“มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 35” ปิดฉาก ยอดขายรถรวมเฉียด 45,000 คัน รถเก๋ง รถเอสยูวี รถหรู คึกคัก จักรยานยนต์เข้าเป้า เม็ดเงินหมุนเวียนกว่า 5.6 หมื่นล้าน
นายขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานจัดงาน มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 35 เปิดเผยว่า ยอดจองรถยนต์ใหม่ในงานจาก 36 ผู้ผลิต มีจำนวนทั้งสิ้น 44,189 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10.9% โดย 5 อันดับสูงสุดได้แก่
อันดับ 1 HONDA 6,842 คัน
อันดับ 2 MAZDA 6,509 คัน
อันดับ 3 TOYOTA 5,907 คัน
อันดับ 4 ISUZU 4,437 คัน
อันดับ 5 MITSUBISHI 3,619 คัน
ภาพรวมของยอดจองรถยนต์ใหม่ ในงานหกรรมยานยนต์ อาจจะไม่สามารถสะท้อนความเป็นไปของความสามารถในการขายและความนิยมของตลาดได้ เพราะว่ามีเงื่อนไข โปรโมชั่น และการเก็บสถิติสำหรับรายงานที่แตกต่างกันมากแต่ล่ะค่าย นอกจากนี้ยังเป็นเพียงการขายช่วงสั้นๆ ในงานเท่านั้นอย่างไรก็ตาม ความสนใจของผู้ซื้อในเวทีนี้อาจสะท้อน นัยยะสำคัญที่น่าสนใจ
ในภาพรวมลำดับต้นๆ ยอดขายของค่ายรถใหญ่อย่าง อีซูซูและโตโยต้า ไม่สามารถขึ้นแท่นกลุ่มนำได้เหมือนยอดในอดีต นั้นสะท้อนให้เห็นว่า เวทีมหกรรมยานยนต์เป็นเวทีของรถยนต์นั่งเสียส่วนใหญ่และเป็นปัจจัยให้มาสด้าและฮอนด้า ก้าวขึ้นมาแถวหน้าในการทำยอดช่วงเวลา 10กว่าวันของงาน เนื่องจาก ฮอนด้าไม่มีรถกระบะจำหน่ายเลย ในขณะที่มาสด้า ถือว่า โดดเด่นในรถนั่ง บทบาทของกระบะนั้นมีน้อยมาก อย่างไรก็ตามค่ายใหญ่สอง่ค่ายหลักคือ โตโยต้า และอีซูซูก็ยังมีอิทธิพลต่อตลาดด้วยการรั้งเบอร์ 3 และ 4 ในงาน ในขณะที่เบอร์5 อย่างมิตซูบิชิ ที่มีรถยนต์น่าสนใจ มีความสดใหม่เช่นกระบะไทรทัน 2018 (บิ๊กไมเนอร์เชนจ์)และความแข็งแกร่งของรถอีโค คาร์ของมิตซูบิชิ รวมถึงรถเอสยูวีที่มีความคุ้มค่าและรถเอ็มพีวี ตัวใหม่ ก็ยังช่วยให้ ต่ายทรีไดมอนติด ลำดับต้นๆ ได้ ส่วนที่ขาดหายไป คือ นิสสัน ซึ่งไม่สามารถทำสถิติมีได้แม้จะมีรถยนต์ใหม่เทคโนโลยีล้ำสมัยอย่าง รถยนต์ไฟฟ้ารุ่น ลีฟท์ ที่เปิดของครั้งแรกในงาน
ตลาดเก๋งสัดส่วนจอง38.7%
สำหรับสัดส่วนการของ รถเก๋งได้รับความสนใจสูงสุด มีสัดส่วนยอดขาย 38.9% ใกล้เคียงปีก่อน (38.7%) แบ่งเป็นเก๋งซีดาน 25.4% และแฮทช์แบค 13.5% โดย 5 อันดับแรก ได้แก่ HONDA CIVIC, HONDA CITY, MAZDA 2, HONDA JAZZ และ MG 3
