จีนไปข้างหน้า-ญี่ปุ่นตกรถไฟ เกาหลีสบช่องว่างส่งBEVลุยไทย

- Advertisement -
- Advertisement -

นิ่งมานานสำหรับเกีย คอป รถยนต์จากเกาหลีใต้นับตั้งแต่ การฟื้นขึ้นของตลาดรถยนต์ไทยหลังวิกฤติต้มยำกุ้งเกียรถเกาหลีไม่เคยมีบทบาทนำในตลาดรถเมืองไทยและถูกจัดว่าเป็นหนึ่งในรถยนต์ที่ไม่ค่อยมีอนาคตแม้ว่าคุณภาพของรถจัดว่าเทียบชั้นรถยุโรปได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามล่าสุดเกีย มีแผนเข้ามาทำการตลาดในไทยเองหลังบริษัทแม่ฮุนไดมอเตอร์ ได้ใช้โมเดลเดียวกันนี้ในตลาดไทย ก่อนที่เกียจะใช้โอกาส ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในไทย รายงาน นี้จะบอกให้ท่านผู้อ่านเข้าใจว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น

Advertisements

เปิดตัว เกีย เซลส์(ประเทศไทย) อย่างเป็นทางการ

กรุงเทพฯ (31 มกราคม 2567)–เกียคอร์ปอเรชัน ประกาศตั้งบริษัท เกีย เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมเผยทิศทางการดำเนินธุรกิจของเกีย เซลส์ (ประเทศไทย) ซึ่งหมายถึงการวางโครงสร้างธุรกิจใหม่ได้เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วยังผลทำให้ การบริหารจัดการของเกีย โดยค่ายยนตรกิจสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ หลังจากที่เจรจาปรับเปลี่ยนโครงสร้างนี้มาระยะหนึ่งแล้ว

นายจุน โอ อี ประธาน บริษัท เกีย เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทที่เข้ามาบริหารการตลาดรถยนต์ เกีย จากเกาหลี ระบุว่า “นับเป็นโอกาสอันดีสำหรับก้าวแรกของ
การดำเนินงานของ เกีย เซลส์(ประเทศไทย)ในการเข้าสู่ตลาดประเทศไทยอย่างเป็นทางการ แผนกลยุทธ์Kia Plan S ของเราที่ใช้ในการดำเนินงานทั่วโลก มีรากฐานอยู่บนเสาหลัก 3 ประการ คือ โลก (Planet) ผู้คน (People) และผลกำไร (Profit) เพื่อหล่อเลี้ยงความไว้วางใจและการมีส่วนร่วมระหว่างพนักงานของเรากับชุมชน เราจึงวางตำแหน่งของตนเองในฐานะ ‘Sustainable Mobility Solutions Provider’หรือ ‘แบรนด์ที่มุ่งตอบโจทย์การเดินทางอย่างยั่งยืน’ซึ่งถือเป็นปรัชญาประจำองค์กรของเราเพื่อก้าวสู่ความเป็นผู้นำอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต

ในส่วนของ เกีย เซลส์(ประเทศไทย)เราได้วางแผนการดำเนินงานขององค์กรไว้อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจของเราสำหรับปี 2567-2571 โดยให้ชื่อว่ากลยุทธ์ ‘Plan S-5’ ซึ่งประกอบด้วยเป้าหมายหลัก 4 ประการ ได้แก่ 1) ครองส่วนแบ่ง5% ของตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคล,2)เพิ่มการทำตลาดรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวให้มีสัดส่วนคิดเป็น50% ของยอดจำหน่ายทั้งหมด, 3)ก้าวขึ้นสู่ทำเนียบแบรนด์ที่มีการรับรู้สูงที่สุด5 อันดับแรก และ4) ขยายเครือข่ายผู้จำหน่ายทั่วประเทศให้เติบโตขึ้น5 เท่าตัว”

