เปิดสเปค Toyota Driving Experience Park

- Advertisement -
- Advertisement -

TDX-Park_Building_reFlatจัดพิธีเปิดอย่างเป็นทางการไปแล้วเมื่อเช้านี้ (9.ก.ย.58)สำหรับ Toyota Driving Experience Park ศูนย์ขับทดสอบรถยนต์ครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดของโตโยต้าในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค ลองมาดูว่าภายในของศูนย์แห่งนี้ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
Toyota Driving Experience Park ได้รับการออกแบบจากบริษัท IngenAIX GMBH ประเทศเยอรมัน ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบสนามแข่งขันรถยนต์และสนามทดสอบรถยนต์ระดับโลก ทำการออกแบบสนามทดสอบมาตรฐานสากล บนพื้นที่กว่า 22 ไร่ ณ ถนนบางนา-ตราด กิโลเมตรที่ 3 โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน
ส่วนที่ 1 : อาคารต้อนรับ 3 ชั้น เพื่อความสะดวกสบายของลูกค้าตั้งแต่เริ่มเข้าศูนย์ขับทดสอบโตโยต้า
– ชั้นที่ 1 : พื้นที่ต้อนรับและจัดแสดงเทคโนโลยีล้ำสมัยของโตโยต้า
– ชั้นที่ 2 : พื้นที่สัมมนาพร้อมอุปกรณ์ทันสมัยสามารถรองรับผู้เข้าอบรมได้ 400 คน
– ชั้นที่ 3 : พื้นที่พักผ่อนและห้องอาหาร
ส่วนที่ 2 : สนามทดสอบในรูปแบบ On Road แบ่งออกเป็น 6 สถานีย่อย
สถานีที่ 1 : Multi Purpose Area
พื้นที่อเนกประสงค์สำหรับสร้างความคุ้นเคยระหว่างผู้ทดสอบกับรถยนต์ รวมถึงเพื่อทดสอบการทรงตัวของรถ (Stability) สถานีนี้สามารถตั้งฐานเพื่อทดสอบสภาพการขับขี่ในรูปแบบต่างๆ เช่น การขับทดสอบทดสอบขับแบบสลาลม (Slalom) หรือการขับทดสอบแบบเปลี่ยนเลน (Lane Change)
-สถานีที่ 2 : Dynamic Course
พื้นที่สำหรับทดสอบอัตราเร่ง (Acceleration) บนสภาพถนนที่แตกต่าง พร้อมทดสอบระบบเบรก (ABS) ระบบเสริมแรงเบรก BA (Break Assist) ระบบควบคุมการทรงตัว (VSC) บนสภาพพื้นผิว ธรรมดาและพื้นผิวลื่น โดยสถานีนี้ได้รับการออกแบบให้มีทั้งพื้นผิวเปียกและแห้ง (Wet & Normal Condition) พื้นผิวปกติและพื้นผิวลื่น (Skidding & Normal Surface) รวมไปถึงม่านน้ำ (Water Obstacle ) ที่ใช้เป็นด่านทดสอบ โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรืออันตรายแก่รถยนต์และผู้ขับขี่
– สถานีที่ 3 : Acceleration Area
พื้นที่ทดสอบอัตราเร่งของเครื่องยนต์จาก 0 – 100 (Acceleration) รวมไปถึงระบบเกียร์ (Transmission) และการทำงานของเครื่องยนต์ (Performance) ในรอบเครื่องยนต์ต่างๆ
– สถานีที่ 4 : Circular Track
พื้นที่ถนนวงเวียนใช้สำหรับทดสอบความสามารถของรถยนต์ในการเข้าโค้ง เพื่อทดสอบอาการ ของรถยนต์เวลาเข้าโค้ง (Over / Under Steering) บนพื้นผิวและสภาวะถนนที่แตกต่างกัน โดยมีทั้งพื้นที่เปียกและแห้ง (Wet & Normal Condition) พื้นผิวปกติและพื้นผิวลื่น (Skidding & Normal Surface)
-สถานีที่ 5 : Road Condition Area
พื้นที่จำลองสภาพพื้นผิวถนน 8 สภาวะ เช่น หลุม บ่อ ลูกคลื่น รวมถึงสะพาน เพื่อใช้ทดสอบ การเก็บเสียงในห้องโดยสาร (Noise) ความสั่นสะเทือน (Vibration) การควบคุมรถยนต์ (Control) และความนุ่มนวลในการขับขี่ (Riding Comfort)
– สถานีที่ 6 : Mini Closed Circuit
พื้นที่สนามสามารถปรับใช้เป็นสนามมินิเซอร์กิตแบบพื้นที่ปิด โดยมีความยาว 1.4 กม. เพื่อใช้ใน การทดสอบการทำงานของรถยนต์ในสภาวะการขับขี่อย่างเต็มรูปแบบ (High Performance)
ส่วนที่ 3 : สนามทดสอบในรูปแบบ Off-Road แบ่งออกเป็น 6 สถานีย่อย
-สถานีที่ 1 : Sllope Hil
เนินภูเขาลาดชัน ใช้สำหรับการทดสอบการขึ้นลงทางลาดชัน โดยใช้ระบบช่วยออกตัวบนทางลาดชัน HAC (Hill-Start Assist Control) และระบบควบคุมความเร็วขณะลงทางลาดชัน DAC (Downhill Assist Control)
-สถานีที่ 2 : Flooding
พื้นที่จำลองบ่อน้ำสำหรับการทดสอบระบบป้องกันล้อหมุนฟรีแบบแอคทีฟ A-TRC (Active Traction Control) เมื่อรถต้องอยู่ในสภาวะน้ำท่วมขังสูง
-สถานีที่ 3 : Dry River Bed
เส้นทางจำลองสถานการณ์พื้นผิวที่มีทั้งหิน กรวด ทราย และเนินลาดชัน ทำให้การขับขี่
ไม่สามารถอยู่ในสภาวะปกติ สำหรับการทดสอบระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ และระบบกันสะเทือนหน้า หลัง
-สถานีที่ 4 : 4×4 Tunnel
อุโมงค์แคบเอียงสำหรับการทดสอบเครื่องยนต์ ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ และมุมเอียงของรถ
-สถานีที่ 5 : Twist Track
พื้นที่การจำลองสภาวะการขับขี่ ในกรณีที่รถยนต์ไม่สามารถใช้กำลังจากล้อทั้ง 4 ได้ เพื่อทดสอบ การขับเคลื่อนสี่ล้อความเร็วต่ำ 4L ระบบป้องกันล้อหมุนฟรีแบบแอคทีฟ A-TRC (Active Traction Control) ระบบล็อคเฟืองท้ายอัตโนมัติ (Diff-Lock) และระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ
-สถานีที่ 6 : Tree Track
เส้นทางพื้นผิวขรุขระมาก สำหรับการทดสอบการทรงตัว ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ระบบช่วงล่าง (Suspension) และความนุ่มนวลในการขับขี่ (Riding Comfort)[fblike]

Advertisements
Advertisements
- Advertisement -

Related news

- Advertisement -
Exit mobile version