Friday, September 20, 2024

ก้าวเอ็มจี สู่บทผู้นำEV

- Advertisement -spot_imgspot_img
- Advertisement -spot_imgspot_img

จีน ซีพี เอ็มจี และรถไฟฟ้า เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า

Advertisements

ZS EV รถไฟฟ้าคันแรกของMG ราคา 1.19ล้าน

เอ็มจี(MG)รถยนต์สัญชาติอังกฤษแต่มีเจ้าของเป็นบริษัทจีนกำลังมีบทบาทนำในการทำตลาดรถยนต์พลังงานทดแทนในไทย ทันทีที่เปิดตัวรถMG ZS EV รถเอสยูวี ไฟฟ้า 100%

5ปีที่ผ่านมาการเข้าสู่ตลาดของแบรนด์MGเป็นข่าวใหญ่เพราะว่า บริษัทที่บริหารจัดการนั้นอยู่ในเครือของซีพี เจ้าพ่อธุรกิจเกษตรและอาหารรายใหญ่ ประกอบกับเจ้าของแบรนด์MG คือ SAIC ภายใต้แบรนด์ MG Motorเป็นบริษัทชั้นนำของจีน เมื่อยักษ์ใหญ่2ค่ายจับมือกัน จึงเป็นการผสานศักยภาพที่แข็งแกร่ง อย่างไรก็ตามแบรนด์ MG แม้จะได้ชื่อว่าเก่าแก่จากอังกฤษแต่ถือเป็นน้องใหม่ในแวดลงอุตสาหกรรมของไทย ในขณะที่หลายครั้งภาพพจน์ของแบรนด์ ถูกสื่อจับโยงไปเป็น”รถจีน”ไม่ใช่”ยุโรป”อย่างที่เป็นมาในอดีต ซึ่งแม้ว่าจะมีชื่อเป็นอังกฤษแต่ฐานการผลิตและการพัฒนาปฎิเศษไม่ได้ว่าเบื้องหลังคือ “จีน”ซึ่งสินค้าจีนมีแบรนด์อิมเมจ ที่ไม่ดีนัก

MG ขายรถในไทยปีล่ะ1 หมื่นคัน ในช่วงแรกลุ่มๆดอนๆพอสมควรเพราะถูกโจมตีจากสื่อในเรื่องคุณภาพของรถ เช่น เอ็มจี5 เอ็มจี3 ที่ยังคงเป็นโมเดลเก่า ความแข็งแกร่งของผลิตภัณฑ์ทั้งทางด้านแบรนด์อิมเมจ และเทคโนโลยี ความน่าชื่อถือ อะไหล่และบริการไม่สามารถแข่งขันได้กับเจ้าตลาดอย่าง โตโยต้า ฮอนด้า นิสสันที่อยู่ในตลาดมาอย่างยาวนาน

แต่ดูเหมือนเวลาไม่ใช่ปัญหาของเอ็มจีอีกต่อไป จากอายุผลิตภัณฑ์ในตลาดที่เป็นปัญหาได้ถูกทำลายไปด้วยโมเดลใหม่อย่างต่อเนื่อง เครือข่ายจำหน่ายและบริการได้ขยายตัวด้วยความเชื่อมั่นของนักลงทุนชาวไทย

หลังจากที่ โมเดลที่พัฒนาใหม่อย่างรถร่น ZS รถเอสยูวี ขนาดคอมแพ็ค ลงตลาดมาพร้อมกับเทคโนโลยีAI เป็นรถคันแรกของวงการเมืองไทย ที่สั่งการทำงานด้วยเสียงและมีระบบแอพพิเคชั่นที่ก้าวหน้ากว่ารถญี่ปุ่นหรือรถยุโรปในตลาดด้วยคำสั่งภาษาไทยและตอกย้ำด้วยฐานการเปิดฐานผลิตขนาดใหญ่ในไทยถือว่า MG ได้ปลดล็อคข้อกังวลได้เป็นอย่างดี