นายณัฏฐ์ชัย สุรวรรธนกุล รองประธานฝ่ายขาย เครือข่ายผู้จำหน่าย และบริการหลังการขาย เปิดเผยว่าในปี 2566 เกีย มีผู้จำหน่ายและศูนย์บริการที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ19แห่ง เกีย จะเร่งสร้างการเติบโตของยอดขายด้วยการขยายเครือข่ายผู้จำหน่ายอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ประเดิมด้วยผู้จำหน่ายใหม่ 10 รายที่จะเข้ามาร่วมงาน ในปี 2567 นอกจากนี้ เกียยังยกระดับกลยุทธ์ด้านบริการของเราอย่างเต็มรูปแบบเพื่อให้สอดคล้องกับความคาดหวังของผู้บริโภคชาวไทย โดยนโยบายใหม่ จะเพิ่มการรับประกันคุณภาพรถเป็นระยะเวลา 7 ปี สำหรับรถยนต์รุ่นใหม่ที่ทำตลาด ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2567 เป็นต้นไป การรับประกันตามมาตรฐานใหม่ของเกีย ควบคู่กับการรับประกันแบตเตอรี่8ปี และบริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน 7 ปี

นายฌ็อง–ดาวิด คริสติญอง อาเรลรองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์และการตลาดระบุว่า ฐานลูกค้าในปัจจุบันของเกีย เป็นรากฐานอันแข็งแกร่งในการสร้างการเติบโตให้กับแบรนด์ โดยเกีย จะขยายฐานลูกค้าไปสู่กลุ่มผู้บริโภคที่เป็นครอบครัวคนรุ่นใหม่ ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายใหม่ดังกล่าว เกียเป็นแบรนด์ระดับโลกที่ได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูง มิใช่เฉพาะในด้านคุณภาพและสมรรถนะของรถยนต์รุ่นต่างๆ ของเราเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการมอบคุณค่าที่เรายึดมั่นอีกด้วย ปรัชญาของแบรนด์ที่ว่า ‘Movement that inspires’ หรือ ‘การเดินทางที่สร้างแรงบันดาลใจ’สะท้อนถึงทัศนคติใหม่ของเราในการเชื่อมโยงกับชีวิตจิตใจของผู้บริโภคชาวไทย เราต้องการนำเสนอพลังที่แบรนด์ของเรามีอยู่ในระดับโลกรวมถึงมรดกในแบบเกาหลีของเราซึ่งเป็นที่ชื่นชมอย่างกว้างขวางในประเทศไทยสู่สายตาของผู้บริโภคชาวไทย”

Advertisements

“เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายดังกล่าว เราจึงออกแบบการสื่อสารของเราในประเทศไทยโดยวางตำแหน่งแบรนด์ให้มีภาพลักษณ์ของรถยนต์ ‘Premium Smart’ โดยที่คำว่า‘Premium’ สื่อถึงการมุ่งส่งมอบประสบการณ์ลูกค้าที่ดีเยี่ยมตั้งแต่ทัชพอยท์แรกทางอินเทอร์เน็ตไปจนถึงทุกๆ ช่องทางที่ลูกค้าจะได้สัมผัสกับแบรนด์ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องรวมถึงศูนย์บริการและผู้จำหน่าย มุ่งเน้นใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการดำเนินงาน(Digital Transformation)และใช้ข้อมูลเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการสร้างปฏิสัมพันธ์แบบเฉพาะบุคคลกับลูกค้า ส่วนคำว่า ‘Smart’สื่อถึงการที่ มุ่งหวังให้ลูกค้าชาวไทยได้รับประสบการณ์ใหม่ล่าสุดในการขับขี่โดยการนำเสนอรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบที่ประสบความสำเร็จรุ่นใหม่ล่าสุด พร้อมกับเพิ่มรถยนต์ในกลุ่มเอสยูวีและเอ็มพีวี และนำเอาโซลูชันด้านการเชื่อมต่อรูปแบบต่างๆ มาใช้ในอนาคตอันใกล้นี้”นายฌ็อง กล่าว

