Advertisements

    เมื่อนายใหญ่โตโยต้าลาออก โลกจะเข้ายุคEVsเร็วขึ้น

    เมื่อประธานโตโยต้า สร้างการเปลี่ยนแปลงแล้วสิ่งนี้หมายความว่าออ่างไรต่ออนาคต

    Advertisements

    อากิโอะ โทโยดะ เพิ่งมาเมืองไทยได้ไม่นานและไทยน่าจะเป็นประเทศสุดท้ายที่เขาได้เดินทางในฐานะประธานของบริษัทยักษ์ใหญ่อันดับหนึ่งของโลก โทโยดะ ผู้ซึ่งบอกว่า ไทยแลนด์คือบ้านที่สองเขาทำเซอร์ไพรซ์ ที่ถือเป็นเรื่องใหญ่เกิดขึ้นเนื่องจากบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ได้ประกาศว่า ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อากิโอะ โทโยดะ จะก้าวลงจากตำแหน่ง CEO พร้อมการลาออกของทาเคชิ ยูชิยามาดะ หรือ เจ้าพ่อพรีอุส จะสละตำแหน่งประธานกรรมการโตโยต้าให้แก่ นายโทโยดะ ในวันที่ 1 เมษายน2566
    ที่ต้องจับตามองการเปลี่ยน ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO)ทั้งนี้เพราะ โตโยต้าเป็นเบอร์หนึ่งของโลกภายใต้การนำของนายโทโยดะนั้นเขาแสดงท่าทีชัดเจน เกี่ยวกับการเปลี่ยนถ่ายไปใช้ EVS ของอุตสาหกรรม เขาเป็นหนึ่งคนเดียวที่เหลืออยู่ในอุตสาหกรรม ที่แสดงท่าทีสงสัยต่อสาธารณชนเรื่องรถยนต์ไฟฟ้า โตโยดะ กำลังจะถูกแทนที่ด้วยนายโคจิ ซาโตะ ประธานของ Lexus และหัวหน้าฝ่ายการสร้างแบรนด์ ซึ่งเขาได้คำสั่งอย่างไม่เป็นทางการจากปากของโตโยดะให้มาทำงานแทนเขา ในคร่าวที่ทั้งคู๋มาแข่งรถที่สนามช้างฯบุรีรัมย์เมื่อปลายเดือนม.ค.66
    ก่อนที่ จะเข้าใจ การเปลี่ยนแปลงที่เพิ่งเกิดขึ้นครั้งนี้ ลองมาดูความผิดพลาดทั้งหมดที่ CEO ของ โตโยต้าได้ทำขึ้นเสียก่อน

    โทโยดะ หลานชายของ คิอิจิโร โทโยดะผู้ก่อตั้งโตโยต้า พ.ศ. 2480

    สิ่งสำคัญคือเราต้องรู้เรื่องราวเบื้องหลังของนายโทโยดะเสียก่อน โทโยดะ เป็นหลานชายของ คิอิจิโร โทโยดะ ผู้ก่อตั้งโตโยต้า ใน พ.ศ. 2480 หรือ 85 ปีที่แล้ว เขาเกิดและ เติบโตในครอบครัวที่ทุ่มเทให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ และได้รับการเลี้ยงดูให้เข้าถึงระบบ Kaizen ที่เป็นคุณค่าหลักของบริษัท Kaizen หมายถึงการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และ ระบบโมโนซูคูริ หรือ ศิลปะของการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

    Advertisements

    หลังจากจบการศึกษาด้านกฎหมาย จากมหาวิทยาลัยเคโอะ ในโตเกียว โทโยดะได้เข้าเป็นพนักงานของโตโยต้าและไต่เต้า ขึ้นตามลำดับ ในที่สุดโทโยดะก็ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานบริษัทในปี 2552 นับถึงตอนนี้ เขาดำรงตำแหน่ง ซีอีโอเป็นเวลา 14 ปี พอดี
    นับจากรับตำแหน่งซีอีโอของโตโยต้า ในฐานะที่ เป็นผู้ที่นำ เขาได้รับเครดิตอย่างมาก จากการนำโตโยต้าก้าวไปสู่อีกระดับของความสำเร็จ เช่นการตัดสินใจลงทุนในการวิจัยและพัฒนา นำไปสู่การแนะนำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ โครงการกระบะ1 ตัน IMV ที่มีฐานการผลิตในไทยส่งผลต่อส่วนแบ่งของโตโยต้าทั่วโลกก็เกิดขึ้นในยุคสมัยของเขา
    โทโยดะ ยังได้รับการยกย่องในความพยายามบริหารจัดการโตโยต้าอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การปรับปรุงความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ในปี 2553 เขากลายเป็นประธานโตโยต้าคนแรก ที่บริจาคเงินเดือนทั้งหมดให้กับองค์กรการกุศล