Advertisements

ทางด้านเครือข่ายถือว่า โชว์รูมMG มีอัตราการขยายตัวที่รวดเร็วมาก ตามแผน 5 ปี 130 แห่งครอบคลุมทั่วประเทศ การเปิดโชว์รูมMG มีเงื่อนไขค่อนข้างยืดหยุ่นเรียกว่า พร้อมอนุญาตให้ขายทุกเงื่อนไขเพื่อสร้างเครือข่ายที่ครอบคลุมให้เร็วที่สุดในการวางจำหน่ายรถEV ผู้บริหารของMG ประกาศว่าความสามารถของเครือข่ายMG มีความพร้อมให้บริการและขายทุกโชว์รูม ไม่จำกัดดีลเลอร์ที่ทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อให้รถยนต์ไฟฟ้ากระจายไปได้อย่างทั่วถึง ส่วนนี้ก็แตกต่างไปจากรถญี่ปุ่นอย่าง นิสสันที่ไม่ได้ให้ทุกโชว์รูมทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้านิสสันลีฟ

เปิดปูมรถไฟฟ้าคันแรกของค่าย

นอกจากในอังกฤษแล้ว เอ็มจีเปิดตัวรถรุ่นนี้ครั้งแรกที่จีน เมื่อวันที่ 30 มี.ค.2562โดยในจีนเรียกชื่อรุ่นว่า MG-EZS ส่วนในไทยเรียกว่า MG ZS EV การเปิดตัวรอบสื่อมวลชนและประกาศราคาขายปลีกอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 มิ.ย.2562 รวมเวลาห่างจากจีน 80 วัน และจากประเทศไทย MG จะแนะZS EV ในออสเตรเลีย ซาอุดิอารเบีย และประเทศอื่นๆ ต่อไป

เบื้องหลังราคาEV

MG ZS EV มีเกรดเดียวสีเดียว ราคา 1.19 ล้านบาท สีที่ใช้เปิดตัวคือสีฟ้า Copenhagen Blue” ราคานี้เป็นกุญแจหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะการที่จะทำให้ลูกค้าเข้าถึงความเป็นเจ้าของได้ง่ายขึ้น

เมื่อเทียบราคา ระหว่างรถ EV กับรถเครื่องยนต์ของ MG เราจะพบว่า ราคาของZS EV สูงกว่า รถเครื่องยนต์ICE ตัวทอป(ZS1.5x) อยู่ราว 50.82% และหากดูส่วนต่างระหว่างEV กับเครื่องICE เริ่มต้น ของ ZS ราคาตัวเริ่มต้น(679,000) EVแพงกว่า 75.26%

รถยนต์จากจีน หากเป็นรถนำเข้าสำเร็จรูปปัจจุบันไม่เสียภาษีนำเข้าเพราะว่ามีข้อตกลงทางการค้าระหว่างไทยจีน รวมถึง อาเซียน จีน ในแง่ของชิ้นส่วนนอกจากนี้ภาษีสรรพสามิต หรือภาษีที่รัฐบาลไทยเก็บจากสินค้าฟุ่มเฟือย อัตราภาษีของรถยนต์ไฟฟ้าก็ต่ำเพียง8%เท่านั้น แต่ สองข้อนี้ก็หากจะคิดว่าเป็นข้อได้เปรียบก็ยังไม่เท่ากับการที่รัฐบาลจีนเองได้ให้เงินสนับสนุน ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของตัวเองตามแนวนโยบายที่จะทำให้จีนกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ของโลกที่แข็งแกร่งและเพื่อให้ผู้ผลิตรถยนต์จีนกระตือรอร้นในการคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เงินสนับสนุนเหล่านี้มีอิทธิพลถึงราคาต้นทุนของรถยนต์จีนในตลาดโลกรวมถึงตัว ZS EV ในตลาดเมืองไทยด้วยเช่นกัน

กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศของจีน (MIIT) ออกนโยบายเงินอุดหนุนให้แก่ผู้ผลิตรถจีนที่ทำตามนโยบายของรัฐบาล โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินอุดหนุนให้รถยนต์พลังงานใหม่ (NEV) แต่ละคันในอัตราต่างๆ ขึ้นอยู่กับความจุของแบตเตอรี่และระยะการขับของรถยนต์เหล่านั้น

