Thursday, November 21, 2024

“ย้ายฐาน” สะเทือนคนนอกเมื่ออินโด อยากได้”อีซูซุ”

- Advertisement -spot_imgspot_img
- Advertisement -spot_imgspot_img

ทำไม”อินโดนีเซีย”ต้องการอีซูซู?

Advertisements

หลังจากเป็นกระแส รายงานบนโลกออนไลน์ เปิดประเด็นโดย”รอยเตอร์”สำนักข่าวใหญ่ที่มีความเชื่อถือสูง รายงานทั้งหมดมาจากฝั่งอินโดนีเซีย โดยอ้างคำให้สัมภาษณ์ของ รัฐมนตรีคนหนึ่งที่ไปเยือนญี่ปุ่นเป็นที่ทราบกันดีว่า อินโดนีเซีย มีแผนพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ด้วยเป้าหมายการเป็นศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาค ยิ่งในยุครถยนต์ไฟฟ้าอินโดนีเซียออกข่าวรายวันถึงความสนใจลงทุนของค่ายรถต่างๆ ที่มุ่งไปยังเมืองอิเหนาแห่งนี้

จากรายงานข่าวจากสำนักข่าวต่างประเทศ โดย KOMPAS.com เว็บใหญ่ของอินโดฯ-ระบุว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Menperin) Agus Gumiwang Kartasasmita กล่าวว่า อีซูซู มอเตอร์ มีแผนที่จะย้ายโรงงานผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่จากประเทศไทยไปยังอินโดนีเซีย โรงงานแห่งนี้จะผลิตรถบรรทุก ยูดี(UD Truck) ซึ่งอีซูซุได้ซื้อกิจการ มาจาก Volvo กรุ๊ป เมื่อ ปี 2562
“อีซูซุ ระบุว่า พวกเขาจะย้ายโรงงานรถบรรทุกจากประเทศไทยไปยังอินโดนีเซียและเริ่มการผลิตในปี 2024” นาย Agus กล่าวหลังการประชุมกับผู้บริหาร อีซูซุ ในญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 7ก.ค.ที่ผ่านมา(บทความนี้เผยแพร่บน Kompas.com ในหัวข้อ “Isuzu Will Move Factory from Thailand to Indonesia)


ย้อนข่าวสะเทือนคนนอก:อีซูซุย้ายฐานจากเมืองไทย

หลังจากข่าวนี้ถูกเผยแพร่ซ้ำในโลกออนไลน์จากรอยเตอร์เว็บของฝั่งไทย ทั้งสื่อหลัก และคนที่อยากเป็นสื่อ ก็ไม่รอที่จะcopy คอนเทนเหล่านี้ จนรายงานออกไปในวงกว้าง ก่อนที่ความแรงของกระแสรต้องทำให้ เกิดรีแอคจากฝั่งอีซูซุ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์อีซูซู จากญี่ปุ่น ได้ออกแถลงการณ์โดยส่งเอกสารผ่านสื่อมวลชน ยืนยันข้อเท็จจริง ระบุว่า เมื่อวันที่ 8ก.ค.2566 ตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อต่างๆ ว่า อีซูซุเตรียมย้ายฐานการผลิตออกจากไทยไปอินโดนีเซียนั้น บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด ขอชี้แจงว่า ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริงและไม่ใช่การประกาศอย่างเป็นทางการจาก บริษัท อีซูซุมอเตอร์ ผู้ผลิตรถยนต์อีซูซุแต่อย่างใด ถึงแม้ว่าประเทศอินโดนีเซียจะเป็นตลาดที่สำคัญแห่งหนึ่งของอีซูซุก็ตาม “เราไม่มีแผนที่จะย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทยไปยังอินโดนีเซีย”

สำหรับภาคอุตสาหกรรมก็น่าจะสรุปท่าทีของอีซูซุ ชัดเจนแต่ในภาคการเมืองมีการนำกระแสไปโหน โยงมั่วไปถึงเรื่องการเมืองในประเทศ เรื่องค่าแรงขึ้นต่ำแถมวิเคราห์ยาวลึกเข้าไปถึงการเมืองในอินโดนีเซีย ราวกับว่า อินโด เป็นเขมรที่ชอบมีประเด็นเชิดชูผู้นำ