เวทีมหกรรมยานยนต์ นั้นจัดที่กรุงเทพ ที่เป็นเมืองหลวงของรถยนต์นั่งอยู่แล้วดังนั้น สัดส่วนการจองของรถยนต์นั่งจึงสูงกว่ากระบะ โดยมีค่ายฮอนด้า นำโด่งมา 2 รุ่นแม้ค่ายบางนาจะไม่มีรถยนต์ใหม่ และขายรถเดืมทุกรุ่นบนเวทีแต่ ฮอนด้า ก็ยังเป็นตัวเลือกของผู้บริโภค โดยเฉพาะในกลุ่มซีเซ็คเมนท์ ซีวิคแทบผูกขาดเนื่องจาก คู่แข่งสำคัญคือ โตดยต้า อัลติส ค่อนข้างอยู่ในช่วงอ่อนแอของสินค้าและรอเปลี่ยนรุ่นอัลติสในเดือนเม.ย.2562 ในขณะที่มาสด้าเองก็รอเปลี่ยนรุ่นมาสด้า 3 ในช่วงต้นปีหน้าเช่นกัน
สำหรับรถซับคอมแพ็ค ฮอนด้า ยังแข็งแกร่งด้วยรูปลักษณ์ของตัว ซิตี้ ที่ยังไร้ที่ติในระดับราคาเดียวกัน รถที่สามารถเบียดคู่แข่งมาได้ดีตลอดมาคือ มาสด้า ที่มีความชัดเจนในการพัฒนาแบรนด์ต่อเนื่องทำให้เกิดความเชื่อมั่นในกลุ่มลูกค้ารวมถึง คาแรคเตอร์ของ การขับขี่มีมีคุณภาพถูกรสนิยมของผู้ใช้การออกแบบสวยงามมาสด้าเลยทิ้งห่างรถที่ควรจะอยู่ในตำแหน่งเบอร์2 ของตลาดเก๋งอย่างนิสสันไปมากทีเดียว ในเวทีนี้ตลาดรถเก๋งยังคงเป็นเก๋งเล็ก (ซัพคอมแพ็ค)เสียส่วนใหญ่ เช่น มาสด้า 2 ฮอนด้า ซิตี้ และเอ็มจี3
รถตรวจการณ์สัดส่วนสูงขึ้น
ขณะที่รถกิจกรรมกลางแจ้งหรือรถตรวจการณ์ (SUV) มีสัดส่วน 34.3% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย (33.9%) 5 อันดับแรก ได้แก่ MITSUBISHI PAJERO SPORT, MG ZS, HONDA CR-V, HONDA HR-V และ FORD EVEREST
สำหรับเวทีมหกรรมยานยนต์สะท้อนความนิยมของตลาดรถตรวจการณ์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งความนิยมนี้ได้เพิ่มขึ้นมาตลอด3ปี และเป็นเทรนด์ทั่วโลกในไทยเองรถยนต์ใหม่ที่ออกสู่ตลาดและแสดงบนเวทีก็มี”โมเดล”ใหม่ๆ ในรูปแบบรถเอสยูวีเพิ่มขึ้น รถยนต์ตรวจการณ์ที่นำเสนอในตลาดมีความคุ้มค่า มีอรรถประโยชน์มากกว่าทำให้ลูกค้าบางส่วนเปลี่ยนจากรถซีดาน หรือรถแฮทแบค(5ประตู) มาใช้รถตรวจการณ์ทำให้สัดส่วนของรถตรวจการณ์เพิ่มขึ้นตลอดเวลา ในแง่ของการแข่งขึ้น ปาเจโรสปอร์ต ก้าวขึ้นมาสู่ผู้นำ ด้วยการปรับเปลี่ยนโฉมหน้าใหม่(ไมเนอร์เชนจ์)และมิตซูบิชิแข็งแกร่งในแง่ของการ”ให้ความคุ้มค่าต่อราคา”มากสุดด้วยเทคโนโลยีความปลอดภัย ที่ทันสมัยและนำหน้าคู่แข่ง รองลงมาคือ เอ็มจีZSรถที่มีราคาโดนใจเพราะไปเบียดกับเก๋งซีดาน ขนาดซับคอมแพ็ต ลูกค้าจะซื้อเก๋งต้องมองZS เป็นทางเลือก
กระบะเรนเจอร์ทำยอดขึ้นนำ
รถกระบะมีสัดส่วน 17.2% ลดลงจากปีก่อนเล็กน้อย (17.9%) 5 อันดับแรก ได้แก่ FORD RANGER, ISUZU D-MAX, MITSUBISHI TRITON, TOYOTA REVO และ NISSAN NAVARA