เงินอุดหนุนสำหรับรถBEV
ระยะขับ 250-400 กม เงินอุดหนุน 18,000 หยวน (81,000 บาท)
ระยะขับมากว่า 400 กม เงินอุดหนุน 25,000 หยวน (112,500 บาท)

นโยบายการให้เงินสนับสนุนนี้มีแนวโน้มจะลดเงินสนับสนุนลงเพื่อไม่ให้ขัดขวาง การพัฒนาในอนาคต ตามโรดแมฟแล้ว รัฐบาลกลางจะถอนเงินอุดหนุน NEV ทั้งหมดภายในปี 2564 นอกจากการสนับสนุนจากรัฐบาลกลางแล้วรัฐบางท้องถิ่นของแต่ล่ะมณฑลต่างก็มีเงินสนับสนุนเพื่อจุดประสงค์ ผลักดันรถพลังงานสะอาดเช่นเดียวกันซึ่งอัตราของการสนับสนุนแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขของแต่ล่ะมลฑล


MG ZS EV รถยนต์เอสยูวีพลังงานไฟฟ้า 100% สร้างบนพื้นฐานของตัวถัง ZS ที่มีขายอยู่ในตลาดเมืองไทย ขนาดของตัวถังมีขนาดเท่ากับZS ในขณะที่ความสูงของรถลดลงเล็กน้อย
ซึ่งหากว่าไม่สังเกตจะไม่เห็น สิ่งที่แตกต่างคือ
สีตัวถังแบบพิเศษ “สีฟ้า Copenhagen Blue” และรูปแบบของ กระจังหน้า ที่ทำเป็นลายฟิกเซล์ หรือ ดอด ซึ่งเพิ่มความทันสมัย จะเห็นว่า กระจังหน้าที่มีจุดย่อยเล็กๆ ร้อยเรียงกันเป็นเส้นนั้น ถูกใช้ในรถยนต์หลายยี่ห้อ เช่น ออดี จากัวร์ เมอร์เซเดส-เบนซ์ เบนทลีย์ หรือแม้แต่ เกีย จากเกาหลี

ความต่างของรถเนื่องจากไม่มีช่องเติมน้ำมัน รถจะ ติดตั้งจุดชาร์จไว้บริเวณหลังกระจังหน้า เวลาชาร์จไฟ ก็เปิดตรงกระจังหน้าออกเพื่อใส่หัวจ่ายลงไป

การออกแบบภายในยังคงฟอร์มเดิมของZS แต่ปรับเปลี่ยนคอนโซลกลางวาง ปุ่มควบคุม เกียร์แบบหมุน(เกียร์ระบบไฟฟ้า) และจอมอนิเตอร์ เป็นจอระบบสัมผัสขนาด 8 นิ้วเพื่อ แสดงข้อมูลเกี่ยวกับระบบของรถทั้งหมด

ภายในห้องโดยสารตกแต่งโทนสีดำ พร้อมการตกแต่งคอนโซลหน้า ด้วยวัสดุนุ่มแบบ Soft touch
พวงมาลัยทรงสปอร์ตหุ้มหนังแบบมัลติฟังก์ชั่นมีการติดตั้งระบบ ปรับอากาศแบบดิจิตอลที่มาพร้อมระบบกรองอากาศที่สามารถกรองฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 และที่สำคัญอีกอย่างคือ ระบบหลังคาซันรูฟแบบพาโนรามา (Panoramic Sunroof) ที่มีพื้นที่กระจกกว้างคิดเป็น80%ของพื้นที่หลังคา

แบตลิเธี่ยม ไอออนจุ 44.5kWh
MG ZS EV เป็นรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100% โดยใช้ระบบแบตเตอรี่จากCATL (Ningdeshidai)  ซัพพลายเออร์รายใหญ่ของวงการแบตเตอรี่โลก บริษัทแห่งนี้ เริ่มต้นระดมทุนเมื่อปี2011 ที่มิวนิค และเข้ามาตั้งบริษัทในจีน คือปักกิ่งและเซี่ยงไฮ ก่อนจะลงทุนเทคโอเวอร์ บริษัทเกี่ยวกับรีไซเคิลในจีน ปัจจุบันCATL (Ningdeshidai) ดำเนินธุรกิจ ผลิต วิจัยและพัฒนาแบตเตอรี่สำหรับรถEV

