ประวัติศาสตร์ต้องจารึกไว้เมื่อรถยนต์ไฟฟ้าจากจีน บีวายดี BYD ทำสถิติยอดขาย ขึ้นแซงเจ้าตลาดอย่างโตโยต้าและฮอนด้า ในเมืองไทย เผยรถจีนส่งสัญญาณเตือนไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะหยุดยั้งพลังรถยนต์ไฟฟ้า ที่กระแสกำลังได้รับความนิยม
ทั้งนี้ ญี่ปุ่นจำเป็นต้องแข่งขันกับการที่รถจีนมีราคาถูกกว่ารถยนต์เครื่องสันดาปภายใน เพราะนโยบายการลดภาษีและให้เงินช่วยเหลือผู้ซื้อ เพื่อส่งเสริมฐานการผลิต
รายงานยอดการจำหน่ายรถยนต์ประจำเดือน มกราคม2567 ซึ่งเปิดเผยโดยโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัดแสดงให้เห็นถึงส่วนแบ่งการตลาดรถยนต์ในเดือนมกราคม บีวายดี มียอดขาย6214 คัน ครองส่วนแบ่งตลาด 26.5% เป็นตำดับ1 โตโยต้า ครองอันดับ 2 ด้วย ยอดขาย 5145 คัน ครองส่วนแบ่งตลาด 22% ส่วนฮอนด้า มียอดขาย4608 ครองส่วนแบ่งตลาด19.7% ครองอันดับที่ 3 ของตลาดรถยนต์นั่ง ส่วนค่ายที่ครองอันดับ4 ได้แก่ มิตซูบิชิ 5.2% เอ็มจี ครองอันดับ 5 ครองส่วนแบ่งตลาด5%
การยอมรับรถยนต์แบรนด์ใหม่ อย่างบีวายดีและรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% ของตลาดไทยส่งสัญญาณเตือนผู้ผลิตดั้งเดิมมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อ มีรายงานว่า ในงานมหกรรมยานยนต์ครั้งที่ผ่านมา (ธ.ค.2566) บีวายดีสามารถทำยอดจองรถยนต์ใหม่ในงานได้สูงสุดเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
แม้ว่าการก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำตลาดรถเก๋งของ BYD ครั้งนี้ยังถือว่าเป็นผลการดำเนินงานระยะสั้น เพียงเดือนแรกของปี แต่ก็ได้ส่งสัญญาณ สำคัญถึงความคืบหน้าของการรุกคืบของรถยนต์สัญชาติจีนโดยเฉพาะ บีวายดีมีเพียงรถยนต์ไฟฟ้า ล้วนๆ จำนวนโมเดลเพียง 3 รุ่นเท่านั้นที่เข้ามาทำตลาดในระยะเวลาที่เริ่มทำตลาดไทยเพียง 1ปีเศษ
อย่างก็ตามหากย้อนกลับไปดูปริมาณการขายปี2566 ของตลาดรถเก๋งพบว่า โตโยต้า ยังคงเป็นผู้นำอันดับ1 ในตลาดรถยนต์นั่งโดยมียอดจดทะเบียน(รย.1)รวม 197,581 คัน ตามด้วยฮอนด้า จำนวน 91,497 คัน ส่วนบีวายดีมียอดจะทะเบียน 30,467 คัน
สำหรับ บีวายดี นั้นเริ่มเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 8 สิงหาคม 2565 โดยบริษัท เรเว่ ออโตโมทีฟ ( Rêver Automotive ) ในฐานะผู้จัดจำหน่ายและให้บริการหลังการขายสำหรับกลุ่มรถยนต์พลังงานไฟฟ้าบีวายดี ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ซึ่งในการแนะนำบริษัท มีการประกาศเป้าหมายและกลยุทธ์สำคัญคือการผลักดัน บีวายดีให้เป็น ท็อป 5 ในตลาดรถยนต์พลังงานใหม่ของไทยภายใน 5 ปี