สู้”ไฟไหม้รถ”ด้วย เทคนิคดับเพลิงอย่างถูกวิธี

- Advertisement -
- Advertisement -

รู้ไว้ปลอดภัยกว่า 5 ต้นตอไฟไหม้รถและเทคนิคการดับเพลิงสำหรับรถยนต์

Advertisements

บทความนี้แนะนำท่านให้เข้าใจถึงเรื่อง”การดับเพลิง”สำหรับรถยนต์เบื้องต้นควรนำเครื่องดับเพลิงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ท่านจะสามารถนำติดรถไปด้วยได้ เพื่อเพียงพอต่อการใช้งานกรณีที่เกิดเหตุขึ้นมา

เพลิงไหม้รถจากรถปกติที่ใช้งานโดยไม่เกี่ยวกับอุบัติเหตุ มี 5 จุดที่เป็นต้นตอ ของเพลิงไหม้ ได้แก่

  1. ห้องเครื่องยนต์ใต้ฝากระโปรง สาเหตุสำคัญเกิดจาก การรั่วของน้ำมันเชื้อเพลิง หรือน้ำมันหล่อลื่น
    เพลิงไหม้ที่บริเวณห้องเครื่องยนต์นั้น หากมีการแตกของท่อทางเดิน น้ำมันเชื้อเพลิง (เป็นหลัก) แล้วแรงดันของปั้มเชื้อเพลิงจะทำให้น้ำมันฉัดพ่นออกมาราวกับน้ำรั่วของสายยาง และเมื่อน้ำมันรั่วไปโดนชิ้นส่วนที่กำลังร้อนในห้องเครื่องยนต์ ก็จะเกิดไฟลุกขึ้นได้ หรือ ต้นเพลิงอาจจะเกิดจากการเสียดสีของสายพาน มู่เลย์ จนเกิดความร้อนสะสมขึ้นลุกเป็นไป มีหลายครั้งที่มู่เล่ย์ติดเพราะลูกปืนแตกหรือสาเหตุอื่นๆจนเป็นเหตุให้เพลิงลุกไหม้ได้ หากเกิดไฟไหม้ที่ห้องเครื่องยนต์ ให้รับดับเครื่องโดยทันทีเพื่อหยุดการทำงานของปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงและการไหลเวียนของน้ำมันเชื้อเพลิง
    เทคนิค การดับไฟที่ห้องเครื่องให้ปลอดภัยนั้นหากอยู่คนเดียวต้องค่อยๆ เปิดฝากระโปรงแค่ล็อคเดียว ไม่ยกหมด แล้วฉีดหัวดับเพลิง สอดไปยังจุดต้นเพลิง แต่หากมีคนอื่นๆ มาช่วย ให้คนหนึ่งถืออุปกรณ์ดับเพลิงและเตรียมพร้อม
    ในขณะที่อีกคนหนึ่งเปิดฝากระโปรงรถขึ้นมาทันทีที่ฝากระโปรงเปิดขึ้นนั้นจะมีเปลวไฟลุกโชน ขึ้นมาเนื่องจากมีอากาศ ด้านนอกเข้าไปช่วยเร่งการปะทุของไฟ คนที่เตรียมพร้อมอยู่นั้นต้องฉีดเคมีดับเพลิงไปยังต้นกำเนิดของเพลิงโดยทันทีจนกระทั่งไฟดับ
    การเปิดกระโปรงต้องพร้อมที่จะ เปิดขึ้นและค้างฝาไว้ได้ ไฟที่ไหม้อาจเป็นอุปสรรคสำหรับการเปิดฝาค้างอาจต้องหากอะไรค้ำฝากระโปรง
  2. ใต้แผงหน้าปัด สาเหตุเนื่องจากการลัดวงจรของระบบไฟฟ้า ไฟจะไหม้เร็วมากให้พยายามดับไปด้วยสารเคมีที่ถูกแนะนำสำหรับการดับไฟด้วยระบบไฟฟ้า
  3. ที่เบาะและห้องโดยสาร สาเหตุเนื่องจากการร่วงของเชื้อไฟ การปะทุของอุปกรณ์ต่อพวงไม่ได้มาตราฐาน เช่น ที่ชาร์จแบบมือถือ เครื่องดูดฝุ่นขนาดเล็ก หรือบุหรี่แและเหตุอื่นๆ ทั้งนี้วัสดุประกอบภายในห้องโดยสารรถยนต์จะมีอัตราทนไฟระดับหนึ่ง ทำให้เพลิงไหม้ช้ากว่าวัสดุอื่นๆ แต่หากทิ้งเชื้อไว้นานๆ ก็ทำให้เกิดเกิดไฟไหม้ที่เบาะรถหรือพรมพื้นรถได้ หากไฟไหม้เบาะให้พยายามดับไฟที่เบาะด้วยเครื่องดับเพลิงก่อนแล้วรีบดึง หรือถอดเบาะออกจากรถ เพื่อให้แน่ใจว่า ไฟที่อาจคุกรุ่นในฟองน้ำใต้เบาะดับลงแล้ว
  4. เพลิงที่เกิดจากความร้อนของ อุปกรณ์เครื่องกรองมลพิษจากไอเสีย (catalytic converter) ใต้ท้องรถไหม้หญ้าเพราะจอดรถบนหญ้าสูงหรือหญ้าแห้ง ดังนั้นควรหลีกเลี่ยง การจอดรถ ในบริเวณที่มีหญ้าสูงๆ ตัวcatalytic converter และท่อไอเสียใต้ท้องรถมีความร้อนมากเป็นเหตุทำให้เกิดการลุกไหม้ได้
  5. ไฟไหม้ขณะเติมน้ำมัน หลักเลี่ยงการก่อให้เกิดประกายไฟใดๆ เพราะหากเกิดไฟฟ้าสถิตย์อยู่ ประกายไฟจะกระโดดไปยังตัวถังของรถและไปจุดระเบิดไอระเหยของน้ำมันได้ นอกจากนี้การนำภาชนะอื่นๆ ไปเติมน้ำมันโดยบรรทุกไว้หลังกระบะโดยเฉพาะในรถกระบะที่มีการติดตั้งพื้นปูกระบะพลาสติกต้องทำการล้างไฟฟ้าสติตย์ก่อนเนื่องจากการขับรถด้วยความเร็วบน ทำให้อากาศเกิดการเสียดสีกับผิวของภาชนะบรรจุจนมีการเก็บประจุเกิดขึ้นภาชนะบรรจุน้ำมันที่ใกล้หมด เป็นอันตรายมากกว่าภาชนะบรรจุที่ยังเต็มถังอยู่เพราะไอระเหยของน้ำมันด้านในจะเกิดการระเบิดได้ง่ายกว่าที่น้ำมันที่ยังมีสภาพเป็นของเหลว.