“กลยุทธ์ ‘Plan S-5’ ของเกีย วางเป้าหมายไว้อย่างชัดเจนที่จะขึ้นแท่นเป็นแบรนด์รถยนต์1 ใน 5 อันดับแรกในแง่ของการรับรู้แบรนด์ และเพิ่มสัดส่วนยอดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบให้เป็น 50% มีการการประกาศทำตลาด KiaEV9 า โดยKia EV9 จะเป็นรถยนต์เอสยูวีขนาดใหญ่รุ่นแรกในประเทศไทยที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบส ามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมและพบกับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 1มีนาคม 2567 (รอบสื่อมวลชน) และ 2 มีนาคม (รอบคนทั่วไป) สามารถลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อเข้าร่วมงานได้ที่https://bit.ly/ev9ourallelectriciconโดยงานจะจัดขึ้น ณ ห้องบอลรูม 1-2 ชั้น 1 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์

บทบาทยนตรกิจมิตรแท้25ปี

ก่อนเปลี่ยนมือรถยนต์เกียอยู่ในการบริหารจัดการของ บริษัท ยนตรกิจ เกีย มอเตอร์ (Yontrakit Kia Motors) -ในเครือบริษัท ยนตรกิจ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้นำเข้าและผู้จัดจำหน่าย Kia ที่ได้รับอนุญาตแต่เพียงผู้เดียวในราชอาณาจักรไทย

ยนตรกิจ เกีย มอเตอร์- ก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2542 โดยบริษัท เกียมอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศเกาหลี ได้แต่งตั้ง บริษัท ยนตรกิจเกียมอเตอร์ จำกัด เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายรถยนต์ Kia ในประเทศไทย และมีการเปิดแสดงรถยนต์ 3 รุ่น ได้แก่ รุ่น Enterprise, J7 Military, Carens และรถยนต์สำหรับจำหน่าย 3 รุ่น ได้แก่ Grand Sportage, Sportage และรุ่น Carnvial ในเดือนธันวาคม2542ใน งานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 16เมืองทองธานี การแต่งตั้งนี้ถือเป็นการตลาดครั้งที่2 ของเกีย หลังจากเกีย ได้รับการจัดจำหน่ายโดยพรีเมียร์ เกีย มอเตอร์ ก่อนหน้าแต่ มีการเว้นช่วงไป ไม่ต่อเนื่อง

– ปี 2543 เปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ ได้แก่ Kia Pregio รถตู้เอนกประสงค์ 12 ที่นั่ง

– ปี 2544 แนะนำรถเอนกประสงค์ขนาดกระทัดรัดสำหรับครอบครัวยุคใหม่ ในรุ่น KIA Carens เครื่องยนต์ดีเซล 2.0 ลิตร CRDi

– ปี 2545 เปิดตัวรถ SUV สายพันธุ์แท้ขนาดใหญ่ รุ่น KIA Sorento เครื่องยนต์ดีเซล 2.5L CRDi และเครื่องยนต์เบนซิน 3.0L V6

-เดือนกรกฎาคม ปี 2546 เปิดสายการผลิตรถยนต์ Kia Carnival My 2004 ในประเทศไทย ที่โรงงานประกอบรถยนต์ YMC (บริษัท วายเอ็มซี แอสเซ้มบลี จำกัด) ซึ่งเป็นโรงงานประกอบรถยนต์ KIA แห่งที่ 13 ในโลก

– ปี 2547 ได้เปิดตลาดรถกระบะครั้งแรกในประเทศไทย ในรุ่น KIA K2700 จัมโบ้ปิคอัพ

– ปี 2548 เผยโฉมโมเดล Kia K2700 รุ่นใหม่ล่าสุด 

– ปี 2549 เผยโฉม Kia Rio รถเก๋งสไตล์สปอร์ต และรถซิตี้คาร์ขนาดกระทัดรัด Kia Picanto พร้อมเปิดตัว KIA Grand Carnival อัครยานยนต์เอนกประสงค์ 11 ที่นั่ง