    “รถยนต์ไฟฟ้าไม่ใช่ทางออกเดียว

    ที่จะไปสู่จุดหมายนั้น”

    สไตล์ การบริหารของโตโยดะ มีแนวทางในการส่งเสริมวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันเขารับฟังความเห็นของพนักงาน เป็นวัฒนธรรมการทำงานที่เปิดกว้าง เปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วม แม้เขาจะมีการจัดการ ที่ยอดเยี่ยม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เขาไม่มีปัญหา สำหรับยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลง ผู้ผลิตถูกกำหนดให้ เข้าถึงความเป็นกลางทางคาร์บอน แต่โตโยต้าไม่เต็มใจที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า เขาวางกลยุทธ์โดยใช้แนวคิดที่ว่า “รถยนต์ไฟฟ้าไม่ใช่ทางออกเดียว ที่จะไปสู่จุดหมายนั้น” เขากล่าวว่าบริษัทจะมุ่งเน้นไปที่รถยนต์ไฮบริดและปลั๊กอินแทนและย้ำว่า การนำไฟฟ้ามาใช้กับรถยนต์ทั้งหมด ต้องใช้เวลานานกว่าจะกลายเป็นกระแสหลัก เขาเคยพูดไว้ว่า “เป็นการยากที่จะปฏิบัติตามกฎหมายของแคลิฟอร์เนียและนิวยอร์ก ซึ่งประกาศห้ามรถยนต์ที่ใช้น้ำมันภายในปี 2578 “ซึ่งหากดูปัจจัยในขณะนั้นก็มีเหตุผล แต่ผู้ชื่นชอบโตโยต้าจำนวนมาก และกลุ่มสิ่งแวดล้อมบางกลุ่มก็ไม่เห็นด้วยกับโทโยดะเช่นกัน

    โทโยดะได้รับคำวิจารณ์หลังจากบริษัทเปิดตัวโตโยต้า bz4x รถยนต์ไฟฟ้าคันแรก โทโยดะ เป็นที่รู้จักในด้านการสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ การผลักดันขีดจำกัดของสิ่งที่เป็นไปได้ แต่ไม่ต้องสงสัยเลยว่า bz4x รถคันนี้ ยังไม่ใช่สิ่งนั้นและ หลายคนเรียกว่าความพยายามครึ่งๆ กลางๆ ในการสร้างรถยนต์ไฟฟ้าของโตโยต้า

    Advertisements

    bz4x หลายคนเรียกว่าความพยายามครึ่งๆ กลางๆ

    ในการสร้างรถยนต์ไฟฟ้าของโตโยต้า

    ยิ่งเมื่อเทียบกับรถยนต์ไฟฟ้า ยี่ห้อ อื่น ๆ อย่างเช่น เทสล่า โฟล์คสวาเก้น id4 ฮุนได ioniq 5 ออดี้ อี-ทรอน รถยนต์ไฟฟ้าแบบ SUV คันแรกของโตโยต้า เรียบง่ายไม่น่าประทับใจ ขณะที่ก่อนเปิดตัวรถ ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นรายนี้ ประกาศว่า รถจะสามารถวิ่งได้ 480 กิโลเมตรต่อการชาร์จเต็ม อย่างไรก็ตามเมื่อเข้าสู่ตลาด สำหรับรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อ กลับมีระยะทางประมาณเพียง 411 กิโลเมตร
    เมื่อเปรียบเทียบกับครอสโอเวอร์อื่น ๆ สมรรถนะมันอยู่ตรงกลางตารางของกลุ่มรถแบบเดียวกัน สัญญาณที่ แย่ลงไปกว่านั้นคือ หลังการเปิดตัวรถได้2 เดือน Toyota ต้องเรียกคืนรถ bz4x รุ่นปี 2023 ทั่วโลก เป็นความจริงที่ว่าเทสลานำหน้าพวกเขาไปมาก และพวกเขาต้องตามให้ทัน

    การต่อสู้ระหว่างเทสลาและโตโยต้าเริ่มขึ้นในช่วงต้นยุค 2000 เมื่อเทสลาเริ่มสร้าง กระแสรถยนต์ไฟฟ้าในตลาดจากนั้นเทสลาเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบคันแรกในชื่อเทสลา โรดสเตอร์ในปี 2551 Tesla Roadster เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญสำหรับทั้งสองบริษัท โตโยต้าเห็นว่าเทสล่าเป็นภัยคุกคามต่อการครองตลาดจึงตอบโต้โดยเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า รุ่น Prius และประสบความสำเร็จ ช่วยให้โตโยต้า ครองความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในเวลานั้น
    อย่างไรก็ตาม เทสลาไม่ได้ถูกตีโต้มากนักจึงยังคงผลักดันรถยนต์ไฟฟ้าของตัวเองต่อไปและในปี 2555 เทสลาเปิดตัวรุ่น S ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกรถที่มีระยะทางมากกว่า 480 กิโลเมตร ระยะการวิ่งไกลขนาดนั้น ไม่เคยได้ยินมาก่อน และทำให้รุ่น S ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วอย่างทุกวันนี้ Tesla ได้นำหน้า Toyota และผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นในตลาด EV

