ไทยอยู่ตรงไหนเมื่อสหรัฐเอาจริง ตั้งกำแพงภาษีรถจีนเพิ่ม4เท่า

- Advertisement -
- Advertisement -

สหรัฐกล่าวหาจีนอุดหนุนการผลิต จนอุตสาหกรรม EV มีกำลังการผลิตล้น ด้านเมืองไทยรอปะทะ ทั้งแง่บวกและลบ

Advertisements

ฝ่ายบริหารของ ไบเดนประกาศเมื่อวันอังคารว่า จะปรับปรุงภาษีนำเข้าสำหรับยานพาหนะไฟฟ้าที่นำเข้าจากจีนในปี 2024 ในอัตราภาษี 100 % หรือเพิ่มขึ้น 4 เท่าจาก 25 เปอร์เซ็นต์ในปัจจุบันนอกจากรถยนต์ไฟฟ้า(EV) แล้ว สหรัฐยังเพิ่มภาษีศุลกากร ในผลิตภัณฑ์เหล็กและอะลูมิเนียมของจีน ลิเธียม อีกด้วย -แบตเตอรี่ไอออน และโซลาร์เซลล์

“ในอดีตจีนเคยใช้แนวทางเดียวกัน เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ของตนเอง ก่อนพัฒนาการผลิต และลงทุน จนมีกำลังการผลิตที่มากเกินไป ทำให้รถท่วมตลาดโลก ทำให้การส่งออกรถของจีน ถูกประเมินว่า ส่งออก ราคาจริงต่ำเกิน ”

อีวีจีนกุญแจฟื้นเศรษฐกิจจีน

EV ของจีนมีราคาถูกและเกินความจำเป็นรถยนต์ไฟฟ้าถือเป็นเป้าหมายเชิงกลยุทธ์สำหรับทั้งสหรัฐอเมริกาและจีน

สำหรับทำเนียบขาว รถยนต์ไฟฟ้า ถือเป็นหัวใจสำคัญของโครงการริเริ่มที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ โดยมีเป้าหมาย คือ กำหนดสัดส่วนยอดขายรถยนต์ใหม่ 50% ในปี2573จะต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้า และทำเนียบขาวยังมีนโยบาย “ผลิตในอเมริกา” เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ของประเทศ ซึ่งเป็นภาคส่วนสำคัญของเศรษฐกิจอเมริกัน

Advertisements

ในขณะที่จีน หลังจากที่วางรากฐาน โดยกำหนดให้ EV เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีลำดับความสำคัญเมื่อ10 ปีที่แล้ว จีนได้เพิ่มจำนวนรถไฟฟ้า ขึ้นเป็นสองเท่า โดยEV เป็นหนึ่งใน “พลังการผลิตใหม่” แทนที่จะเปลี่ยนเศรษฐกิจจากการลงทุนเพื่อ การบริโภค ดูเหมือนว่าจีน พร้อมที่จะส่งออกรถยนต์จำนวนมาก เพื่อหลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบัน

กำลังผลิตล้นจากการอุดหนุนจำนวนมาก

สำหรับจีนได้ส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า โดย มอบเงินอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้ามูลค่า 2900 ล้านดอลลาร์ระหว่างปี 2552 ถึง 2565 แม้ว่าการอุดหนุนนี้ได้สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการก่อนปี 2566 แต่โครงการอื่นๆ ที่ไม่มีคำว่า “EV” ในชื่อของพวกเขา ยังคงใช้มาตรการจูงใจต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างเช่น สื่อจีนรายงานว่า BYD คว้าหนึ่งในสามหรือ 1,000 ล้านดอลลาร์ของเงินอุดหนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี2567 จากกระทรวงการคลังจีน ผลจากการอุดหนุนนาน 15 ปี รถยนต์จีนราคาถูก เหล่านี้ได้ก่อให้เกิดความท้าทาย “ระดับการสูญพันธุ์” ต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ของอเมริกา

เผยกำลังการผลิตส่วนเกิน ปี67 จำนวน 20ล้านคัน

ตามแผนของรัฐบาลท้องถิ่นของจีน ในช่วงห้าปีระหว่างปี 2021 – 2025 รายงานของศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมสารสนเทศของจีน (CCID) ซึ่งเป็นสถาบันภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศของจีน คาดว่าความสามารถในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของจีนจะสูงถึง 36 ล้านคันในปี 2568

และด้วยการคาดการณ์ยอดขาย EV ของตลาดจีนในปี2568จะมียอด 15 ล้านคัน ดังนั้นจะเหลือกำลังผลิตส่วนเกินสูงถึง 20 ล้านในปีหน้า