– ปี 2550 แนะนำรถยนต์ KIA K2900 จัมโบ้ปิคอัพ อัจฉริยะ ยูโร 4 รุ่นแรกในประเทศไทย

 -กุมภาพันธ์ ปี 2551 บริษัท ยนตรกิจเกียมอเตอร์ จำกัด แบ่งสายการดำเนินธุรกิจใหม่ โดยขึ้นตรงกับ บริษัท ยนตรกิจ คอร์ปอเรชั่น จำกัด โดยคุณสรวิศย์ ลีนุตพงษ์ พร้อมย้ายสถานที่ตั้งมาที่อาคารสุรวงศ์
– เดือนมีนาคม ปี 2551 เปิดตัว Kia Grand Carnival CEO?08 และ Kia Picanto นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย

-พฤศจิกายน ปี 2552 บริษัท ยนตรกิจ เกียมอเตอร์ จำกัด ได้มีย้ายสำนักงานมาอยู่ที่อาคาร YKI ร่มเกล้า
– ปี 2552 แนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ Kia New Picanto และรถยนต์เอนกประสงค์ 11 ที่นั่ง ในราคาประหยัด และคุ้มค่า รุ่น KIA Grand Touring

สำหรับยนตรกิจเกียมอเตอร์ ถือว่าเป็นบริษัทที่ทุ่มเททำการตลาดให้เกียมาตลอด25ปีต่อเนื่องไม่ว่าสถานะการเป็นอย่างไร ยนตรกิจ โดยการนำของสรวิศย์ ลีนุตพงษ์และบุตรสาว ธันยนันท์ ลีนุตพงษ์ ศิริมงคลเกษม กรรมการบริหาร บริษัท ยนตรกิจ เกีย มอเตอร์ จำกัด ไม่เคยละทิ้งแบรนด์เกียในขณะที่รถรุ่นที่ทำตลาดในไทยค่อนข้างได้รับแรงกดดันเพราะส่วนใหญ่เป็นรถนำเข้าเสียภาระภาษีนำเข้าสูง ทำให้ราคาแข่งขันในตลาดได้ลำบากนอกจากนี้ยังมีความหลากหลายของโมเดลรถให้เลือกน้อย จนทำให้การขยายตลาดในวงกว้างเป็นไปได้ยาก และเป็นเหตุผลทำให้ยนตรกิจเกียมอเตอร์ เลือกใช้กลยุทธ์การทำการตลาดเฉพาะกลุ่ม

โดยมีผลิตภัณฑ์ที่ทำตลาดหลักในปัจจุบันได้แก่เกีย คาร์นิวัล ใหม่ ซึ่งเป็นรถที่มีคู่แข่งน้อยรายสำหรับรุ่นที่จำหน่ายในประเทศไทยจะมีทั้งหมด 3 รุ่นย่อย คือ

–          เกีย คาร์นิวัล ใหม่ รุ่นลิมิเต็ด (Kia Carnival Limited) ราคา 2,045,000 บาท – รุ่นย่อยพิเศษ มีจำนวนจำกัด

–          เกีย คาร์นิวัล ใหม่ รุ่นอีเอ๊กซ์ (Kia Carnival EX) ราคา 2,144,000 บาท – มาพร้อมระบบที่ชาร์จโทรศัพท์มือถือแบบไร้สาย Wireless Charger และระบบปัดน้ำฝนอัตโนมัติ Rain Sensor

–          เกีย คาร์นิวัล ใหม่ รุ่นเอสเอ๊กซ์แอล (Kia Carnival SXL) ราคา 2,495,000 บาท – มาพร้อมหน้าจอ Panoramic Dashboard Display หรือ หน้าจอเรือนไมล์ Digital Cluster ขนาด 12.3 นิ้ว ระบบแสดงภาพมุมอับสายตาบนหน้าจอ Blind-Spot View Monitor (BVM) และระบบปัดน้ำฝนอัตโนมัติ Rain Sensor