สำหรับแบตเตอรี่ของ ZS EV เป็นแบบ แบตเตอรี่ แบบลิเธี่ยม ไอออน ความจุ 44.5
kWhในไทยนั้นให้การรับประกัน 8 ปีเต็ม (ส่วนชิ้นส่วนอื่นๆ มอเตอร์และส่วนที่ควบคุม โมดูลต่างๆเกี่ยวกับระบบไฟ รับประกัน 4ปี)


ระยะวิ่ง 337 kmต่อการชาร์จ1 ครั้งMG ZS EV มีขุมพลังสูงสุด 110 กิโลวัตต์ (150 แรงม้า) แรงบิดสูงสุด 350 นิวตันเมตร สามารถเร่งจาก 0-50
กิโลเมตร/ชั่วโมง ได้ด้วยระยะเวลาแค่ 3.1 วินาที และให้ระยะทางขับเคลื่อนสูงสุด 337 กิโลเมตร* ต่อการชาร์จเต็มหนึ่งครั้ง (ตามมาตรฐาน NEDC
หรือมาตรฐานการทดสอบความประหยัดน้ำมันและมลพิษของยุโรป)

ระยะเวลาชาร์จไฟ

การชาร์จไฟ MG ZS EV รองรับการชาร์จไฟ 2 รูปแบบ คือ
1.การชาร์จไฟแบบธรรมดา (Normal Charge) ผ่าน MG Home Charger ใช้เวลาชาร์จไฟจาก 0- 100% ในระยะเวลา 6.5 ชั่วโมง 2.การชาร์จไฟแบบเร็ว (Quick Charge) ผ่านสถานีชาร์จไฟฟ้าสาธารณะ (Public Charging Station) โดยใช้เวลาชาร์จไฟจาก 0-80% ในระยะเวลา 30 นาที

ชาร์จพลังงานกลับ3ระดับ
NEW MG ZS EV มีระบบโปรแกรมการชาร์จพลังงานกลับ หรือ KERS (Kinetic Energy Recovery System)ที่สามารถ ชาร์จพลังงานในระหว่างการขับขี่กลับเข้าแบตเตอรี่ (Regenerative)
ซึ่งมี ระดับการชาร์จพลังงานกลับ ให้เลือกได้3 ระดับ นอกจากนี้
ยังสามารถปรับโหมดการขับขี่ได้ 3 รูปแบบ เพื่อให้เหมาะกับสไตล์ในการขับขี่ของแต่ละคน ประกอบด้วย โหมดการขับขี่แบบ Eco เพื่อการประหยัดพลังงานมากยิ่งขึ้น แบบ Normal สำหรับการขับขี่ทั่วไป และ แบบ Sport


คู่แข่งในตลาด

รถยนต์ไฟฟ้าที่ขายอยู่ในตลาดไทยยังมีไม่มาก คือ 1.ออดี้ 2.BYD E63.นิสสัน ลีฟ4.เกีย โซล EV 5.เกีย 6.ฟอมม์ รถเหล่านี้ไม่มีใครเป็นคู่แข่งโดยตรงกับ MG ZS EV ทั้งรูปแบบและราคาแตกต่างกันมาก ดังนั้นจึงไม่สามารถเทียบกันได้ แต่หากถามว่า ราคาในตลาดช่วง1.1-1.2ล้านบาท สำหรับรถเครื่อยนต์สันดาป ภายในแล้วมีอะไรบ้าง คู่แบ่งค่อนข้างมากแต่เช่น

รถตระกูลSUV กลุ่มซับคอมแพค อย่าง มาสด้า CX-3 ,ฮอนด้า HR-V โตโยต้า C-HR ซูบารู XV

อย่างไรก็ตามบทสรุปของผู้บริโภคที่ต้องการความแตกต่างกับรถเครื่องยนต์ทั่วไปและมองไปในอนาคตถึงค่าบำรุงรักษาการเป็นหนึ่งใน ผู้บริโภคที่ก้าวสู่อนาคต MG ZS EV จึงเป็นทางเลือกที่คุ้มสุด ณ.เวลานี้








