ปรับแผนบุกตลาดรถไฟฟ้า ตลาดบน รอดูส่งครามราคาคู่แข่ง
แหล่งข่าวจาก บริษัท อีวี ไพรมัส จำกัด ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าแบบมัลติแบรนด์ (Multi-Brand EV Distributor) แห่งแรกของไทย ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย รถยนต์ไฟฟ้า VOLT CITY EV แต่ผู้เดียวในประเทศไทย เปิดเผยกับ auto.co.th ว่า อีวี ไพรมัส ได้ตัดสินใจชะลอแผนการเปิดตลาดรถยนต์ไฟฟ้าระดับพรีเมียมแบรนด์ เซเรส( SERES) โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 3 มี.ค.2565 บริษัทอีวี ไพรมัส ประกาศว่าจะเพิ่มผลิตภัณฑ์ในโชว์รูมด้วยรถยนต์ไฟฟ้าสมรรถนะสูงแบบสปอร์ต คือเซเรส 3 (SERES 3) และเซเรส 5 (SERES 5) ซึ่งเซเรส3 นั้นเป็นรถพลังงานไฟฟ้า 100%(BEV) โดยใช้สิทธิพิเศษด้านภาษีจากเขตการค้าเสรี อาเซียน-จีน ทำให้ภาษีนำเข้าอยู่ที่ 0%ซึ่งในวันดังกล่าว อีวี ไพรมัสได้นำรถทั้ง 2 รุ่นมาจัดแสดงต่อสื่อมวลชนด้วยและมีเป้าหมายการจำหน่ายในปี2566
“เหตุผลอีวี ไพรมัส เลื่อนการเปิดตัวเซเรสเนื่องจากในช่วงเวลาที่ผ่านมามีรถยนต์ไฟฟ้าค่ายหลักจากจีน เช่น BYD และGWM รวมถึงรถไฟฟ้าจากอเมริกาเข้ามาทำตลาดและทั้งสอง มีการแข่งขันทางด้านราคาสูงมากโดยเฉพาะ ราคาของเทสลาทำให้ อีวี ไพรมัส ต้องทบทวนแผนการตลาดของเซเรสใหม่หมด”
มุ่งพัฒนาโวลท์สนองตลาด
แหล่งข่าวระบุว่า ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในไทยในระดับราคา1-2ล้านบาทเป็นตลาดที่แข่งขันรุนแรงมากโดยมีทั้งเทสล่า โตโยต้า และBYD ซึ่งตลาดดังกล่าว มีขนาดของกลุ่มผู้ซื้อจำนวนจำกัด ดังนั้นค่ายรถที่อยู่ในตลาดนี้จึงต้องใช้ “กลยุทธ์ราคา”เป็นเครื่องมือหลักในการทำตลาด อย่างไรก็ตาม อีวี ไพรมัส จะไปโฟกัสที่การส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กแบรนด์VOLT อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากขณะนี้ ตลาดมีความต้องการสูง บริษัทยังไม่สามารถส่งมอบรถได้ตามคำสั่งซื้อ นอกจากนี้ในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กระดับราคา5-6แสนบาทVOLTยังไม่มีคู่แข่งโดยตรงในการทำตลาด
รู้จักแบรนด์เซเรส รถที่แทคมือหัวเว่ย
ในขณะที่ทางด้านเทคนิค เซเรส ยังถือว่าต้องเจรจาเรื่องของภาษีนำเข้าในรถรุ่นสำหรับ เซเรส 5 แม้จะเป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า 100% แต่มีเครื่องยนต์ขนาด 1.5 ลิตร เทอร์โบ เป็นตัวปั่นกระแสไฟแม้จะไม่มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนโดยตรง แต่มีหน้าที่ปั่นไฟป้อนให้กับมอเตอร์ป้อนให้กับแบตเตอรี่ ทางพิกัดภาษียังถือว่าไม่ใช่ รถอีวีและมีภาระภาษีสูงกว่ารถอีวี
หลักการระบุว่าเป็น ไฮบริด ประเภท ซีรีส์ ไฮบริดต่างกันที่ เซเรส-5 สามารถชาร์จไฟได้ หรือ ปลั๊ก-อิน ไฮบริด และการที่ติดตั้งแบตเตอรี่ขนาด 35 กิโลวัตต์ชั่วโมงทำให้สามารถใช้งานในรูปแบบ อีวี ได้มากกว่า หรือสูงสุด 180 กิโลเมตร เมื่อชาร์จไฟเต็มที่ โดยที่เครื่องยนต์ไม่ต้องทำงาน แต่เมื่อรวมกับเครื่องยนต์ที่มีถังน้ำมันความจุ 56 ลิตร ทำให้รถคันนี้สามารถใช้งานได้มากกว่า 1,000 กิโลเมตร ถ้าพูดในมุมผู้ผลิต อาจเรียกว่า เป็น EV Extender