โครงสร้างใหม่ลุยตลาด ผลิตเองขายเอง

ความเคลื่อนไหวล่าสุดที่เกีย มอเตอร์ คือการเดินหน้า ปรับโครงสร้างตลาดไทยประกาศตั้ง เกีย เซลส์ (ประเทศไทย) อย่างเป็นทางการดูแลการดำเนินงานในไทยครอบคลุมด้านการขาย ตลาด บริการหลังการขาย และเครือข่ายผู้จำหน่าย รถยนต์ “เกีย” ในประเทศไทยอย่าง พร้อมแถลงข่าว เปิดตัวผู้บริหารใหม่ 31 มกราคม2567 #kia #ยนตรกิจ #Kia Thailand

รีวิว โครงตั้งโรงงานผสานฮุนได
Kia Corp ผู้ผลิตรถยนต์ของ #เกาหลีใต้วางแผนที่จะสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ใน#ประเทศไทยด้วยกำลังการผลิต 250,000 คันต่อปี ตามรายงานของแหล่งข่าวท้องถิ่น นี่จะถือเป็นโรงงานแห่งแรกของบริษัทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นแห่งที่ 6 นอกเกาหลีใต้ โรงงานที่มีอยู่เดิมตั้งอยู่ในจีน อินเดีย เม็กซิโก สโลวาเกีย และสหรัฐอเมริกา โรงงานล่าสุดที่ก่อตั้งขึ้นนอกเกาหลีใต้อยู่ที่อินเดียซึ่งแล้วเสร็จในปี 2562 การก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ในประเทศไทยมีกำหนดจะเริ่มในครึ่งแรกของปี 2567 โดย Kia EV6 คาดว่าจะเป็นหนึ่งในรถยนต์ที่ผลิตที่นี้ สิ่งอำนวยความสะดวกตามที่รายงานข่าว

ที่จริงเกียมีโรงงานในไทยโดยยนตรกิจ และเคยมีการศึกษาการลงทุนแต่ทำเพียงแค่ศึกษา ณ.เวลานี้ ทำไมเกียถึงรีวิวแผนตั้งโรงงานในไทยอีก? แหล่งข่าวระบุว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในฐานการผลิตรถยนต์ชั้นนำของบริษัทระดับโลกในภูมิภาคอาเซียน กำลังการผลิตของบริษัทระดับโลกในประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 4 ล้านหน่วยต่อปี ในปี 2022 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 10 ในด้านการผลิตรถยนต์และอันดับที่ 4 ในด้านการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ทั่วโลก ประเทศไทยเป็นยุทธศาสตร์ในการดึงดูดอุตสาหกรรมยานยนต์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 โดยเฉพาะมีการผลิตรถกระบะเป็นจำนวนมาก

ขนาดตลาดรถยนต์ของไทยยังเป็นอันดับ2รองจากอินโดนีเซียในกลุ่มประเทศอาเซียนที่สำคัญๆ จากข้อมูลของสมาพันธ์รถยนต์อาเซียน ณ ครึ่งแรกของปีนี้ ขนาดของตลาดรถยนต์ของไทยอยู่ที่ 406,131 คัน อินโดนีเซีย ครองอันดับหนึ่ง มี 505,985 หน่วย มาเลเซีย (366,037 ยูนิต) ฟิลิปปินส์ (202,415 ยูนิต) และเวียดนาม (137,327 ยูนิต) ตามหลังไทย

ล่าสุดมีการเปลี่ยนแปลงในตลาดไทยซึ่งถูกครอบงำโดยบริษัทญี่ปุ่น รัฐบาลไทยประกาศว่า 30% ของรถยนต์ที่ผลิตในประเทศจะถูกแทนที่ด้วยรถยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2573 รัฐบาลไทยได้ตัดสินใจให้เงินอุดหนุนสูงถึง 150,000 บาท (ประมาณ 5.6 ล้านวอน) ต่อรถยนต์ไฟฟ้าหนึ่งคัน ให้กับบริษัทที่เสนอแผนการผลิตในท้องถิ่น และยังลดภาษีนำเข้าลง 40%

