียบและกฎหมายเกี่ยวกับการเรียกรถยนต์กลับเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง หรือ รีคอล (Recall)” ที่ควรจะเป็นกฏหมายสำหรับคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเป็นกฏหมายที่มีใช้ในญี่ปุ่น ยุโรป สหรัฐอเมริกา จีน ออสเตรเลีย โดยเน้นการคุ้มครองผู้ซื้อรถ ขั้นตอนการเรียกคืน หน่วยงานที่กำกับดูแล ความรับผิดชอบของผู้ผลิตและบทลงโทษในกรณีไม่ดำเนินการแต่ในไทยนั้นดูเหมือนว่า ไม่มีระเบียบนี้ทั้งที่เป็นตลาดขนาดใหญ่มีผู้ซื้อจำนวนมาก
กฎหมายการเรียกรถยนต์กลับเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง (RECALL) นั้นมีความสำคัญนอกจากจะยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคแล้วยังเป็นการป้องกันการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ตรงตามมาตรฐาน รวมถึงป้องกันความปลอดภัยการแอบบจำหนายสินค้าไร้คุณภาพในตลาด นอกจากนี้ยังป้องกันความเสียหายของผู้ประกอบการเอง ในอีกมุมหนึ่ง รีคอลยังมีผลดีต่อภาพพจน์ของเจ้าของสินค้าเองในแง่การรับผิดชอบต่อผู้บริโภค Auto.co.th สำรวจรายละเอียดกฏหมายรีคอลของประเทศต่างๆ ที่เป็นต้นแบบทั้งญี่ปุ่น ยุโรป สหรัฐอเมริกา จีน ออสเตรเลีย เปรียบเทียบกับการคุ้มครองผู้บริโภครถยนต์ในไทย
เปรียบเทียบกฎระเบียบและกฎหมายการเรียกรถยนต์กลับเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง (RECALL)
1. ญี่ปุ่น (Japan) ประเทศที่เป็นต้นแบบและเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายสำคัญ
- หน่วยงานกำกับดูแล:
กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน คมนาคม และการท่องเที่ยว (MLIT) - กฎหมายหลัก:
Road Transport Vehicle Act - ลักษณะการเรียกคืน:
ผู้ผลิตต้องรายงานและเรียกรถคืนโดยสมัครใจเมื่อพบข้อบกพร่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือสิ่งแวดล้อม - บทลงโทษ:
ปรับสูงสุดถึง 300,000 เยน และ/หรือคำสั่งให้ระงับการขาย - ลักษณะเด่น:
เน้นการเรียกคืนโดยสมัครใจ แต่มีระบบตรวจสอบหลังการผลิตอย่างเข้มงวด
2. สหภาพยุโรป (European Union) หนึ่งในพื้นที่การคุ้มครองผู้บริโภคด้านรถยนต์ที่เข้มงวด
- หน่วยงานกำกับดูแล:
European Commission และหน่วยงานกำกับดูแลระดับประเทศ เช่น KBA (เยอรมนี), VCA (สหราชอาณาจักร) - กฎหมายหลัก:
General Product Safety Directive
Regulation (EU) 2018/858 สำหรับยานยนต์ - ลักษณะการเรียกคืน:
ผู้ผลิตต้องแจ้งและดำเนินการเรียกคืนทันทีเมื่อพบว่ารถยนต์อาจไม่ปลอดภัยหรือไม่เป็นไปตามมาตรฐาน - บทลงโทษ:
แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศสมาชิก แต่รวมถึงการสั่งห้ามจำหน่าย ปรับ และเรียกคืนรถทั้งหมด - ลักษณะเด่น:
ระบบ RAPEX สำหรับแจ้งเตือนสินค้าผิดพลาดทั่วยุโรปแบบรวมศูนย์
3. สหรัฐอเมริกา (United States)
- หน่วยงานกำกับดูแล:
