ผลสำรวจการทุจริตน้ำมันเชื้อเพลิง

- Advertisement -
- Advertisement -

ผู้จัดการดูแลยานพาหนะของไทยชี้ ทุกฝ่ายต้องช่วยกันมากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาทุจริตน้ำมันผู้จัดการดูแลยานพาหนะของไทยมองการทุจริตน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นปัญหาใหญ่ และเห็นว่าองค์กรต้องพยายามมากกว่านี้ หากต้องการลดค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้ได้ในปริมาณมาก
กรุงเทพฯ 18 พ.ค. 2559 – ผลการศึกษาอิสระล่าสุดจากเชลล์ระบุว่า  92% ของผู้จัดการดูแลยานพาหนะในประเทศไทยมองว่าการทุจริตน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นปัญหาใหญ่ในธุรกิจ  85% ตระหนักว่าการปรับปรุงและพัฒนามาตรการต่อต้านการทุจริตจะช่วยลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้มากกว่าร้อยละ 5 และมีผู้จัดการดูแลยานพาหนะถึง 4 ใน 10 คน ที่เชื่อว่าการบริหารจัดการที่เข้มงวดขึ้นจะสามารถลดค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้ 10 %ขึ้นไป
ผลการศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงาน “Fraud Matters 2015” ซึ่งเป็นผลสำรวจข้อมูลจากผู้จัดการดูแลยานพาหนะและผู้ใช้รถจาก 8 ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย โดยรายงานดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่ประเด็นต่างๆ ที่ผู้จัดการดูแลยานพาหนะเป็นกังวล และเปิดเผยว่า 86 %ของผู้ใช้รถเห็นด้วยว่าปัจจุบัน การทุจริตเป็นปัญหาใหญ่ในอุตสาหกรรมการขนส่ง
นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวยังระบุว่า ผู้ใช้รถ 64% ยอมรับว่าเคยเห็นเพื่อนร่วมงานประพฤติทุจริตในการทำงาน โดยพฤติกรรมที่พบบ่อยที่สุดคือการลักลอบดูดน้ำมันออก ส่วนพฤติกรรมอื่นๆ ที่ผู้จัดการดูแลยานพาหนะ และผู้ใช้รถระบุว่าสร้างความเสียหายมากได้แก่ การใช้บัตรเติมน้ำมันนอกเหนือจากจุดประสงค์ของบริษัท และการที่ผู้ใช้รถจ่ายค่าน้ำมันด้วยเงินสดแทนเพื่อปิดบังการใช้บัตรซื้อสินค้าอื่นๆ
อรอุทัย ณ เชียงใหม่ ผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการค้าและการตลาด ธุรกิจบัตรเติมน้ำมัน ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและตะวันออกกลาง บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า การจัดทำงานวิจัยครั้งนี้ทำให้เราเห็นภาพรวมของการทุจริตน้ำมันเชื้อเพลิงได้ชัดเจนขึ้นผ่านผลสำรวจจากผู้จัดการดูแลยานพาหนะและผู้ใช้รถ เนื่องจากน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นทรัพยากรที่มีมูลค่าสูง จึงก่อให้เกิดพฤติกรรมทุจริตได้ง่าย ในฐานะที่เชลล์เป็นผู้ให้บริการบัตรเติมน้ำมันระดับโลก เราถือเป็นหน้าที่ของเราที่จะช่วยลูกค้าปกป้องผลประโยชน์ขององค์กร และเป็นสาเหตุว่าทำไมเชลล์จึงแนะนำผู้ประกอบการด้านการขนส่ง ว่าควรที่จะมีวิธีการปกป้องธุรกิจจากการทุจริต เพื่อจำกัดความเสียหายให้ได้มากที่สุด”
ข้อมูลจากผู้จัดการดูแลยานพาหนะชี้ว่ากุญแจสำคัญที่จะช่วยให้การป้องกันทุจริตมีประสิทธิภาพมากขึ้นคือ ความรู้ความเข้าใจของผู้ใช้รถ โดยผู้จัดการดูแลยานพาหนะ 48 %เห็นว่าปัจจัยนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการกำจัดพฤติกรรมทุจริต อย่างไรก็ตาม จากการที่ผู้จัดการไม่มีเวลาและทรัพยากรที่เพียงพอทำให้มีเพียง 20 %เท่านั้น ที่จัดการอบรมการป้องกันการทุจริตให้แก่พนักงาน ผลคือแม้ว่าผู้จัดการดูแลยานพาหนะถึง 75 %จะเชื่อว่าตนเองรู้ถึงแนวทางการป้องกันทุจริตเป็นอย่างดี กลับมีเพียง 50 %ของผู้ใช้รถเท่านั้นที่รู้สึกเช่นเดียวกัน
“หนึ่งในปัญหาใหญ่ที่สุดที่ธุรกิจต้องเผชิญในการจัดการกับปัญหาการทุจริตคือ การที่คำแนะนำและข้อมูลล่าสุดไม่ได้รับการถ่ายทอดไปถึงผู้ใช้รถ แม้จะมีวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดพฤติกรรมทุจริตอย่างการตรวจสอบการใช้น้ำมันผ่านระบบออนไลน์ ระบบที่สามารถตรวจสอบได้ทันที (real-time detection) และการจำกัดปริมาณน้ำมันที่สามารถเติมได้ก็ตาม แต่การที่จะจัดการกับปัญหานี้ให้หมดไปได้อย่างแท้จริง ผู้ประกอบการจำเป็นต้องลงทุนด้านเวลาและทรัพยากรที่จำเป็นในการฝึกอบรมพนักงานให้รู้เท่าทันการป้องกันทุจริตในสถานการณ์จริง” อรอุทัย กล่าว
เชลล์จัดทำรายงาน Fraud Matters 2015 ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี2559นี้ ผลสำรวจจัดทำโดย บริษัทวิจัยอิสระ Edelman Berland โดยได้ความร่วมมือจากเชลล์ ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลจากผู้จัดการดูแลยานพาหนะ 870 คน และผู้ใช้รถ 350 คน จาก 8 ประเทศ ได้แก่ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร โปแลนด์ มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา แอฟริกาใต้ และประเทศไทย ผ่านการสอบถามออนไลน์ ในช่วงเดือนพ.ค. 2558 โดยกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้ที่อยู่ในธุรกิจที่ต้องใช้ยานพาหนะหลากหลายรูปแบบ[fblike]

Advertisements
Advertisements
- Advertisement -

Latest news

Advertising

Related news

- Advertisement -
Exit mobile version