เสียบช่องญี่ปุ่นช้า

จากข้อมูลของกรมการขนส่ง (DLT) ระบุว่า จำนวนรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ที่จดทะเบียนใหม่ในประเทศไทยในปีที่แล้วสูงถึง 9,580 คัน เพิ่มขึ้น 395% จากปีก่อนหน้า ในไตรมาสแรกของปีนี้ จำนวนยูนิตที่จดทะเบียนอยู่ที่ 14,535 ยูนิต ซึ่งมากกว่าปีที่แล้วไปแล้ว ถือเป็นข้อพิสูจน์ว่าผู้บริโภคชาวไทยมีความสนใจรถยนต์ไฟฟ้าเป็นอย่างมาก แผนของรัฐบาลไทยที่จะให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในอาเซียนกำลังค่อยๆเป็นรูปเป็นร่าง

และหากดูสภาพตลาดของไทย จะพบว่าได้ เกิดช่องว่างระหว่าง ความต้องการรถยนต์ไฟฟ้ากับรถน้ำมัน เนื่องจากบริษัทญี่ปุ่นไม่สามารถตามนโยบายส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าของรัฐบาลไทยได้ บริษัทญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับเครื่องยนต์สันดาปภายในและเครื่องยนต์ไฮบริดมากกว่ารถยนต์ไฟฟ้า ทำให้อัตราการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าของไทยค่อนข้างช้า บริษัทจีนกำลังใช้ประโยชน์จากช่องว่างดังกล่าว

ในความเป็นจริง บริษัทจีนเข้าครอบครองตลาดรถยนต์ไฟฟ้าไทยมากกว่า 80% ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ BYD, Hozon, Chang’an Automobile และ Shanghai Automobile (SAIC) ทำยอดขายได้จำนวนมาก และบริษัทรถยนต์จีนเหล่านี้ ยังประกาศแผนการจัดตั้งโรงงานในประเทศไทยอีกด้วย

ฮุนไดบริษัทแม่เคลื่อนทัพหนุน

ฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ป บริษัทแม่ของเกีย ได้ตัดสินใจทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในไทยด้วยตัวเอง จากเดิมที่ใช้ตัวแทนเพื่อ มุ่งเป้าตลาดอาเซียน  เนื่องจากฮุนได มอเตอร์ส เข้าสู่อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศรถยนต์อันดับ 1 ในอาเซียนแล้ว จึงมีการวิเคราะห์ว่า เกีย ควรได้รับเลือกให้ทำการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทยซึ่งกำลังเติบโตใหม่ เชื่อกันว่ารถยนต์ไฟฟ้า EV6 ของ เกีย และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จะมีโอกาสชนะเนื่องจากคุณภาพและความสามารถในการแข่งขันได้รับการยอมรับในตลาดโลกแล้ว

เป็นที่น่าสังเกตว่า พฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยมีความชื่นชอบแบรนด์ฮุนไดและเกียสูง คำอธิบายก็คือแบรนด์ Hyundai และ Kia ให้ภาพลักษณ์ของความสดใหม่ เนื่องจาก ผู้คนเบื่อหน่ายกับการสัมผัสกับแบรนด์ญี่ปุ่นมานานหลายทศวรรษ ตอนนี้ Kia กำลังสร้างฐานการผลิตในประเทศไทยตามอินโดนีเซีย มาดูกันว่า “เกีย”จะใช้ประเทศไทยเป็นก้าวสำคัญในการสร้างกระแสยานยนต์ไฟฟ้าในตลาดเอเชียได้หรือไม่ 

วีดีโอ เรื่องของรถเกาหลีที่เราแนะนำ

Advertisements
- Advertisement -

Related news

- Advertisement -
Exit mobile version