Advertisements

ประเทศไทย วิกฤตขนาดอีซูซุต้องหาทาง ย้ายฐานการผลิตแล้วหรือ

สำหรับคนนอกข่าวนี้ถือว่า สะเทือนวงการคนที่เชื่อข่าวก็วิตกกังวลประเทศไทย วิกฤติขนาดอีซูซุต้องหาทาง ย้ายฐานการผลิตแล้วหรือ แต่สำหรับข่าวนี้คนในอย่างคนอีซูซู กลับไม่มองเช่นนั้นและก็ ปวดหัวต้องมาแก้ข่าว เรื่องราวของการย้ายฐานผลิตจากไทย ของค่ายรถไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นแต่มักจะมีรายงาน เช่นนี้ออกมาบ่อยๆ หากลองค้นหา รายงานข่าวเก่าๆ เราจะพบว่า มีรายงานถึงการ”ย้ายฐาน”จากไทยแต่ไม่เคยเป็นความจริงเลยสักครั้ง

มีเพียงการโยกไลน์การผลิต ซึ่งเคยเกิดขึ้นได้แต่ไม่ใช่ “เลิกโรงงาน” แล้วไปผลิตซ้ำที่ใหม่ การโยกไลน์การผลิตรถรุ่นต่างๆ เกิดขึ้นได้ เพื่อ ตอบโจทย์ธุรกิจโดยมุ่งไปยังตลาดและแหล่งผลิตต้นทุนต่ำ

อดีตถ้า การย้ายฐานการผลิตจากไทยเกิดขึ้นเช่นค่ายวอลโว่ ที่เลิกการผลิตจากรง. บางนา กม.25 ไปใช้ฐานการผลิตที่ มาเลเซียเป็นหลัก ค่ายรถเปอโยต์ ซีตรอง ที่เคยมีกิจกรรมการผลิตในไทยโดยยนตรกิจ ก็หันไปใช้มาเลเซียเป็นศูนย์กลางการผลิตสำหรับภูมิภาคแทนประเทศไทย
ลักษณะการหนึ่งของการเลือกฐานการผลิต ค่ายรถที่อยู่ในโครงการ อาฟต้าของบรรดาผู้นำตลาด ที่ต้องการโควต้าแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนเพื่อให้ได้สิทธิภาษีนำเข้า จะมีการแลกรุ่นที่ผลิตระหว่างโรงงานในภูมิภาค เช่น โตโยต้า เวลอช (Veloz) ซูซูกิ xl-7ฮอนด้า WR-V ซึ่งบางครั้งอาจจะมีการสลับไลน์การผลิตขึ้นอยู่กับนโยบายของค่ายรถนั้นๆ

ส่วนการขยายไลน์การผลิตไปยังตลาดที่เกิดใหม่ ซึ่งก็ไม่ถือเป็นการย้ายฐานเช่น

ในปี 2565 ฮอนด้า จะย้ายการผลิตรถแจ๊ส แฮทช์แบคจากประเทศไทยไปยังอินเดีย ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนการของฮอนด้าในการรวมเครือข่ายการผลิตทั่วโลก
ส่วนโตโยต้า ก็มีการ เพิ่มกำลังการผลิตในเวียดนามโดย ผลิตรถเก๋งโคโรลล่า จากเดิมที่ส่งออกไปจากประเทศไทยไปยังเวียดนาม
นิสสัน ขยายการผลิตรถกระบะ Navara ในเม็กซิโก ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนการของนิสสันที่จะเพิ่มกำลังการผลิตในเม็กซิโก
มิตซูบิชิ ก็มีการผลิตรถกระบะไทรทัน ที่อินโดนีเซีย จากเดิมเคยส่งออกจากไทย ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนการของมิตซูบิชิที่จะเพิ่มกำลังการผลิตในอินโดนีเซีย Isuzu ก็เพิ่มการผลิต กระบะ D-Max ในอินเดียจากเดิมผลิตส่งออกจากประเทศไทย ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนการของ อีซูซุ ในการเพิ่มกำลังการผลิตในอินเดีย

อินโดตัวจริงคู่แข่งไทยดึงนักลงทุนยานยนต์

ต้องยอมรับว่าวันนี้ไทยไม่ได้ เป็นชาติเดียวในภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการดึงดูนักลงทุนด้านยานยนต์ หลักทรัพย์ เจพี มอร์แกน รายงานว่า หลังจากโควิด-19 อุปสงค์ในตลาดไทยและอินโดนีเซียได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และในปี 2559-2565 จะเป็นช่วงของการพลิกกลับของตลาด ในตลาดรถบรรทุกที่ฟื้นตัวช้า ผลของการลงทุนภาครัฐที่เพิ่มขึ้นค่อยๆ ปรากฏขึ้นทั้งในไทยและอินโดนีเซีย และสัญญาณการฟื้นตัวของความต้องการรถบรรทุกสำหรับงานหนัก ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เพื่อการก่อสร้างก็เริ่มปรากฏขึ้น

