ไม่ค่อยปกติเท่าไรอยู่ๆโรงงานระดับงบลงทุน 5,000 ล้านบาทปิดตัวลงไปแม้ เป็นโรงงานเล็กๆเมื่อเทียบกับไซด์ของ โรงงานใหญ่ที่เคยปิดตัวลงไปอย่างเช่น ศูนย์กลางการผลิตของจีเอ็ม ที่ระยองซึ่งโรงงานดังกล่าวมีมูลค่าการลงทุนถึง 20,000ล้านบาท แต่ช่วงที่GM ปิดตัวลงบรรดาแรงงานและคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องยังหาที่ทำงานรองรับได้เพราะช่วงนั้นไม่ได้มีวิกฤตใดๆ และอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยก็กำลังขยายตัวความต้องการแรงงานยังมี ในขณะที่โรงงานซูบารุ ปิดลงนี้สภาพตลาดรถทรุดตัวอย่างหนัก และเป็นที่รู้กันว่าแนวโน้มเทคโนโลยียานยนต์เปลี่ยนไปพึ่งพาแรงงานคนน้อย ลง ถ้าเป็นเช่นนี้หมายความว่า สิ่งน้อยนิดนี้กำลังกระทบภาพใหญ่ของเศรษฐกิจ จากอัตราการว่างงานเพิ่มมากขึ้น
ในอดีตบ้านเรามีโรงงานประกอบรถอะไรบ้างที่ยุติกิจการถ้าย้อนดูยี่ห้อรถเกิน 10 ค่ายเพียงแต่ว่าเราเอาช่วงเวลาไหน เป็นจุดเริ่มต้นเก็บข้อมูล
สำหรับคนยุคปัจจุบันที่พอจำความได้ แค่นับจากก่อนโรงงานจีเอ็มปิดตัว ก็คือค่ายวอลโว่ ที่โรงงานสวีดิส แอสเซมบลี้ ริมถนนบางนา-ตราด ถูกซื้อไปจากมือคนไทยและทำการผลิตรถวอลโว่อยู่พักใหญ่ก่อนประกาศเลิกและย้ายฐานการผลิตไปมาเลเซีย รถวอลโว่ทุกวันนี้นำเข้าจากมาเลเซีย
ซูบารุเป็นหนึ่งในรถยนต์ที่ขายในตลาดเฉพาะกลุ่ม แต่ก็มีรถระดับ 1ล้านบาทที่พอแข่งกับรถ แบรนด์อื่นๆ แต่มาภายหลัง ภายใต้นโยบายการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าของรัฐบาล ทำให้มีรถที่มีระดับราคาเดียวกันเข้ามาแข่งคือรถยนต์ไฟฟ้า ระดับ8 แสน-1ล้านบาท แต่รถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่มาจากจีนได้แต้มต่อจาก ส่วนลดภาษีที่รัฐบาลสนับสนุน 150,000 บาท/คัน หากซูบารุจะขายได้ต้องลดทันที 150,000 บาทแถม แรงจูงใจนี้ยังไม่มากพอที่จะให้คนเลือกซูบารุ เพราะความเป็นรถเฉพาะกลุ่ม ซูบารุอยากขายต้องออนทอปไปอีกแล้วมันจะเหลืออะไร
ซุบารุไม่ได้เป็นแบรนด์ตัวเลือกอย่าง ฮอนด้า โตโยต้า ดังนั้นซูบารุมีทางเลือก2 ทางคือลดราคาโดยลดให้มากกว่าส่วนลดที่รัฐบาลให้รถยนต์ไฟฟ้าแถมด้วยเพิ่มความคุ้มค่าโดยตัดกำไรออกอีก ทั้งรับประกัน ขยายบริการ ดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนยาว แต่กระนั้นสถาพเศรษฐกิจของไทยที่กำลังซื้อหดหายไฟแนนซ์เข้มยิ่งกว่าผู้คุมคุกบางขวางทำให้อุปสงค์มันมีน้อยนั่นเป็นสาเหตุที่ เกรน ตัน ผู้บริหารตันจงคนที่ภาคภูมิใจโรงงานแห่งแรกของเขาในเมืองไทย ยอมให้ปิด
