รถยนต์แบรนด์จีนยึดเบล็ดเสร็จ กฎ80:20 กำลังถูกท้าทายในพื้นที่จัดแสดงงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2025
ในงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2025 (Bangkok International Motor Show 2025) บรรยากาศภายในฮอลล์แสดงรถยนต์สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย เมื่อ แบรนด์รถยนต์จีนเข้ามาครอบครองพื้นที่จัดแสดงหลัก ด้วยการเปิดตัวโมเดลใหม่และโปรโมชั่นที่ดึงดูดใจ ขณะที่ ค่ายรถญี่ปุ่นและเกาหลีเงียบเหงา ไม่สามารถแข่งขันในสงครามราคากับคู่แข่งจากแดนมังกรได้
จีนบุกยึดพื้นที่เด่น พร้อมทัพรถใหม่
ในปี 2025 แบรนด์จีนยังคงใช้กลยุทธ์เดิมที่ได้ผลดีมาโดยตลอด นั่นคือ การนำเสนอรถยนต์ที่คุ้มค่าต่อราคา พร้อมเทคโนโลยีล้ำสมัย ไม่ว่าจะเป็น EV, PHEV และ REEV โดยหลายแบรนด์เลือก เปิดตัวรถรุ่นใหม่แบบเวิลด์พรีเมียร์ในไทย เป็นครั้งแรก ยืนยันถึงความสำคัญของตลาดไทยต่ออุตสาหกรรมยานยนต์จีน
ค่ายรถยนต์จีนที่มาแรงอย่าง BYD, MG, GWM (ORA, HAVAL), CHANGAN, XPENG, AION และ GAC LEAPMOTOR ต่างขยายพื้นที่จัดแสดงให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมนำเสนอโมเดลที่มีราคาต่ำกว่าคู่แข่งญี่ปุ่นและเกาหลี โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าที่มีราคาเริ่มต้นต่ำ เพียง 490,000 บาท(AION UT)ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้รถจีนครองใจผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่อง
พื้นที่จัดแสดงงานนั้นถูกห้องล้อมไปด้วยแบรนด์จีนหากเรามองไปรอบๆ เมื่อยืนอยู่ศูนย์กลางพื้นที่จัดแสดงจะพบว่าเราถูกห้อมล้อมไปด้วยแบรนด์จีนจนแทบบดบังความใหญ่โตของค่ายรถรถญี่ปุ่นลงไป นอกจากนี้ การที่ญี่ปุ่นค่ายใหญ่อย่างโตโยต้า และอีซูซุ ซึ่งเป็นเจ้าใหญ่ที่ครองส่วนแบ่งตลาดส่วนใหญ่ของไทยแต่ไม่เน้น นำนวัตกรรมหรือรถแม่เหล็กรุ่นใหม่ๆ ออกมาโชว์ ทำแต่รถขาย และจัดแสดงในเชิงราบ ไม่มีการลงทุนก่อสร้างพาวิลเลี่ยนเหมือนในอดีต ก็ทำให้แรงดึงดูดสายตาลดความน่าสนใจไป
การทะยอยมาของค่ายรถจีนในไทย ก่อนหน้านี้ในงานแสดงรถยนต์ยังไม่ใหญ่โตมากนักแต่งานบางกอกมอเตอร์โชว์ปี2568ได้ทำให้พื้นที่จัดงานไม่เพียงพอ จะเห็นว่าแต่ละบูธของจีนนั้นใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น บีวายดี ได้ขยายบูธแยกกันระหว่าง บีวายดีกับเดนซ่าเป็นครั้งแรก ทำให้กลายเป็นผู้จ่ายค่าเช่นบนพื้นที่มากสุดเหลือแชมป์ตลอดการอย่างโตโยต้าหรืออีซูซุ
ค่ายGAC ปีนี้ก็ใช้พื้นที่ขนาดใหญ่มาก การที่จีนใช้พื้นที่ใหญ่ทำให้ค่ายญี่ปุ่น ที่กำลังยอดตก ได้ยอมลดการใช้พื้นที่แสดงรถเรียกว่า 1 ใน 3 ที่เคยใช้เท่านั้น และบางส่วนของสินค้าอื่นๆ ที่เคยอยู่ในฮอลล์ ชาเรนเจอร์ ซึ่งเป็นฮอลล์หลัก็ต้องไปใช้พื้นที่อื่นๆ เช่น รถยนต์นำเข้า จากค่ายอิตัลหรือ รถยนต์มือสองรับประกันคุณภาพ ของ เอ็มจีซี ก็ต้องกระเด็นไปอยู่ ฮอลล์ 4 กับงานแสดงชิ้นส่วน