ตลาดกระบะค่อนข้างพลิกผันเพราะ ความแรงของเรนเจอร์ที่ใส่เทคโนโลยีมาเพิ่มจากทุนเดิมคือหน้าตาที่โดนใจ เรนเจอร์ใหม่2018 ออกตลาดมา3เดือนเป็นช่วงฮันนี่มูน เนื่องจากคู่แข่งสำคัญในตลาดอย่างอีซูซูอยู่ในช่วงท้ายโมเดล (รอเปลี่ยน2019) ส่วนโตโยต้ารีโว่ เจ้าตลาดยังไม่หวือหวาเท่าที่ควร ในขณะที่รถใหม่อย่าง ไทรทัน 2018 ก็เสียบตลาดด้วยหน้าตาใหม่ ซึ่ง 4 ค่ายหลักนี้กลายเป็นเมเจอร์ของตลาด โดยแบ่งแฟนกันไปชัดเจน
ส่วนรถหรู มียอดขายรวม 4,213 คัน โดย 5 แบรนด์ ที่ได้รับความสนใจสูงสุด ได้แก่ MERCEDES-BENZ, BMW, VOLVO, AUDI และ PORSCHE
รถเก๋งหรูหราหรือตลาดพรีเมี่ยม ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนักรถตราดาว 3 แฉก ครองเบอร์หนึ่งด้วยความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และราคาสมเหตุสมผลมากขึ้น เบอร์2ยังคงเป็นค่ายใบพัดสีฟ้า ซึ่งตามหลังมาห่างๆ ส่วนเบอร์3 ได้แก่ วอลโว่ ที่อัดเต็มทุกเทคโนโลยีราคาโดนใจ วอลโว่แข็งแกร่งในผลิตภัณฑ์แต่ยังคงอ่อนแอในส่วนของ อะไหล่ บริการและเครือข่าย หากว่า วันนี้วอลโว่มีเครือข่ายแข็งแกร่งแบบเบนซ์ (ซึ่งเป็นไปไม่ได้)วอลโว่จะกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง
จักรยานยนต์ ปิด9พันคัน
รถจักรยานยนต์จาก 23 ผู้ผลิต ยอดขายรวม 9,169 คัน สูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้ อันดับ 1 ได้แก่ HONDA 1,531 คัน อันดับ 2 YAMAHA 1,111 คัน อันดับ 3 LAMBRETTA 1,012 คัน อันดับ 4 KAWASAKI 775 คัน และ อันดับ 5 VESPA 605 คัน
ในตลาดจักรยานยนต์เนื่องจากมีความหลากหลายแตกต่างของผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายในงานเป็นอย่างมากคือ มีบิ๊กไบค์ มีมินิไบค์ ยอดขายไม่ได้สะท้อนความเป็นไปของตลาดที่แท้จริง (ไม่วิเคราะห์)
ราคาเฉลี่ยของรถที่ขายได้ในงานเพิ่มขึ้นเป็น 1,286,898 บาท (ปีก่อน 1,271,837 บาท) เงินหมุนเวียนภายในงานราว 56,000 ล้านบาท ผู้เข้าชมงานจำนวน 1,534,961 คน เพิ่มขึ้น 12.8%
*ปล การจัดเก็บของมูลที่นำมาวิเคราห์ ทำโดยระบบของผู้จัดงาน
*มหกรรมยานยนต์ มีระบบการจัดเก็บข้อมูล ที่น่าเชื่อถือกว่างานแสดงรถอื่นๆ
*ยอดที่รายงานเป็นยอดจองรถยนต์ใหม่ (การขายจริงอาจจะไม่ทำได้ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขไฟแนนซ์และอื่นๆ เช่นการทิ้งใบจอง )