National Highway Traffic Safety Administration (NHTSA) - กฎหมายหลัก:
National Traffic and Motor Vehicle Safety Act of 1966 - ลักษณะการเรียกคืน:
ผู้ผลิตมีหน้าที่แจ้ง NHTSA และดำเนินการเรียกคืนทันทีหากพบความเสี่ยงด้านความปลอดภัย หรือไม่เป็นไปตามมาตรฐาน - บทลงโทษ:
ปรับสูงสุด 24,000 ยูโรต่อกรณี สูงสุด 122 ล้านยูโรต่อกรณีการละเมิด - ลักษณะเด่น:
มีฐานข้อมูล RECALL ให้ประชาชนตรวจสอบ และประชาชนสามารถร้องเรียนได้
4. จีน (China) ในฐานะประเทศที่เกิดใหม่ในวงการBEV และยานยนต์โลก
- หน่วยงานกำกับดูแล:
State Administration for Market Regulation (SAMR) - กฎหมายหลัก:
Regulation on the Administration of the Recall of Defective Automotive Products (2013) - ลักษณะการเรียกคืน:
บังคับให้ผู้ผลิตต้องเรียกคืนเมื่อพบข้อบกพร่อง และรัฐสามารถบังคับสืบสวนได้ - บทลงโทษ:
ปรับสูงสุด 30,000 หยวนต่อคัน และอาจถูกระงับใบอนุญาต - ลักษณะเด่น:
รัฐมีอำนาจบังคับสูง และกำลังพัฒนา RECALL ครอบคลุมถึงรถพลังงานใหม่ (NEV)
5. ออสเตรเลีย (Australia)
- หน่วยงานกำกับดูแล:
Department of Infrastructure, Transport, Regional Development, Communications and the Arts- Australian Competition and Consumer Commission (ACCC)
- กฎหมายหลัก:
Motor Vehicle Standards Act 1989
Australian Consumer Law (ACL) - ลักษณะการเรียกคืน:
ผู้ผลิตต้องแจ้งและดำเนินการภายในเวลาอันรวดเร็ว รวมถึงให้ข้อมูลผู้บริโภคอย่างชัดเจน - บทลงโทษ:
ปรับได้สูงถึง 10 ล้านดอลลาร์ หรือ 10% ของรายได้ต่อปี - ลักษณะเด่น:
มีระบบแจ้งเตือน Recall ออนไลน์ และบังคับใช้เข้มงวด
6. ไทย (Thailand) ประเทศที่มีกูรูคีย์บอร์ดด้านยานยนต์เยอะสุดแต่ไม่ค่อยได้ช่วยวงการเท่าไร
การเรียกคืนรถยนต์ (Recall)
ไม่มี พ.ร.บ. เฉพาะเรื่องนี้ในไทย ส่วนใหญ่เกิดจากผู้ผลิตสมัครใจเรียกคืนตามมาตรฐานระดับสากล
- หน่วยงานกำกับดูแล:
กรมการขนส่งทางบก (DLT)
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
กระทรวงอุตสาหกรรม (มาตรฐาน มอก.) - กฎหมายหลัก:
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 - ลักษณะการเรียกคืน:
ยังไม่มีระบบบังคับที่ชัดเจน ผู้ผลิตใช้มาตรการ “โดยสมัครใจ” เป็นหลัก มีแนวโน้มปกปิดข้อมูลการรีคอล - บทลงโทษ:
ยังไม่มีบทลงโทษเฉพาะด้านยานยนต์ที่เป็น RECALL โดยตรง - ลักษณะเด่น:
ไม่มีการพัฒนาระบบที่ชัดเจน ไม่มีระเบียยรีคอล
ไทยยังล้าหลัง! เมื่อเปรียบเทียบระบบRecallในต่างประเทศ
การ Recall รถยนต์ของประเทศไทย ยังคงอิงกับความสมัครใจของผู้ผลิต ไม่มีบทลงโทษหรือข้อบังคับทางกฎหมายที่ชัดเจนแตกต่างจากประเทศพัฒนาแล้วอย่าง สหรัฐฯ ยุโรป จีน และออสเตรเลีย แม่จะเป็นการเรียกคืนโดยสมัครใจแต่ ก็มีกฎหมายเฉพาะ รองรับการดำเนินคดี ปรับหนัก และมีหน่วยงานกลางกำกับโดยตรง
