เพื่อความเข้าใจกลไกของรถยนต์ไฟฟ้าเรามักพบเห็น คำศัพท์ 3 คำนี้บ่อยๆ คือ Cell to Pack (CTP) , Cell to Body (CTB) และ CTC (Cell-to-Chassis) ทั้งหมดคือ เทคโนโลยีการออกแบบระบบ ติดตั้ง แบตเตอรี่ในรถยนต์ไฟฟ้า (EV) การออกแบบ ระบบติดตั้ง คือการ จัดวางโครงสร้างของเซลล์แบตเตอรี่ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย ลดต้นทุน ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
Cell to Pack (CTP):
CTP หรือ Cell to Pack หมายถึงการออกแบบที่ไม่มีโมดูลแบตเตอรี่ แต่จะประกอบเซลล์แบตเตอรี่โดยตรงลงในแพ็คแบตเตอรี่ โดยใช้โครงสร้างและแผ่นรองรับแทนที่จะใช้โมดูลแยกต่างหาก
ข้อดี:-ช่วยเพิ่มพื้นที่เก็บแบตเตอรี่: การออกแบบ CTP ช่วยให้บรรจุเซลล์แบตเตอรี่ได้มากกว่าโดยไม่ต้องใช้พื้นที่สำหรับโมดูล ส่งผลให้ความจุแบตเตอรี่เพิ่มขึ้น และระยะทางวิ่งไกลขึ้น
ลดน้ำหนัก: การลดจำนวนชิ้นส่วนช่วยลดน้ำหนักแบตเตอรี่โดยรวมส่งผลดีต่อประสิทธิภาพ และระยะทางวิ่ง
เพิ่มความแข็งแรง: โครงสร้าง CTP ที่เรียบง่าย ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของแพ็คแบตเตอรี่ซึ่งส่งผลดีต่อความปลอดภัย
ข้อด้อย: ข้อด้อยของCTP มี2 ส่วน ส่วนแรกคือ การซ่อมเซลล์แบตเตอรี่แต่ละเซลล์นั้นยากลำบาก และอาจมีราคาแพงกว่าการเปลี่ยนโมดูลแยกต่างหาก ส่วนที่สองได้แก่ การกระจายความร้อนอาจเป็นปัญหา เนื่องจากเซลล์แบตเตอรี่อยู่ใกล้ชิดกัน
- Cell to Body (CTB):
CTB หรือ”Cell to Body” เป็นการพัฒนาต่อยอดจาก CTP โดยใช้ตัวถังรถเป็นโครงสร้างหลักของแพ็คแบตเตอรี่ แทนที่จะใช้โครงสร้างแยกต่างหาก
ข้อดี:คือ สามารถเพิ่มพื้นที่เก็บแบตเตอรี่ได้มาก เป็นการใช้พื้นที่ว่างในตัวถังรถได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มพื้นที่เก็บแบตเตอรี่ และความจุแบตเตอรี่ การรวมโครงสร้างตัวถังกับแพ็คแบตเตอรี่เข้าด้วยกัน ช่วยลดน้ำหนักโดยรวมของรถ
โครงสร้าง CTB ยังเพิ่มความแข็งแรงของตัวถังรถ ต้านแรงบิดของตัวถังเพิ่มความปลอดภัยเมื่อเกิดการชน
ข้อด้อย : มีความซับซ้อนในการออกแบบ ต้นทุนสูง การเข้าถึงและซ่อมแซมเซลล์แบตเตอรี่ ทำได้ยากเนื่องจากถูกผสานรวมเข้ากับตัวถังรถ
ทั้ง CTP และ CTB อย่างไหนดีกว่ากันคงตอบยากแต่ เทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับรถรุ่นใดรุ่นหนึ่ง ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ขนาด น้ำหนัก ราคา และความต้องการของผู้บริโภค
3. CTC (Cell-to-Chassis)
CTC (Cell-to-Chassis) คือแนวคิดการออกแบบที่เซลล์แบตเตอรี่จะถูกบูรณาการเข้ากับแชสซีส์ (chassis) ของรถยนต์โดยตรง การออกแบบนี้คล้ายกับ CTB แต่เน้นการรวมเซลล์แบตเตอรี่เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานของแชสซีส์โดยเฉพาะ ข้อดีของการออกแบบแบบ CTC ได้แก่:
- การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่และน้ำหนัก: ทำให้การใช้พื้นที่และน้ำหนักของรถยนต์มีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องมีส่วนประกอบแยกกันระหว่างแบตเตอรี่และแชสซีส์
- ความแข็งแรงของโครงสร้าง: การรวมแบตเตอรี่เข้ากับแชสซีส์ช่วยเพิ่มความแข็งแรงและความมั่นคงของโครงสร้างรถยนต์
- การกระจายความร้อน: การออกแบบที่ดีสามารถช่วยกระจายความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สรุป
- CTP (Cell-to-Pack): เซลล์แบตเตอรี่บรรจุลงในแพ็กโดยตรงก่อนส่งเข้าไปประกอบในรถ
- CTB (Cell-to-Body): เซลล์แบตเตอรี่บูรณาการเข้ากับโครงสร้างตัวรถ
- CTC (Cell-to-Chassis): เซลล์แบตเตอรี่บูรณาการเข้ากับแชสซีส์ของรถยนต์
ตารางแสดงตัวอย่างรูปแบบการติดตั้งแบตเตอรี่ในรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นต่างๆ
CTP มีผู้ผลิตหลายรายนอกจาก BYD และ Tesla ยังรวมถึง Great Wall, SAIC Motor, Volkswagen, และ BMW ซึ่งร่วมมือกับ CATL เพื่อใช้เทคโนโลยี CTP ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า
CTB (Cell-to-Body): NIO ยังคงเป็นหนึ่งในผู้นำที่ชัดเจนในเทคโนโลยี CTB แต่ค่ายรถยนต์อื่น ๆ อาจเริ่มนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในอนาคต
CTC (Cell-to-Chassis): Geely และพันธมิตรยังคงเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มการใช้เทคโนโลยีนี้ โดยมีแผนพัฒนาในรุ่น Polestar 3 และอาจมีการขยายการใช้งานในอนาคต
ที่มา:auto.co.th รวบรวม