Monday, October 7, 2024

เกียรติธนาขนส่ง เดินหน้าลงทุนเพิ่มหัวลากยูดี เควสเตอร์ เสริมฟลีท

- Advertisement -spot_imgspot_img
- Advertisement -spot_imgspot_img

พร้อมศึกษาแผนรถบรรทุก EV เพื่อยกระดับการรักษาสิ่งแวดล้อมและสอดรับแผนพัฒนาธุรกิจของลูกค้า

Advertisements

นายเมฆ มนต์เสรีนุสรณ์ รองกรรมการผู้จัดการด้านการตลาดและพัฒนาธุรกิจ บริษัท เกียรติธนา ขนส่ง จำกัด (มหาชน) หรือ KIAT ผู้นำด้านขนส่งสินค้าเคมี ปิโตรเคมี และวัตถุอันตรายที่เน้นความปลอดภัยสูง เปิดเผยว่า บริษัทได้สัญญางานจาก AGC Vinythai ในโครงการขนส่งวัตถุดิบ chloralkali ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของสายการผลิตอุตสาหกรรมพลาสติกและเคมีภัณฑ์ มูลค่ากว่า 480 ล้านบาท ระยะสัญญาเวลา 3 ปี เพื่อรองรับแผนงานธุรกิจในปีนี้บริษัทฯ จึงวางเป้าเพิ่มรถบรรทุกอีก 20 คัน เพิ่มเติมจากเดิมที่มีรถบรรทุกขนาดใหญ่ให้บริการขนส่งทั้งสิ้นกว่า 400 คัน ในปัจจุบัน และเมื่อเร็วๆนี้ได้มีการรับมอบรถหัวลากยูดี เควสเตอร์ จำนวน 12 คัน เพื่อนำรถเข้าเสริมกำลังฟลีท ทั้งประเภทรถหัวลาก และรถบรรทุก โดยรถใหม่ทั้ง 12 คันนี้ได้เริ่มปฏิบัติงานขนเกลือบริสุทธิ์จากบ่อเกลือที่จังหวัดนครราชสีมา ไปยังนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นอกจากระบบขนส่งทางถนนแล้ว ในโครงการนี้ยังเสริมระบบขนส่งด้วยระบบราง คือขนส่งด้วยรถไฟจำนวนกว่า 400 ตู้ต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 ปี รวมมูลค่าโครงการทั้งสิ้น 480 ล้านบาท

“สาเหตุหลักที่เราใช้รถยูดี เควสเตอร์ สำหรับโครงการนี้เพราะสมรรถนะของรถ เป็นไปตามมาตรฐานสากลในราคาที่จับต้องได้ โดยเฉพาะเกียร์กึ่งอัตโนมัติ Escot ที่ทำให้การเปลี่ยนเกียร์เป็นไปอย่างนุ่มนวลและช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง และสามารถตอบโจทย์ในด้านความปลอดภัยซึ่งเป็นความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ

นายเมฆ กล่าวเพิ่มเติมว่าแผนการขยายงานในปีนี้ KIAT มีแผนจะสั่งซื้อรถบรรทุกเพิ่มเติมอีก 20 คันภายในปีนี้เพื่อทดแทนรถที่พ้นระยะการใช้งานของบริษัทฯ ซึ่งไม่รวมถึงงานที่อยู่ระหว่างการประมูลอีก 2 โครงการ หาก KIAT ชนะการประมูล จะต้องมีการสั่งซื้อรถบรรทุกเพิ่มอีก 20 คันต่อโครงการ

นอกจากนี้ ทางบริษัทฯยังมีการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการนำรถบรรทุก EV เข้ามาให้บริการลูกค้า ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาอย่างจริงจัง โดยเป็นผลจากนโยบายภาครัฐที่ต้องการส่งเสริมระบบขนส่งด้วยพลังงานสะอาด อีกทั้งกลุ่มลูกค้ามีความกระตือรือร้นในการใช้ระบบขนส่งด้วยพลังงานทางเลือกที่รักษาสิ่งแวดล้อมตามระเบียบใหม่ของโลกธุรกิจการค้าที่สามารถนำกิจกรรมเหล่านี้ไปคำนวณเป็น Carbon Credit ได้ ซึ่งรวมไปถึงระบบรางที่สามารถนำมาคำนวณเป็น Carbon Credit ได้ด้วยเช่นกัน

นายเมฆ กล่าวเพิ่มเติมถึงความสำเร็จของอีกหนึ่งหน่วยธุรกิจของ KIAT ได้แก่ กลุ่มธุรกิจการติดตั้ง Guardian System ระบบเทคโนโลยีป้องกันการหลับในและการละสายตาขณะขับขี่ ว่าขณะนี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยล่าสุด ได้รับคำสั่งซื้อจาก บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ จากเดิมที่ใช้ระบบนี้ในกองรถขนส่งของ โออาร์ จำนวน 300 คัน ไปเป็น 1,500 คัน ทั้งนี้เพราะธุรกิจขนส่งของ โออาร์ เน้นในเรื่องการลดความเสี่ยงของอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากพนักงานขับรถ โดยระบบนี้สามารถลดอัตราเสี่ยงอันเกิดจากความไม่พร้อมของพนักงานขับรถได้สูงมาก และด้วยการทำตลาดอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจนี้จะสามารถเติบโตและช่วยขับเคลื่อนเป้าหมายภาพรวมของ KIAT ได้อย่างแน่นอน

Advertisements
Advertisements
- Advertisement -spot_imgspot_img

Latest news

Advertising

spot_img

Related news

- Advertisement -spot_img