อุตสาหกรรมยนต์จีน ยังมาพร้อมกับอุตสาหกรรมชิ้นส่วน ทั้งต้นน้ำปลายน้ำ ที่ปีนี้ มีการนำเอาบูธ มากกว่า 40 สินค้ามาจัดแสดงไว้อย่างน่าสนใจซึ่งผู้ผลิตชิ้นส่วนจีนเหล่านี้กำลังงมองหา ลูกค้า พันธมิต หรือตัวแทนจำหน่ายที่จะเป็นผู้นำเข้า ซึ่งมีสินค้าที่น่าสนใจมากมายเช่น จักรยานยนต์ไฟฟ้า หมวกนิรภัย ช็อคอัพ ชิ้นส่วนเซ็นเตอร์ยางจักรนานยนต์
ญี่ปุ่น-เกาหลี ถดถอย ขาดนวัตกรรมใหม่ แข่งราคาสู้ไม่ไหว
ในขณะที่การขายในปีนี้ ค่ายจีนเดินหน้าลุยตลาดอย่างเต็มกำลัง ค่ายญี่ปุ่นและเกาหลีกลับมีบรรยากาศที่เงียบเหงา เนื่องจากการเปิดตัวรถใหม่มีจำกัด และยังคงเน้นไปที่ เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) และไฮบริด ซึ่งแม้สามารถดึงดูดลูกค้าได้ แต่คงไม่มากพอและคักคักเฉพาะกลุ่ม เมื่อเทียบกับ EV จากจีนที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง
แม้แบรนด์ญี่ปุ่น เช่น Toyota, Honda, Nissan และ Mitsubishi จะพยายามเปิดตัวไฮบริดและ EV บางรุ่น แต่กลับต้องเผชิญกับความท้าทายด้าน เช่นราคาที่สูงกว่ารถยนต์จีน ส่วน Hyundai และ Kia จากเกาหลีใต้ก็ดูเหมือนจะเสียเปรียบในด้านการตั้งราคาขายเช่นกัน
สงครามราคาที่ญี่ปุ่น-เกาหลี ต้านไม่อยู่
จุดแข็งสำคัญของรถยนต์จีนในไทยคือ “ราคา”ที่สามารถกดลงต่ำกว่าคู่แข่งได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากได้รับ การสนับสนุนจากภาครัฐจีน และใช้กลยุทธ์ต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า รวมถึงการได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลไทย หากเข้าโครงการ EV-3.5 ทำให้รถ EV จากจีนมีราคา ต่ำกว่ารถญี่ปุ่น 20-30% ในเซกเมนต์เดียวกัน ซึ่งส่งผลอย่างมาก ต่อลูกค้า ที่เริ่มมีความสนใจและหันมาเลือกใช้รถจีนมากขึ้น
การประกาศราคารถใหม่ของค่ายจีน อย่างน้อย 4 ค่ายที่ทำให้เวทีแสงดรถนี้อุณหภูมิเดือดขึ้นมาทันที เริ่มต้นด้วย ค่าย MG รถเชื้อชาติอังกฤษแต่สัญชาติจีน ซึ่งMGประกาศราคาในช่วงเริ่มต้นงานแต่ว่าในวันเดียวกันเสียงลือหึ่งในงานช่วงเช้ามีกระแสนว่า ให้รอดูอีก 3 ค่ายจีน ที่น่าจะมีราคาเด็ดไม่มีใครยอมใครและค่ายที่ประกาศสุดท้ายคือ BYDจะได้เปรียบเพราะรู้ราคาของคู่แข่งก่อนแล้ว
สงครามราคาระอุขึ้นเมื่อ เกรทวอลล์ เจ้าแห่งตลาดรถกระบะเมืองจีนแต่กำลังเข้าสู่ช่วงเวลาที่ยากลำบากในไทยเพราะกระแสรถยนต์ไฟฟ้าในไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ ความต้องการตลาดรถยนต์ไฟฟ้าเริ่มอยู่ตัว ในขณะที่คู่แข่งในตลาดเพิ่มขึ้น GWM มีรถยนต์ไฟฟ้าจำนวนน้อยมากในพอร์ตเมื่อเทียบกับแบรนด์จีนอื่นๆ จนทำให้ในงานBIMS2025 GWMต้องเพิ่มบทบาทของรถไฮบริดให้มากขึ้น ด้วยการทำราคา H6 โดยมีราคาเริ่มต้น 9.9 แสนบาท(H6 HEV PRO )-1.149 ล้านบาท(H6 PHEV Ultra) ส่วนรถยนต์ไฟฟ้าในพอร์ต GWMเคาะราคารถใหม่ และกำหนดตำแหน่งราคารถยนต์ไฟฟ้า รุ่น Good Cat สีใหม่(SO BLUE)ในตลาดอีกครั้ง โดยรุ่น ORA Good Cat PRO ราคา5.99 แสนบาท(เดิมเคยเริ่มต้นที่ 7.99แสน) และรุ่น ULTRA ราคา 6.99 แสนบาท ระดับราคาของรถดำดิ่งลงมาจากเปิดตัว 8.99แสน ลดลงเหลือ 7.29 แสนและสุดท้ายอยู่ที่ 6.99 แสนในปีนี้