ใครควรซื้อ MG ZS EV

สำหรับรถยนต์MG EV ข้อสงสัยอยู่บ้างว่า รถเหล่านี้เหมาะกับใคร เบื้องต้นหากดจากขนาดตัวถัง พื้นที่ใช้งานแล้วรถคันนี้เหมาะกับ คนที่ยังไม่แต่งงานหรือเพิ่งแต่งใหม่ๆ เพราะว่าพื้นที่ของรถเป็นรถเอนกประสงค์5ที่นั่ง ไม่ได้ใหญ่โตสำหรับครอบครัวหลายคน

ท่านต้องต้องพิจารณา ถึงขอจำกัดการใช้รถคือ ระยะขับถ้าใช้งานระยะขับไม่เกิน 150-200 กิโลเมตร แล้วมีที่จุดจอดชาร์จเพื่อเก็บพลังงานในการขับต่อ ฃมีระยะเวลาพอแบบนี้ถือว่าเหมาะมาก

แม้รถจะบอกว่ามีระยะวิ่งได้ 355-357 กิโลเมตรในการชาร์จ 1 ครั้งแต่จากการใช้งานจริง โอกาสชาร์จเต็มต้องจอดรถนานหรือจอดค้างคืนจะที่บ้านหรือที่ไหนก็แล้วแต่

เส้นทางที่จะไปนอกเหนือจากเส้นทางประจำ ต้องค้นหาหัวจ่ายไปรถสามารถใช้หัวจ่ายไฟที่มีอยู่กว่า 1000แห่งทั่วประเทศได้ในการใช้ไฟอย่างไรก็ตามความไม่คุ้นเคยกับระบบอาจจะต้องศึกษาว่ามีระบบจ่ายไฟฟ้าที่สะดวกใกล้ท่านหรือไม่และอยู่ในเส้นทางที่ใช้รถประจำหรือไม่

ข้อจำกัด

เรายังไม่รู้ราคา”แบตเตอรี่”ซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญ มีราคาสูง(วันนี้)และมีอายุการใช้งาน อย่างไรก็ตาม การรับประกัน 8 ปี ทำให้ปัญหาของความกังวลลดลงจากข้อมูลที่สอบถาม ผู้บริหารMG ถึงราคาแบตเตอรี่ลูกใหม่หากเสีย MG บอกเราว่า ยังไม่สามารถบอกราคาได้เนื่องจาก ณ.วันนี้เทคโนโลยียังไม่นิ่งในวันข้างหน้า การผลิตแบตเตอรี่อาจจะมีราคาลดลงมาก ในขณะที่ระบบการเปลี่ยนแบตและการซ่อมบำรุง ก็พัฒนาไปไม่ใช่เสียแล้วเปลี่ยนยกลูกแต่จะมีโมดูลเปลี่ยน ดังนั้นต้องรอราคาในอนาคต

ข้อจำกัดต่อไปคือ ราคาขายต่อของรถ รถยนต์ไฟฟ้าในระบบปัจจุบันเราไม่เคยเห็น มูลค่าของรถเมื่อเป็นรถใช้แล้ว ดังนั้นจึงบอกไม่ได้ว่า ราคารถมือสองจะตกลงเท่าไรแต่หากว่ามีโปรแกรม การันตีราคาขายต่อออกมาแบบ โตโยต้าคัมรี่ไฮบริดแบบนี้ก็น่าลงทุน

อีกข้อจำกัดหนึ่งที่เป็นลักษณะเฉพาะของประสบการณ์การใช้คือเรายังไม่เคยเห็น ปัญหาจุกจิกจากการใช้งาน คงต้องรอให้ผู้มีประสบการณ์รายงานเข้ามาในอนาคต

Advertisements
- Advertisement -spot_imgspot_img

Latest news

Advertising

spot_img

Related news

- Advertisement -spot_img