ซูบารุเป็นรถที่คุณภาพสอบผ่านทุกสนามว่าเป็น”รถดี”และได้รับการยอมรับทั่วโลก ในบรรดานักขับที่มีทักษะสูงต่างยอมรับในคุณภาพของซูบารุ เนื่องจากซูบารุผลิตรถที่มีสมรรถนะสูงและมีบุคคลิคเฉพาะตัว แต่แปลกตรงที่รูปร่างไม่สวย งานออกแบบไม่เคยล้ำสมัย ซูบารุถ้าวัดด้วยหน้าตาจุดสนใจน้อยเลย แต่หากคนที่ได้เข้าถึงทดลองขับและศึกษาจริงจังก็จะชอบเป็นพิเศษ
คนกลุ่มนี้สุดท้ายต้องพยายามหารถมาครอบครอง 1 คัน ส่วนใหญ่ก็เป็นวิศวกร,หมอ,นักบิน,นักแข่งและผู้ชอบความเร็ว ความปลอดภัยแบบแอคทีพเซ็ปตี้อย่างไรก็ตามในตลาดหรือสังคมจริงๆ มีคนน้อยคนที่คิดแบบนี้คนส่วนใหญ่ยังใช้วิธีการเลือกซื้อรถแบบที่สะสมกันมาหลายชั่วอายุคน ยกเว้นกับคนรุ่นใหม่ๆ ที่เติบโตมากับโทรศัพท์ 5G และไม่รู้เลยว่ารถยนต์ในโลกนี้ รถที่ใช้เกียร์แบบ 5 สปีดขายอยู่ ไม่ใช่มีแค่ P R D N เท่านั้น
กิจกรรมของซูบารุอ้างอิงกับกลยุทธ์ของบริษัทแม่จากครั้งหนึ่งเคยโชว์ความเด่นดังทางเทคโนโลยี เครื่องยนต์สูบนอนกับ ระบบขับเคลื่อน4 ล้อ หลังๆ มาซูบารุละทิ้งจุดขายเดิมเปลี่ยนเป็นการสื่อสารถึง วิถีชีวิต ไลฟสไตน์ เพื่อขยายกลุ่มลูกค้าให้กว้างขึ้น เพราะคาดหวังจะได้กลุ่มคนใหม่ๆ มาเป็นลูกค้าพอทำเช่นนี้ซูบารุก็ต้องไปชนฮอนด้า มาสด้า แม้จะยากนิดหน่อยเพราะว่า ไลฟ์สไตน์มาสด้าเขาเก่ง ส่วนความโฉบเฉี่ยวทันสมัยหวือหวายกให้ฮอนด้า แต่ซูบารุก็ยังยืนสู้สุดท้า่ยไปไม่สุด ครึ่งๆกลางๆ
นับจากอดีต ทุกวันนี้ถามว่า ซูบารุมีจุดเด่นอะไรคนส่วนน้อยเท่านั้นที่ตอบได้ ส่วนใหญ่ใช้เวลาคิดนาน บางคนจำแบรนด์ไม่ได้เสียด้วยซ้ำว่า แน่นอนว่า คนบริหารซูบารุรู้ถึงความจริงเหล่านี้ การแก้ไขต้องใช้เงินเยอะ ซูบารุเป็นค่ายรถเล็กๆ ในตลาดแค่โฟกัสตลาดหลักอย่าง ญี่ปุ่น สแกนดิเนเวียน อเมริกา ก็แทบจะหมดหน้าตักแล้ว โลกส่วนน้อยปีล่ะไม่กี่ร้อยคันเขาคงไม่ทุ่มงบ เพื่อสิ่งนี้
นั่นเป็นเรื่องการตลาดภายในซูบารุแต่ว่า การที่ซูบารุปิดโรงงานในไทยไม่ได้น่าสนใจเท่ากับ ประเด็นที่ว่าแล้วค่ายรถใดจะเป็นรายต่อไป? เพราะเงื่อนไขรัฐบาลที่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการรถยนต์ไฟฟ้า ส่วนใหญ่เป็นรถจากจีน ทำให้เกิดแต้มต่อที่ต่างกัน ท่ามกลางความต้องการของ ตลาดรถก็ทรุดตัวลง เศรษฐกิจแบบนี้ มีคนพร้อมจะทิ้งดิ่งไปตายเอาดาบหน้าแน่นอน
(โปรดติดตามตอนต่อไป)