ทดสอบวิ่งนำร่อง”สองแถวไฟฟ้า”Hilux Revo-e โตโยต้าทำไปเพื่อ?

- Advertisement -
- Advertisement -

โตโยต้านำร่องใช้กระบะไฟฟ้าบนถนนจริงโดยมอบรถต้นแบบ12 คันสำหรับรับส่งผู้โดยสารแบบวิ่งประจำทาง หนึ่งในการทดสอบทางวิศวกรรมของค่ายยักษ์ใหญ่ผู้นำตลาดรถโลก

Advertisements

25เมษายน2567 โตโยต้าได้ส่งมอบรถกระบะไฟฟ้า Hilux Revo-eสำหรับทดลองให้บริการในรูปแบบ
รถสองแถวโดยสารประจำทางสาธารณะ (Fixed Route)ในพื้นที่เมืองพัทยา เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2567 – ธันวาคม 2568โดยจะมีการส่งมอบเป็นจำนวนทั้งสิ้น 12 คัน ภายใต้โครงการฯวางรากฐานระบบขนส่งสาธารณะของเมืองพัทยาให้มีความทันสมัยและปราศจากมลภาวะ

“ในวันนี้ เราได้เติมเต็มทุกการขับเคลื่อน เพื่อเมืองต้นแบบที่ยั่งยืนปราศจากมลภาวะภายใต้แนวทาง Multi PathwayโดยการนำรถกระบะHilux Revo-eมาดัดแปลงเป็นรถสองแถว เพื่อให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในเมืองพัทยาทั้งนี้ ต้องขอบคุณความร่วมมือจากพันธมิตรทุกภาคส่วน ที่ให้ความร่วมมือในการผลักดันพัทยาให้เป็นต้นแบบเมืองอัจฉริยะของไทย ในด้านการเดินทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอันเป็นส่วนสนับสนุนเป้าหมายของประเทศในการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน ต่อไป”นายสุรภูมิ อุดมวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าว

ปัจจุบัน มีนักท่องเที่ยวและประชาชนในเมืองพัทยาให้ความสนใจใช้บริการรถยนต์พลังงานทางเลือกของโตโยต้าที่ส่งรถเข้าร่วมโครงการฯไปแล้วทั้งสิ้นกว่า 4,500 ครั้ง รวมเป็นระยะทางกว่า 335,000 กิโลเมตร

โครงการทดลองนี้ถือเป็นครั้งแรกที่เราได้เห็น กระบะโตโยต้าแบบไฟฟ้า100% วิ่งบนถนนจริงอย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ สะท้อนภาพ อย่างช้าๆ จากแผนการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าเพื่อแข่งขันในตลาดของโตโยต้า โตโยต้ายังคงใช้ เวลาในการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าอีกยาวนานแม้ว่า จะเปิดตัวกระบะไฟฟ้ามาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ในระดับโลก โตโยต้าแสดงความตั้งใจที่ยังไม่ มุ่งเน้น รถยนต์ไฟฟ้าสำหรับตลาดแมส

แผนการทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าอย่างระมัดระวังนี้แสดงให้เห็นข้อจำกัดบางอย่างที่ยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่างโตโยต้าต้องก้าวข้ามและ เป็นท่าทีที่แตกต่างไปจาก กลยุทธ์ในอดีตที่โตโยต้าเคยเป็นผู้นำเทรนด์ ไฮบริดและทุ่มเทกับการสร้างตลาดไฮบริดอย่างจริงจังในประเทศไทย แม้ว่า ที่ผ่านมาคู่แข่งจากจีนจะประสบความสำเร็จมากมายในการสร้างส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งนี้โตโยต้าเคยจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า 100% ในไทยเพียงรุ่นเดียว ก่อนยุติการจำหน่ายไปในระยะสั้นทำให้ปัจจุบัน พอร์ตของโตโยต้าไม่มีไลน์อัพสินค้าที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าเลย

โตโยต้ายังเชื่อว่า การ สร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ไม่ได้มีแนวทางเดียว (รถยนต์ไฟฟ้า)ดังจะเห็นว่า รถกระบะไฟฟ้าเป็นเพียงหนึ่งแผนการเตรียมความพร้อมในหลากหลายแนวทาง (MultiPathway)ที่ว่าด้วยการมุ่งมั่นในการพัฒนาทุกความเป็นไปได้ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเสนอนวัตกรรมยานยนต์รูปแบบใหม่ ๆ ทั้งการวิจัยพัฒนาระบบขับเคลื่อนต่าง ๆ ที่มีคุณลักษณะแตกต่างกัน รองรับการใช้งานพลังงานได้หลากหลายรูปแบบ แต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังไม่เป็นรูปธรรมมากนัก

Advertisements

ยกเว้นรถสาธิต เช่น การเดินทางระยะสั้น (Last mile)ด้วยรถยนต์โตโยต้า รุ่นซีพลัส พอด (C+Pod)การเดินทางระยะกลาง (Inter City)ด้วยรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) และรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (BEV) การประสานความร่วมมือในการเปิดสถานีไฮโดรเจนแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) รุ่นโตโยต้า มิไรซึ่งโตโยต้านำมาสาธิตการใช้งานในรูปแบบของการเดินทางระยะไกล (Long Distance) รับส่งระหว่างสนามบินอู่ตะเภา

ความร่วมมือกับเมืองพัทยาจึงเป็นเพียง เพื่อศึกษาโครงสร้างพื้นฐาน การรับรู้ของผู้คน และพฤติกรรมการใช้งาน ภายใต้สภาพแวดล้อมจริง
การทดสอบในพัทยาอาจช่วยให้โตโยต้าเข้าถึงฐานลูกค้าที่เป็นเป้าหมายในตลาดที่มีความสนใจในการใช้งานรถยนต์พลังงานที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลง และทำให้เข้าถึงข้อมูลตลาด อันเป็นข้อมูล สำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไปในอนาคต

Advertisements
- Advertisement -

Latest news

Advertising

Related news

- Advertisement -
Exit mobile version