    “วันนี้ Tesla ได้นำหน้า Toyota

    และผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นในตลาด EVไปมาก”

    โทโยดะ ชี้แจงว่าการตัดสินใจของ ยูชิยามาดะ ในการลาออกจากตำแหน่งเป็นปัจจัยหลักที่อยู่เบื้องหลังการตัดสินใจของเขาในการส่งมอบภาระกิจ ให้กับคนรุ่นต่อไป เขาเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลง คือวิธีที่ดีที่สุดในการพัฒนาโตโยต้า

    โทโยดะ กล่าวเพิ่มว่า เขาไม่ได้เป็นผู้นำที่ดีที่สุดของโตโยต้าเพราะเขาเก่าเกินไปเป็นคนหัวโบราณ และไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น การขับขี่อัตโนมัติด้วยพลังงานไฟฟ้าและระบบการเชื่อมต่อของยานพาหนะ โตโยต้ากำลังพยายามเปลี่ยนตัวเองจากผู้ผลิตรถยนต์เป็นบริษัทให้บริการ ด้านการเคลื่อนที่ของสังคมรถยนต์สมัยใหม่
    “เพราะความหลงใหลในรถยนต์อย่างแรงกล้า ฉันจึงเป็นคนหัวโบราณ” นายโทโยดะกล่าว

    อากิโกะ โทโยดะ (ซ้าย) ,โคจิซาโตะ(กลาง), ทาเคชิ ยูชิยามาดะ(ขวา)

    เขายังกล่าวอีกว่าภารกิจของทีมใหม่คือการเปลี่ยนแปลงโตโยต้า ไปสู่บริษัทบริการด้านการขับเคลื่อนสังคมยานยนต์ เขาเชื่อว่าทีมผู้บริหารชุดใหม่จะสามารถทำในสิ่งที่เขา ไม่สามารถทำได้ นายโทโยดะ ระบุว่า นายซาโตะ(Sato) เป็นผู้สมัครตำแหน่ง CEO ในอุดมคติ เขากระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญาและเทคโนโลยีของโตโยต้า อีกประการหนึ่งที่เขาเน้นคือซาโตะยังคงเป็นคนหนุ่ม ซึ่งจะดำเนินการตามแผนการลงทุนของโตโยต้าในแบบดั้งเดิมและแบบสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องยนต์สันดาป เทคโนโลยีไฮบริด ยานพาหนะไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ และ
    รถยนต์พลังงานไฮโดรเจน sato จะนำคอนเซ็ปหลายอย่างที่เคยแสดงในปี 2021 ไปสู่การผลิตได้ด้วยเงินทุนใหม่ที่กำลังพิจารณาและประกาศอยู่ที่ 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์

    หากพิจารณาอย่างรอบคอบการเปลี่ยนแปลงให้ดีที่สุด แนวทางของโตโยต้า แตกต่างจากบรรดาผู้เป็นเจ้าของบริษัทญี่ปุ่นอื่นๆ
    นากาโมริ อากิโอะ โทโยดะ ผู้ก่อตั้ง ไม่เคยคิดถึงตัวเองมาเป็นอันดับแรกเขา ให้ความสำคัญเสมอกับความต้องการของบริษัทเสมอ ทั้งๆที่นายโทโยดะยังหนุ่มเพราะเขาอายุ 58 ปียังสามารถ นำพา บริษัทไปได้ตามมาตรฐานญี่ปุ่น แต่เขาเลือกจะลงจากตำแหน่งและแบ่งภาระให้กับเจ้านายคนอื่น เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าในระยะเวลา 5-10 ปีถัดไปบริษัทจะประสบกับ อุปสรรคและความท้าทายใหญ่ๆอะไรบ้าง

    เป็นไปได้ว่า นายโทโยดะเชื่อว่าถึงเวลาแล้วสำหรับการเปลี่ยนแปลงหลังจากผ่านไป 13 ปีและผู้นำคนใหม่ จะสามารถอัดฉีดพลังและความคิดใหม่ๆ เข้าไปสู่โตโยต้าได้ และเชื่อว่า การลงจากตำแหน่ง จะทำให้เขามีเวลา กลับมากินปูผัดผงกระหรี่เมนูโปรดของเขาที่ประเทศไทยได้บ่อยขึ้น

    Advertisements
    Exit mobile version