Sunday, November 24, 2024

บีเอ็มดับเบิลยู ไฮบริด330e M sport แล่นเข้าประตูรั้วจุฬา

- Advertisement -spot_imgspot_img
- Advertisement -spot_imgspot_img

กรุงเทพฯ. เมื่อเร็ว ๆ นี้ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมยานยนต์ไฟฟ้า ส่งมอบรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยู 330e M Sport ให้แก่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อร่วมสนับสนุน “โครงการสนับสนุนการศึกษา วิจัย พัฒนาเทคโนโลยีอนุรักษ์พลังงาน

Advertisements

กลุ่มนวัตกรรมสำหรับอนาคต” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างศูนย์วิจัยยานยนต์และระบบขนส่งอัจฉริยะ คณะวิศกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน มุ่งศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลการใช้พลังงานของยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงพฤติกรรมในการขับขี่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปูรากฐานไปสู่อนาคตแห่งยานยนต์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืนในประเทศไทย

นาย คริสเตียน วิดมานน์ ประธาน บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวว่า “หนึ่งในเสาหลักของกลยุทธ์ระดับโลกของบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป คือมุ่งสู่การใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างยั่งยืน ซึ่งบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย พร้อมเสมอที่จะให้การสนับสนุนแก่ภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อร่วมสร้างสรรค์สังคมที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาด เรามุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่านวัตกรรมยานยนต์ทั้งในระบบไฟฟ้าแบตเตอรี่และในระบบปลั๊กอินไฮบริดของบีเอ็มดับเบิลยู จะสามารถต่อยอดและพัฒนาระบบและโครงสร้างพื้นฐานยานยนต์ไฟฟ้าอันมั่นคงในประเทศไทย ให้เติบโตควบคู่ไปกับนโยบายของภาครัฐและความต้องการของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับการลดการใช้พลังงานมากขึ้น”

“โครงการสนับสนุนการศึกษา วิจัย พัฒนาเทคโนโลยีอนุรักษ์พลังงาน กลุ่มนวัตกรรมสำหรับอนาคต” เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือของศูนย์วิจัยยานยนต์และระบบขนส่งอัจฉริยะ คณะวิศกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน มุ่งวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้ยานยนต์ของผู้ขับขี่ในบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และศึกษาอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเฉลี่ยของรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดในประเทศไทย เพื่อจัดทำฐานข้อมูล ประเมินอัตราการใช้พลังงาน รวมทั้งเตรียมความพร้อมด้านข้อมูลและโครงสร้างในการรองรับการเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ปลั๊กอิน ไฮบริด ตอบรับกับแผนระยะยาวของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานที่ได้ตั้งเป้ายอดการใช้รถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดในประเทศไทยไว้ 1.2 ล้านคัน ภายในปี พ.ศ. 2579

รศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ด้วยแนวโน้มผู้ขับขี่ในประเทศไทยที่หันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น เราจึงเล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาระบบและโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวเนื่องกับยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งข้อมูลที่ได้จากโครงการวิจัยในครั้งนี้ เราได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากภาคเอกชนดังเช่นบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นไม่เพียงในด้านของการสร้างสรรค์นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความมีส่วนร่วมของบริษัทฯ กับภาครัฐ ที่จะร่วมพัฒนาและผลักดันประเทศไทยให้ก้าวหน้าเทียบเท่าระดับสากล ซึ่งฐานข้อมูลที่เราจัดทำขึ้นจากโครงการนี้ จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในการวางนโยบายของภาครัฐ และการวางเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่การใช้งานที่ขยายกว้างขึ้นในอนาคต”

Advertisements
- Advertisement -spot_imgspot_img

Latest news

Advertising

spot_img

Related news

- Advertisement -spot_img