กรณีรถเกิดอุบัติเหตุ
การเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่หากเป็นการชนกันปกติ หรือการพลิกคว่ำอาจจะเกิดจาก การหกหรือการแตกของถังน้ำมันเชื้อเพลิงแตกรั่ว กรณีนี้ยังคงใช้หลักการเดียวกันกับ การดับเพลิงทั่วไปแต่มีข้อควรระวังคือ การระเบิดของถังน้ำมัน และหากไฟไหม้มาถึงยาง ก็จะเกิดการระเบิดอีกครั้งแต่โดยแท้จริงแล้ว รถจะระเบิดทั้งคันแบบในหนังเป็นเรื่องยาก มีเพียง “เขตอันตราย (zone of danger)”นั่นก็คือพื้นที่รูปกรวย เริ่มจากตำแหน่งของถังน้ำมัน(โดยปกติจะถูกติดตั้งไว้ด้านท้ายของรถ)ไปยังด้านหลังของรถ เพราะถ้าหากถังน้ำมันเกิด ระเบิดขึ้นไฟจะพุ่งออกมาจากโซนอันตรายนี้ให้หลีกเลี่ยงให้เข้ายังโซนดังกล่าว

ชนิดของถังดับเพลิงสำหรับรถยนต์
ถังดับเพลิงอยู่หลากหลายชนิดแต่ถังดับเพลิงชนิด ABC คือถังดับเพลิงที่ใช้ได้สำหรับรถยนต์ เคมีมีลักษณะเป็นผงแป้งละเอียด( (Dry Chemical)  )เป็นถังที่ดับเพลิงแบบอเนกประสงค์ ระหัส A คือ เคมีดับเพลิงที่เกิดจากเชื้อเพลิงทั่วไปเช่น ไม้ กระดาษ ระหัส B ใช้ดับเพลิงที่เกิดจากของเหลว ไวไฟเช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเชื้อเพลิง ระหัส C เคมีที่ใช้ดับเพลิงที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร
อุปกรณ์ดับเพลิงชนิดฮาลอน(Halon) หรือถังระบบเก่าที่ใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(co2)มีหลักการทำงานคือการไล่ออกซิเจนออกไป อุปกรณ์ดับเพลิงฮาลอนใช้งานได้อย่างดีบริเวณที่มีพื้นที่แคบและไม่มีการถ่ายเทอากาศ หากมีการถ่ายเทอากาศฮาลอนก็จะถูกลมพัดกระจายไปจนหมด ดังนั้นฮาลอนเหมาะสำหรับ ใต้แผงหน้าปัดไม่เหมาะกับ การดับเพลิงทั่วไป

วิธีการใช้เครื่องดับเพลิงให้ได้ผล
ในการอบรมการดับเพลิง เจ้าหน้าที่จะเน้นเทคนิคการดับไฟ คือต้องฉีดผงเคมีไปยังต้นกำเนิดของเพลิง และกวาดหัวดับเพลิงอย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งไฟดับลงอย่าพ่นสารเคมีไปยังเปลวไฟเพราะนอกจากไม่สามารถดับไฟได้แล้วยังสิ้นเปลืองเคมีที่มีจำกัดในถัง การพ่นสารเคมีดับเพลิงผ่านเข้าไปด้านหน้าหม้อน้ำหรือผ่านซุ้มล้อมักจะไม่ได้ผลทำให้เปลืองสารเคมีไปโดยเปล่าประโยชน์

Advertisements

ตรวจสอบรถเป็นประจำ
มีกติกาสำหรับคนใช้รถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิง LPG NGV ให้เข้าศูนย์ตรวจเช็คระบบทุก1 ปี รถที่ดัดแปลงเชื้อเพลิงอุปกรณ์ต้องสมบูรณ์แบบ ในขณะที่รถเก่าหรือรถมือสองที่ที่เพิ่งซื้อหรือ เสร็จจากการซ่อมใหญ่ ต้องระวังเพลิงใหม้ในขั้นตอนแรกที่วิ่งหรือเปลี่ยนมือ

Advertisements
- Advertisement -

Related news

- Advertisement -
Exit mobile version