หลังราคาของ GWM ใครๆ ก็คิดว่านี่จะเป็นราคาที่ไม่มีใครกล้าลดลงกว่านี้แต่ ทุกอย่างฮือฮาสุดๆ เมื่อ ถึงคิวเปิดราคาของ ดีพอล ที่เปิดตัว เอสซีโร่ไฟร์ S05 ด้วยเทคนิคการเผยราคาเรียกเสียงฮือ เป็นระยะ ราคาของดีพอล ทุกคนพูดถึงดีพอล รถคันใหญ่ราคา 7แสน นอกจากนี้ ไออนน เป็นอีกค่ายหนึ่งของจีนที่เปิดตัวรถพรีเซล รุ่น UT รถยนต์ไฟฟ้าอฮทแบค 5 ประตูราคาเริ่มเพียง 4.99 แสนบาทจากราคา 5.1แสนบาท และรุ่นM8PHEV SUV ขนาดใหญ่ราคา 2.5 ล้านบาท แต่ว่าสายตาต้องจับจ้องมาที่คิวของ BYD ที่มีคิวแถลงตอน 3 ทุ่ม และก็เป็นจริงBYD ทำราคาโปรโมชั่นด้วยการเปิดสงครามราคาอีกครั้ง
ตารางเปรียบเทียบราคาของ BYD Seal ในงาน BIMS 2025
รุ่น | ราคาตั้ง ( Eco Sticker) | ราคาหน้าโชว์รูม | งานBIMS2025 | ส่วนต่างหน้าโชว์รูม | เปอร์เซ็นต์ลด |
Dynamic RWD | 1358000 | 1199000 | 999000 | -200000 | -16.68% |
Premium RWD | 1440000 | 1399000 | 1099900 | -299100 | -21.38% |
Performance AWD | 1599000 | 1499000 | 1199000 | -300000 | -20.01% |
หน่วย:บาท
*อีโค สติกเกอร์เป็นราคาแจ้งจำหน่ายจากกระทรงอุตฯและกระทรวงพาณิชย์
การที่ค่ายญี่ปุ่นและเกาหลีไม่สามารถลดต้นทุนเพื่อแข่งขันกับแบรนด์จีนได้ทำให้เกิดช่องว่างที่กว้างขึ้น ตลาดที่เคยถูกยึดครองโดยแบรนด์ญี่ปุ่น กำลังถูกแย่งชิงไปเรื่อยๆ และมีแนวโน้มว่า หากเป็นเช่นนี้มีโอกาศที่แบรนด์รถยนต์จากจีนจะขึ้นเป็นผู้นำในตลาดไทยภายในไม่กี่ปีข้างหน้า
กฏ 80:20 ถูกท้าทาย
การครองตลาดของแบรนด์ใหญ่ในอุตสาหกรรมยานยนต์มักจะมีแบรนด์ใหญ่เพียงไม่กี่รายที่ครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุด ตามหลักการพาเรโต (Pareto Principle)ในไทยก็เช่นกัน ตลาดรถยนต์ไทย โตโยต้า, ฮอนด้า และอีซูซุ อาจเป็น 20% ของแบรนด์ แต่ครองยอดขาย 80% ของตลาดรวมแต่จากนี้ไปการแข่งขันในสภาพปัจจุบันการยอมรับของตลาดและปัจจัยอื่นๆ ได้ทำให้ผู้เล่นอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะ การกระจุกตัวของส่วนแบ่งตลาด 80% อาจจะกระจายออกไป
โตโยต้าและอีซูซุครองตลาดกระบะไทย (80% ของยอดขายกระบะทั้งหมด) แต่ในตลาดพลังงานใหม่ BYD แม้เป็นผู้เล่นใหม่ แต่สามารถครองตลาด EV ไทยได้เป็นอันดับ 1 ที่ผ่านมารถยนต์จีนโฟกัสที่ ตลาด EV และกำลังจะโฟกัสที่ ตลาดกระบะ ซึ่งเป็นการเปิดศึกเพื่อแข่งขันกับญี่ปุ่นอย่างเข้มข้น
งานบางกอก อินเตอรเนชั่นแนล มอเตอร์ โชว์ ปี 2025(BIMS2025) จึง เป็นปีที่สะท้อนถึงการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย จากยุคที่ญี่ปุ่นครองตลาด สู่ยุคของจีนที่กำลังจะขึ้นเป็นผู้นำ แม้ว่าทางด้านปริมาณการขาย ยังไม่มากเท่าญี่ปุ่นที่อยู่มานานกว่า 60 ปีแต่ หากแนวโน้มนี้ยังคงดำเนินต่อไป ค่ายรถญี่ปุ่นและเกาหลีอาจต้อง ปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่ไม่เช่นนั้นอาจสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับแบรนด์จีนอย่างถาวร