ยอดขายรถไทยรับอานิจสงส์บางกอก มอเตอร์โชว์ ยอดขายเม.ยพุ่ง9.1%

- Advertisement -
- Advertisement -

ปัจจัยบวกทางเศรษฐกิจ คนไทยเลิกกลัวโควิด-19 ส่งผลดีต่อตลาดรถยนต์เมษายน ทำยอดขายรวม 63,427 คัน เพิ่มขึ้น 9.1% ด้านยอดขายรวม4เดือนปี65(ม.ค.-เมย.) ทิศทางยังโต 16.8%

Advertisements

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนเมษายน 2565 มีตัวเลขการขายรวมทั้งสิ้น 63,427 คัน เพิ่มขึ้น 9.1% ประกอบด้วย
รถยนต์นั่ง 20,492 คัน เพิ่มขึ้น 20.6%
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 42,935คัน เพิ่มขึ้น 4.4%
รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 33,629 คัน เพิ่มขึ้น 3.1%

ยอดขายเม.ย.รับผลบางกอก มอเตอร์โชว์

สำหรับตลาดรถยนต์เดือนเมษายน 2565 มีปริมาณการขาย 63,427 คัน เพิ่มขึ้น 9.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 20.6% ส่วนตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเจริญเติบโตเช่นเดียวกันที่ 4.4% เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ในประเทศไทยเริ่มคลี่คลาย ทำให้ผู้บริโภคกลับมาใช้ชีวิตในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้เกือบเป็นปกติ โดยมีปัจจัยบวกที่สำคัญในช่วงได้แก่ ยอดจองรถในงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 34 ที่มากถึง 31,896 คัน ไม่นับยอดจองรถที่โชว์รูมผู้แทนจำหน่ายทุกยี่ห้อทั่วประเทศ ที่ต่างนำเสนอแคมเปญ “ข้อเสนอเดียวกับมอเตอร์โชว์” อีกเป็นจำนวนมากซึ่งทุกค่ายรถยนต์ต่างเร่งทำการผลิตอย่างเต็มที่ เพื่อส่งมอบรถใหม่ถึงมือลูกค้าได้ทันตามความต้องการ

ทิศทางตลาดรถเดือนพ.ค.65

รายงานระบุถึงแนวโน้มตลาดรถยนต์ในเดือนพฤษภาคม2565 คาดว่ามีการเจริญเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะเข้าสู่ช่วงฤดูฝนที่ไม่ใช่ฤดูการขาย (Low season) แต่ยังได้รับแรงส่งจากตัวเลขการส่งมอบรถที่รับจองในช่วงงานบางกอก มอเตอร์โชว์ 2022 (เม.ย.2565) ส่วนปัจจัยบวกที่สำคัญอย่างยิ่งในช่วงเวลาดังกล่าว คือ การที่ผู้บริโภคเริ่มคลายความกังวลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ที่กำลังจะได้รับการประกาศให้เป็น “โรคประจำถิ่น” สังเกตุได้จากสภาพการจราจรที่กลับมาคึกคักอีกครั้งจากการผ่อนคลายมาตรการ “Work From Home” เพื่อให้พนักงานกลับเข้าทำงานตามปกติ โรงเรียนเริ่มเปิดให้นักเรียนกลับเข้าห้องเรียน รวมทั้งการออกจากบ้านมาทำงานของประชาชนทุกสาขาอาชีพ ล้วนผลักดันเศรษฐกิจโดยรวมให้ฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ และส่งผลต่อความต้องการใช้รถยนต์ของผู้บริโภคให้เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน


ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนเม.ย. 2565

  1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 63,427 คัน เพิ่มขึ้น 9.1%
    อันดับที่ 1 โตโยต้า 21,681 คัน เพิ่มขึ้น 13.2% ส่วนแบ่งตลาด 34.2%
    อันดับที่ 2 อีซูซุ 16,595 คัน เพิ่มขึ้น 11.0% ส่วนแบ่งตลาด 26.2%
    อันดับที่ 3 ฮอนด้า 5,107 คัน ลดลง 5.8% ส่วนแบ่งตลาด 8.1%
  2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 20,492 คัน เพิ่มขึ้น 20.6%
    อันดับที่ 1 โตโยต้า 6,901 คัน เพิ่มขึ้น 39.2% ส่วนแบ่งตลาด 37.8%
    อันดับที่ 2 ฮอนด้า 3,969 คัน ลดลง 10.5% ส่วนแบ่งตลาด 21.7%
    อันดับที่ 3 ซูซูกิ 2,045 คัน เพิ่มขึ้น 18.0% ส่วนแบ่งตลาด 11.2%
  3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 42,935 คัน เพิ่มขึ้น 4.4%
    อันดับที่ 1 อีซูซุ 16,595 คัน เพิ่มขึ้น 11.0% ส่วนแบ่งตลาด 38.7%
    อันดับที่ 2 โตโยต้า 14,780 คัน เพิ่มขึ้น 4.1% ส่วนแบ่งตลาด 34.4%
    อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,529 คัน ลดลง 8.9% ส่วนแบ่งตลาด 5.9%
  4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*)
    ปริมาณการขาย 33,629 คัน เพิ่มขึ้น 3.1%
    อันดับที่ 1 อีซูซุ 15,451 คัน เพิ่มขึ้น 13.2% ส่วนแบ่งตลาด 45.9%
    อันดับที่ 2 โตโยต้า 12,605 คัน เพิ่มขึ้น 1.4% ส่วนแบ่งตลาด 37.5%
    อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,529 คัน ลดลง 8.9% ส่วนแบ่งตลาด 7.5%
    *ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 4,559 คัน
    โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ 2,199 คัน
    อีซูซุมิวX 1,302 คัน
    มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต 641 คัน
    ฟอร์ด เอเวอร์เรสต์ 318 คัน
    นิสสัน เทอร่า 99 คัน
  5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 29,070 คัน เพิ่มขึ้น 5.9%
    อันดับที่ 1 อีซูซุ 14,149 คัน เพิ่มขึ้น 20.7% ส่วนแบ่งตลาด 48.7%
    อันดับที่ 2 โตโยต้า 10,406 คัน ลดลง 0.1% ส่วนแบ่งตลาด 35.8%
    อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,211 คัน ลดลง 2.6% ส่วนแบ่งตลาด 7.6%


    สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – เมษายน 256
    ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 294,616 คัน เพิ่มขึ้น 16.8%
    อันดับที่ 1 โตโยต้า 98,825 คัน เพิ่มขึ้น 31.6% ส่วนแบ่งตลาด 33.5%
    อันดับที่ 2 อีซูซุ 74,015 คัน เพิ่มขึ้น 15.3% ส่วนแบ่งตลาด 25.1%
    อันดับที่ 3 ฮอนด้า 30,731 คัน เพิ่มขึ้น 1.2% ส่วนแบ่งตลาด 10.4%

  6. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 96,218 คัน เพิ่มขึ้น 17%
    อันดับที่ 1 โตโยต้า 27,237 คัน เพิ่มขึ้น 39.9% ส่วนแบ่งตลาด 29.0%
    อันดับที่ 2 ฮอนด้า 23,865 คัน ลดลง 7.4% ส่วนแบ่งตลาด 25.4%
    อันดับที่ 3 มาสด้า 8,377 คัน เพิ่มขึ้น 11.0% ส่วนแบ่งตลาด 8.9%
  7. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 198,398 คัน เพิ่มขึ้น 16.7%
    อันดับที่ 1 อีซูซุ 74,015 คัน เพิ่มขึ้น 15.3% ส่วนแบ่งตลาด 37.3%
    อันดับที่ 2 โตโยต้า 71,588 คัน เพิ่มขึ้น 28.7% ส่วนแบ่งตลาด 36.1%
    อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 10,908 คัน เพิ่มขึ้น 9.7% ส่วนแบ่งตลาด 5.5%
  8. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*)
    ปริมาณการขาย 156,401 คัน เพิ่มขึ้น 18.5%
    อันดับที่ 1 อีซูซุ 68,607 คัน เพิ่มขึ้น 16.2% ส่วนแบ่งตลาด 43.9%
    อันดับที่ 2 โตโยต้า 62,694 คัน เพิ่มขึ้น 33.0% ส่วนแบ่งตลาด 40.1%
    อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 10,843 คัน เพิ่มขึ้น 12.3% ส่วนแบ่งตลาด 6.9%
    *ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 20,815 คัน
    โตโยต้า 9,964 คัน – อีซูซุ 6,234 คัน – มิตซูบิชิ 2,781 คัน – ฟอร์ด 1,415 คัน – นิสสัน 421 คัน
  9. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 135,586 คัน เพิ่มขึ้น 21.2%
    อันดับที่ 1 อีซูซุ 62,373 คัน เพิ่มขึ้น 20.1% ส่วนแบ่งตลาด 46.0%
    อันดับที่ 2 โตโยต้า 52,730 คัน เพิ่มขึ้น 36.5% ส่วนแบ่งตลาด 38.9%
    อันดับที่ 3 ฟอร์ด 8,464 คัน ลดลง 7.2% ส่วนแบ่งตลาด 6.2%
Advertisements
- Advertisement -

Latest news

Advertising

Related news

- Advertisement -
Exit mobile version