หลักการทำงานของเซเรส-5เหมือนกับ “นิสสัน คิกส์ อี-เพาเวอร์” ดังนั้นหากจะนำเข้ามาทำตลาดในไทย สิ่งแรกที่ต้องนำมาคำนวนเป็นต้นทุน คือ ภาษีนำเข้า สำหรับภาษีนำเข้ารถอีวีจากจีนนั้นอยู่ในอัตตรา 0% แต่ถ้าเป็นไฮบริด หรือ ปลั๊ก-อิน ไฮบริด อยู่ที่ 50% ซึ่งแตกต่างกันมาก
สำหรับเซเรส เป็นแบรนด์จีนที่กำลังได้รับความสนใจจากทั่วโลก เพราะว่ามเซเรส-5 เพราะเป็นรถที่เซเรสพัฒนาร่วมกับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง หัวเว่ย(Huawei) และทุกจีนนั้นเซเรส ใช้ช่องทางการขายช่องทางหนึ่งผ่านช้อป ของหัวเว่ย
เซเรส รถสมรรถนะสูง
เซเรส-5 ประกอบไปด้วยรถ 3 รุ่นย่อย โดยรุ่นที่มีความสนใจมาก และเป็นรุ่นที่นำมาแสดงในไทยก่อนหน้านี้คือ เซเรส5 รุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อ ผ่านการขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ 2 ตัว ให้กำลังสูงสุด
543 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 850 นิวตัน-เมตร อัตราเร่งจาก 0-100 กิโลเมตร/ชั่วโมง 4.7 วินาที
ส่วนรุ่นมอเตอร์ตัวเดียว ให้กำลังสูงกว่า 300 แรงม้า และรุ่นที่ให้กำลังแรงสุดใช้ มอเตอร์ 3 ตัวขับเคลื่อนให้กำลังมากกว่า 700 แรงม้า
ส่วนจุดขายอื่นๆ ของเซเรส 5 เช่น โครงสร้างตัวถังอะลูมิเนียมน้ำหนักเบา การออกแบบภายนอกสปอร์ต ภายในดูหรูหรา และโดดเด่นด้วยมอนิเตอร์ขนาดใหญ่ ระบบขับขี่อัตโนมัติ Level 2+ ทำงานโดยใช้การประมวลผลจากเรดาร์ และกล้องรอบทิศทาง มีฟังก์ชันทำงานเช่น
-ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรผัน
-ระบบเตือนการชนด้านหน้า
-ระบบช่วยเบรกอัตโนมัติ
-ระบบควบคุมรถให้อยู่ในช่องจราจร
สำหรับค่ายเซเรส นอกจากมีรถยนต์รุ่น3และ 5แล้ว เซเรส ยังพัฒนารถรุ่นใหม่ในชื่อ เซเรส 7(SERES 7)อีกด้วย
รู้จัก เซเรส
Seres ชื่อเดิมคือ SF Motors เป็นแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าที่ทำการตลาดโดย เซเรส กรุ๊ป (เดิมคือ Chongqing Sokon Industry Group) บริษัท ย่อยหลายแห่งใช้ ชื่อว่า “Seres”
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 Seres ได้เปิดตัว SF5 ที่อัปเดต โดยเริ่มต้นความร่วมมือกับ Huawei ซึ่งมีส่วนร่วมในการพัฒนารถยนต์ และจำหน่ายรถยนต์ผ่านร้านค้าของ Huawei
เซเรสก่อตั้งปี 2559 มีศูนย์ R&D ในซิลิคอนแวลลีย์ของสหรัฐอเมริกา ในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา SERES ได้สร้างฐาน R&D โครงข่ายข้ามชาติทั่วโลก ซึ่งมีผลวิจัยประสบความสำเร็จมากมาย เช่น ระบบการจัดการแบตเตอรี่ชั้นนำของโลก การจัดการระบายความร้อนขั้นสูง และการป้องกันแบตเตอรี่ที่หลากหลาย และอื่นๆ เช่น แพลตฟอร์มขับเคลื่อนสี่มอเตอร์ เทคโนโลยีหลักขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า แพลตฟอร์มขยายช่วงของยานพาหนะ ปัจจุบัน SERES กำลังยื่นขอหรือได้รับสิทธิบัตรทางเทคนิคของจีน/สหรัฐอเมริกามากกว่า 1,000 รายการ เซเรสมีการพัฒนารถสำหรับตลาดจีนและอเมริกา ผ่านโรงงานอัจฉริยะมาตรฐานอุตสาหกรรม 4.0
ในจีน แพตฟอร์มของ SERES ยังมีจำหน่ายในชื่อตงฟง