ขณะที่ไทยแม้จะมีการแจ้ง Recall อยู่บ้างโดยผู้ผลิตรายใหญ่ แต่ยัง ขาดกลไกในการกำกับ ดูแล และบังคับใช้ ทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากไม่ทราบว่ารถของตนต้องเข้ารับการแก้ไขหรือไม่ และผู้ผลิตบางรายอาจเพิกเฉยโดยไม่มีผลกระทบทางกฎหมายรวมถึงหากมีการรีคอล ก็จะปกปิดข้อมูลเฉพาะกลุ่มทำให้การรับผิดชอบนี้ไม่มีใครตรวจสอบได้ว่า ครอบคลุมสินค้าที่เสียหายจริงมากน้อยเพียงใด ดังนั้นเราจะพบว่า เมื่อเกิดปัญหาอย่าง”ซื้อรถใหม่แล้วเกิดปัญหาซ้ำซาก”ผู้บริโภคชาวไทยแทบจะไม่ได้รับการคุ้มครองอะไรมากนัก
อเมริกา ใช้ระบบของ NHTSA ที่เปิดให้ประชาชนตรวจสอบเลขตัวถัง (VIN) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลสำคัญและมีโทษปรับสูงถึง 122 ล้านดอลลาร์ หากผู้ผลิตเพิกเฉย
ยุโรป มีระบบ RAPEX แจ้งเตือนข้ามประเทศ หากมีรถรุ่นใดผิดพลาดด้านความปลอดภัย
จีน รัฐสามารถสั่ง Recall ได้โดยไม่ต้องรอให้ผู้ผลิตแจ้ง
ออสเตรเลีย ใช้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคในการลงโทษผู้ผลิตที่เข้มงวดหากไม่ดำเนินการ
ตารางเปรียบเทียบRECALL แต่ละประเทศ
ประเทศ | หน่วยงานหลัก | ลักษณะการเรียกคืน | บทลงโทษ | จุดเด่น/ข้อจำกัด |
ญี่ปุ่น | MLIT | สมัครใจ + รายงานรัฐ | ปรับเล็กน้อย | ระบบตรวจสอบเข้ม |
EU | คณะกรรมาธิการ EU + ระดับชาติ | บังคับตามกฎหมาย | ห้ามขาย/ปรับ | มีระบบ RAPEX |
สหรัฐฯ | NHTSA | บังคับอย่างเข้มงวด | ปรับหนัก | โปร่งใส มีฐานข้อมูล |
จีน | SAMR | รัฐมีอำนาจบังคับ | ปรับรายคัน | ครอบคลุม NEV |
ออสเตรเลีย | ACCC | บังคับเข้ม | ปรับสูง | กฎหมายผู้บริโภคเข้ม |
ไทย | สคบ. | สมัครใจเป็นหลัก | ไม่มีบทลงโทษชัดเจน | ไม่มีระบบ |
ประเทศไทยจึงควรเร่งจัดตั้งระบบ Recall แห่งชาติ ที่สามารถให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูล ตรวจสอบเลขตัวถัง และรับข้อมูลอย่างรวดเร็ว พร้อมกำหนดโทษหากผู้ผลิตเพิกเฉย เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากข้อบกพร่องของรถยนต์ที่นับวันจะมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นทุกวัน
Link ตัวอย่างการเรียกที่ใหญ่สุดในโลก จาก กรณีTakata’s airbag หรือถุงลมนิรภัย ทาคาตะ
ฮอนด้า โตโยต้า
ตัวอย่างช่องทางการตรวจสอบการรีคอลทั่วไป
รถยนต์มีปัญหาร้องเรียนที่ใดได้บ้าง
หน่วยงาน | เบอร์ติดต่อ |
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) | สายด่วน: 1166 |
กรมการขนส่งทางบก | สายด่วน: 1584 |
กรมการค้าภายใน (กระทรวงพาณิชย์) | สายด่วน: 1569 |
สภาองค์กรของผู้บริโภค (สภาผู้บริโภค) | 0-2239-1839 (09.00 – 18.00 น.) |
ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนด้านคุณภาพยานยนต์ สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม(สมอ.) | Call Center. (02) 202-2301-4 |