อย่างที่ทราบกัน อินโดนีเซียที่มีประชากรมากที่สุดในอาเซียน เป็นตลาดใหญ่ ถือเป็นเป้าหมายค่ายรถที่ต้องการขยายการลงทุน และในช่วงนี้มีการเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีจากรถน้ำมันไปเป็นรถยนต์ไฟฟ้า และมีค่ายรถจีนเป็นนักลงทุนรายใหญ่ ซึ่งจีนนั้นเร่งขยายธุรกิจออกนอกประเทศ โดยมีเป้าหมายมายังประเทศไทย และอินโดนีเซีย เพราะอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ในประเทศของจีนเอง ก็มีความเสี่ยงที่จะยังคงอยู่เฉพาะในประเทศต่อไป แน่นอนว่า อินโดนีเซียต้องหาทุกวิถีทางที่จะดึงทุนรถยนต์เหล่านั้นแข่งกับไทย

ไทยมีศูนย์กลางอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนทุกชนิด นักลงทุนสามารถหาขนส่งชิ้นส่วน หรือเดินทางประสานงานกันได้ ภายในเวลาไม่ถึงครึ่งวัน

ห่วงโซ่ยานยนต์ไทยแข็งแกร่งแต่มีความเสี่ยง

ทีนี้มาดูจุดแข็งของไทยที่น่าจะตอบโจทย์ได้ว่า ทำไมอีซูซุจึงยังคงฐานการผลิตไว้ในขวานทองแห่งนี้ ลักษณะเฉพาะของอุตสาหกรรมการผลิตของไทย คือ มีความหนาแน่นของพื้นที่ที่อุตสาหกรรมการผลิตกระจุกตัวอยู่ สวนอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศไทยอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ โดยใช้เวลาขับรถไม่เกิน 3 ชั่วโมง และในระดับความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเลแทบไม่ต่างกันเลย และบรรดา นักลงทุนสามารถเข้าถึงพื้นที่ ได้ในเวลาประมาณ2ชั่วโมงครึ่งโดยรถยนต์ ในนิคมอุตสาหกรรมพื้นที่ EEC จากชานเมืองกรุงเทพฯ ผลคือ การที่ไทยมีศูนย์กลางอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนทุกชนิด นักลงทุนสามารถหาขนส่งชิ้นส่วน หรือเดินทางประสานงานกันได้ ภายในเวลาไม่ถึงครึ่งวัน

“ศูนย์กลางการผลิต ภาคตะวันออกของไทย ได้สร้างห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่ง อาจกล่าวได้ว่าเป็นทรัพย์สินอันมีค่าที่สั่งสมมาเป็นเวลาหลายปีด้วยความพยายามของบริษัทต่างๆ ในไทยนับตั้งแต่ มิตซูบิชิ นิสสัน ฮอนด้า มาสด้า อีซูซุ เมอร์เซเดส-เบนซ์ และโตโยต้า ที่เริ่มผลิตในปี 1964 แม้ว่าประเทศอื่นจะพยายามเลียนแบบไทย แต่ก็ไม่สามารถทดแทนได้ในระยะเวลาอันสั้น ..”

แค่ถนนลาดยางดีกว่าก็ได้เปรียบ
ใครจะคิดบ้างว่า คุณภาพถนนสำหรับการขนส่ง ในไทยมีผลต่อการตัดสินใจ ประเทศไทยสามารถขนส่งสินค้าระหว่างสวนอุตสาหกรรมหลักได้ภายใน3ชั่วโมง เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงระยะทางรวมของถนนลาดยางในแต่ละประเทศ ไทยนับว่ามีสัดส่วนถนนลาดยาง กับถนนดินที่ติดท็อป5ของโลก

เป็นไปได้แบ่งผลิตรถบรรทุกเปิดตลาดใหม่

ในรายงานข่าวเรื่องการย้ายฐานของอีซูซุ ระบุว่า โรงงานที่กำลังจะย้ายไปคาดว่าน่าจะเป็นบริษัทที่ผลิตรถบรรทุก รถยนต์ขนาดใหญ่ ยูดี ทรัคส์(UD Trucks) ซึ่งอีซูซุ เข้าเทคโอเวอร์จากวอลโว่ กรุ๊ปในปี 2019 เป็นไปได้ที่จะมีการลงทุนของอีซูซุในอินโดนีเซีย เนื่องจากปัจจุบัน ยูดี ยังไม่มีการผลิตในไทย