“จีนทราบปัญหากำลังการผลิตล้นเกินและได้วางแผนหาทางแก้ไขแล้ว ในรายงานเดือนธันวาคม 2565 CCID ได้จัดทำแผน การส่งออกรถยนต์ไปยังตลาดยุโรป พร้อมแนะนำให้สร้างโรงงานในละตินอเมริกาเพื่อใช้ประโยชน์จาก เขตการค้าเสรี เพื่อขยายส่วนแบ่งตลาด EV ไปในตลาดทั่วโลก

ในเดือนมีนาคม บีวายดี ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีน ได้เปิดตัว BYD Seagull รถยนต์แฮทช์แบ็กไฟฟ้าขนาดเล็ก ราคาเริ่มต้นที่ 69,800 หยวนในประเทศจีนหรือประมาณ 9,650 ดอลลาร์และจำหน่าย ในเม็กซิโก ราคา 358,800 เปโซ หรือประมาณ 20,990 ดอลลาร์ แต่ราคายังคง ถูกกว่า EV ที่ถูกที่สุดประมาณ 30,000 เหรียญสหรัฐในสหรัฐอเมริกา ราคา EV เฉลี่ยในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ประมาณ 54,000 เหรียญสหรัฐ

ความจุล้นเกินกลายเป็นประเด็นหลัก
Nazak Nikakhtar อดีตผู้ช่วยเลขาธิการฝ่ายอุตสาหกรรมและการวิเคราะห์ที่กระทรวงพาณิชย์ระหว่างการบริหารของทรัมป์กล่าวว่า จำเป็นต้องมีการควบคุมปัญหา เรื่องกำลังการผลิตล้นเกินของจีน

“ความเคลื่อนไหวของรถยนต์ไฟฟ้าของจีนคือพวกเขาไม่ได้เข้ามาในสหรัฐอเมริกาโดยตรงแต่รถไฟฟ้าของจีนกำลังท่วมตลาดโลก ” Nikakhtar กล่าว

ปัจจุบัน EV แบรนด์จีนโดยตรงยังไม่มีจำหน่ายในตลาดสหรัฐฯ แบรนด์วอลโว่ที่ จีลี่(Geely) เป็นเจ้าของ มีส่วนแบ่งการตลาด 2 % ในปี 2566 อย่างไรก็ตาม แบรนด์ในอเมริกาสูญเสียส่วนแบ่งตลาดในประเทศ 15 % ในช่วง3ปีที่ผ่านมาส่วนแบ่งที่สูญเสียไปถูกยึดครองโดยค่ายเยอรมันและเกาหลีใต้ และแบรนด์สวีเดนที่เป็นของจีน

ไทยและผลกระทบ

สิ่งที่จะเกิดขึ้นจากผลการตั้งกำแพงภาษีของสหรัฐอย่างแรกคือ กำลังการผลิตส่วนเกินของจีนจะกระจายไปทั่วโลก ซึ่งตลาดที่อีวี เติบโตและจีนเข้าไปทำตลาดได้ง่ายจะเต็มไปด้วยอีวี ราคาถูกยกตัวอย่างตลาดประเทศไทยที่มีการนำเข้ารถอีวีจากจีนเข้ามาจำนวนมากและมีส่วนกระตุ้นให้ความนิยมรถยนต์อีวีเติบโตขึ้น
“ในไทยจีนก็ทำตลาด โดยนโยบายรถยนต์อีวี ราคาต่ำ จนส่งผลกระทบต่อญี่ปุ่นที่เป็นเจ้าตลาดรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน และสร้างแรงกดดันให้ กลุ่มรถญี่ปุ่นที่อยู่ในไทย”
ญี่ปุ่นในไทย มองว่า การแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรมก็เกิดขึ้นในไทย และญี่ปุ่นก็รวมกันต่อรองกับรัฐบาล โดยระบุว่า นโยบายของไทยที่สมดุลย์จะทำให้ไทยได้รับเงินลงทุนเม็ดเงินก้อนใหญ่จากญี่ปุ่น ที่มีแผนที่ลงทุนในระยะ3-4ปีข้างหน้าเพื่อปรับปรุง เทคโนโลยียานยนต์ยุคใหม่ ตามแนวทางของญี่ปุ่นเพื่อรองรับการแข่งขันจากจีนซึ่งเชื่อว่า การปรับปรุงของซัพพลายเชนฝั่งรถญี่ป่น มีเม็ดเงินลงทุนมากกว่าทุนจีนที่ลงทุนในไทยถึง 4 เท่าตัว

Advertisements
- Advertisement -

Latest news

Advertising

Related news

- Advertisement -
Exit mobile version