เจาะลึกแลบใหม่ห้องวิจัยนิสสัน กม.22

- Advertisement -
- Advertisement -

เปิด รายละเอียดของห้องทดสอบยานยนต์ ในศูนย์วิจัยและพัฒนายานยนต์ของนิสสัน มอเตอร์ ที่ตั้งอยู่กม.21 บางนา-ตราดและนี่คือของใหม่ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย
ห้องทดสอบ (Test rooms)
1 ห้องทดสอบสัญญาณรบกวนทางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Anechoic Chamber) :
ครั้งแรกในประเทศไทย  ที่สามารถรองรับการทดสอบการส่งสัญญาณคลื่นรบกวนทั้งจากภายใน ที่เกิดจากการขับเคลื่อนของเครื่องยนต์ และสัญญาณคลื่นจากภายนอก ที่จะส่งผลกระทบต่อกลการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ในเครื่องยนต์ ซึ่งให้ผลการทดสอบที่มีประสิทธิภาพและความแม่นยำสูงสุด    ถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของนิสสัน

Anechoic Chamber
Anechoic Chamber

2.ห้องทดสอบปริมาณมลพิษจากไอเสียรถยนต์ (Chassis Dynamometer with Emission Test Room :
ทดสอบปริมาณสารมลพิษไอเสียรถยนต์ ด้วยการจำลองสถานการณ์การขับขี่เสมือนบนถนนจริง เพื่อควบคุมให้เป็นไปตามข้อกำหนดของการควบคุมค่ามาตรฐานไอเสีย และรองรับค่ามาตรฐานสูงสุดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
3.ห้องทดสอบประสิทธิภาพและความคงทนของเครื่องยนต์(Engine Dynamometer Chamber):
ด้วยการใช้เทคโนโลยีการทดสอบที่สามารถใช้ได้กับเครื่องยนต์ แก๊สโซลีนและเครื่องยนต์ดีเซล และสามารถทดสอบได้ต่อเนื่องมากกว่า 1,000   ชม. พร้อมทั้งสามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพการ      เผาไหม้ของเครื่องยนต์ และปรับตั้งค่าให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
ห้องทดสอบประสิทธิภาพและความคงทนของเครื่องยนต์

4.ห้องทดสอบประสิทธิภาพความทนทานของชิ้นส่วนรถยนต์และระบบช่วงล่างในห้องควบคุมอุณหภูมิและสภาพแวดล้อม
(Vibration Simulator and Environment Chamber): การทดสอบในห้องควบคุมอุณหภูมิและสภาพแวดล้อม ที่สมบูรณ์แบบที่สุดในประเทศไทย เพื่อหาเสียงที่ผิดปกติ เช่น เสียงกระพือ เสียงเสียดสี และสั่นสะเทือน ภายใต้การขับขี่ในสภาพถนนรูปแบบต่างๆ และตรวจสอบการเสื่อมสภาพ (การเสียรูป และการเปลี่ยนสี) ของชิ้นส่วนประเภทพลาสติกและยาง ทั้งภายในและภายนอกของรถยนต์
ห้องทดสอบประสิทธิภาพความทนทานของชิ้นส่วน

5.ห้องทดสอบคุณภาพเสียง  (Acoustic Chamber):
ครั้งแรกในประเทศไทย สำหรับการทดสอบคุณภาพเสียงในห้องควบคุมเสียงรบกวนจากภายนอก สำหรับใช้ทดสอบคุณภาพเสียง เพื่อค้นหาและป้องกัน     เสียงรบกวนที่อาจเกิดจากการสั่นสะเทือน (Rattle Noise) ของชิ้นส่วนภายในรถยนต์  ได้แก่ บริเวณรอบๆ ลำโพงประตูรถยนต์ รวมทั้งยังสามารถจำลองสภาพการขับขี่ในเวลากลางคืน ได้อย่างสมบูรณ์แบบ เพื่อทดสอบความสว่างของแสงจากมิเตอร์ ป้องกันการรบกวนทัศนวิสัยต่อการขับขี่รถยนต์
6.ห้องทดสอบความทนทานของฝากระโปรงหน้าและฝากระโปรงท้าย (Door Endurance Robot):เพื่อการทดสอบที่มีเสถียรภาพสูงสุด     นิสสัน นำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาใช้ ในการทดสอบ ภายใต้การจำลองสภาพ  การใช้งานจริง ควบคุมการเปิด ปิด    ด้วยระบบอัตโนมัติ ทำให้สามารถควบคุมน้ำหนัก ความแรง ระยะห่าง ความสูง ระดับความเร็วของการเปิด-ปิด และจำนวนรอบการทดสอบ ทำให้ได้ผลการทดสอบที่เที่ยงตรง แม่นยำ ตามมาตรฐานที่กำหนด
ห้องทดสอบความทนทานของฝากระโปรงหน้าและฝากระโปรงท้าย

Advertisements
Advertisements
- Advertisement -

Latest news

Advertising

Related news

- Advertisement -
Exit mobile version