ก่อนหน้านี้เมื่อครั้งยูดีอยู่กับวอลโว่ ได้ผลิตยูดี เควสเตอร์ เป็นรุ่นแรก ก่อนจะขยาย รุ่นย่อยถึง 15รุ่น นับจากเริ่มขายในปี 2556 และใช้ไลน์การผลิตเดียวกับ รถบรรทุกวอลโว่ ที่โรงงาน กม.28 บางนา-ตราดโดยมีสเปคต่างๆ เช่น มีขนาดแรงม้าให้เลือกหลายขนาดได้แก่  280 แรงม้าและ 330 แรงม้า มาเสริม 370 แรงม้าสำหรับเครื่องยนต์ 11 ลิตรรุ่นเดิม โดยมีสเป็คให้เลือกที่หลากหลายได้แก่ 4×2, 6×2 และ 8×4 จากอดีตที่มีอยู่เพียง 6×4

ในเงื่อนไขการซื้อ-ขาย แบรนด์ยูดี ระหว่างอีซุซุ มอเตอร์กับ วอลโว่ กรุ๊ป ไม่รวมการซื้อขายโรงงาน กม.28 ให้อีซูซุ มอเตอร์ ทำให้ไลน์การผลิตที่เคยมีอยู่ของUD ต้องหยุดลง ในขณะที่ตลาดของยูดีในไทยมีการจำหน่ายรถน้อยมากเพราะว่าแข่งขันสู้อีซูซุ กับฮีโน่ไม่ได้ การไปเปิดตลาดอินโดนีเซียที่กำลังเติบโตย่อมมีความเป็นไปได้มากกว่า

“กิจกรรมของอีซูซุ ในไทยมากกว่าในญี่ปุ่นเมืองแม่ด้วยซ้ำ ไฉนเลย ค่ายรถยักษ์เบอร์2ของไทยจะทิ้งเค็กก้อนงามนี้ไว้ข้างหลัง “

ทั้งนี้ อีซูซู มีโรงงานอยู่ที่เมือง Karawang อินโดนีเซีย มียอดการผลิตในปี 2022 อยู่ที่ 44,694 คัน คิดเป็น 15% ของยอดการผลิตทั้งหมดของอีซูซุทั่วโลก มีการผลิตรถยนต์บรรทุก ELF, Isuzu Giga และ Isuzu Traga ,MU-X และ D-max

การลงทุนใหม่ การยกเลิกการลงทุน ในอุตสาหกรรมยานยนต์นั้นไม่ใช่ มองแค่ปัจจัยเฉพาะหน้า รถยนต์ไม่เหมือนนการเปิดร้านขายของชำ เพราะ แต่ล่ะรง.ผลิต มีขนาดใหญ่ ใช้ศักยภาพบุคคลากรมากมายและ ต้องอาศัยอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เชื่อมโยงการผลิต ต้องจัดหาซัพพลายเชน ต่างๆ แน่นอนว่าการวางเครือข่ายเหล่านี้ไม่ได้ทำแล้วเสร็จในวันเดียวและไม่ได้รื้อได้เพียงข้ามคืน

อีซูซุแข็งแกร่งในเมืองไทย ตลาดหลักมีเพียงไทยแลนด์เท่านั้นที่อีซูซูสามารถครองความเป็นเจ้าตลาดได้ทั้ง รถบรรทุก รถกระบะ หน่วยงานต่างๆ ของอีซูซุ เข้ามาใช้เมืองไทยเป็นฐานมากมายแทบจะเรียกได้ว่ากิจกรรมของอีซูซุ ในไทยมากกว่าในญี่ปุ่นเมืองแม่ด้วยซ้ำ ไฉนเลย ค่ายรถยักษ์เบอร์2ของไทยจะทิ้งเคยก้อนงามนี้ไว้ข้างหลัง

UD เมื่อครั้งอยู่กับวอลโว่ กรีูป มีกิจกรรมการผลิตในโรงงานของบริษัท วอลโว่ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด

Advertisements
- Advertisement -spot_imgspot_img

Latest news

Advertising

spot_img

Related news

- Advertisement -spot_img