ปัจจัยบวกทางเศรษฐกิจ คนไทยเลิกกลัวโควิด-19 ส่งผลดีต่อตลาดรถยนต์เมษายน ทำยอดขายรวม 63,427 คัน เพิ่มขึ้น 9.1% ด้านยอดขายรวม4เดือนปี65(ม.ค.-เมย.) ทิศทางยังโต 16.8%
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนเมษายน 2565 มีตัวเลขการขายรวมทั้งสิ้น 63,427 คัน เพิ่มขึ้น 9.1% ประกอบด้วย
รถยนต์นั่ง 20,492 คัน เพิ่มขึ้น 20.6%
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 42,935คัน เพิ่มขึ้น 4.4%
รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 33,629 คัน เพิ่มขึ้น 3.1%
ยอดขายเม.ย.รับผลบางกอก มอเตอร์โชว์
สำหรับตลาดรถยนต์เดือนเมษายน 2565 มีปริมาณการขาย 63,427 คัน เพิ่มขึ้น 9.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 20.6% ส่วนตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเจริญเติบโตเช่นเดียวกันที่ 4.4% เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ในประเทศไทยเริ่มคลี่คลาย ทำให้ผู้บริโภคกลับมาใช้ชีวิตในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้เกือบเป็นปกติ โดยมีปัจจัยบวกที่สำคัญในช่วงได้แก่ ยอดจองรถในงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 34 ที่มากถึง 31,896 คัน ไม่นับยอดจองรถที่โชว์รูมผู้แทนจำหน่ายทุกยี่ห้อทั่วประเทศ ที่ต่างนำเสนอแคมเปญ “ข้อเสนอเดียวกับมอเตอร์โชว์” อีกเป็นจำนวนมากซึ่งทุกค่ายรถยนต์ต่างเร่งทำการผลิตอย่างเต็มที่ เพื่อส่งมอบรถใหม่ถึงมือลูกค้าได้ทันตามความต้องการ
ทิศทางตลาดรถเดือนพ.ค.65
รายงานระบุถึงแนวโน้มตลาดรถยนต์ในเดือนพฤษภาคม2565 คาดว่ามีการเจริญเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะเข้าสู่ช่วงฤดูฝนที่ไม่ใช่ฤดูการขาย (Low season) แต่ยังได้รับแรงส่งจากตัวเลขการส่งมอบรถที่รับจองในช่วงงานบางกอก มอเตอร์โชว์ 2022 (เม.ย.2565) ส่วนปัจจัยบวกที่สำคัญอย่างยิ่งในช่วงเวลาดังกล่าว คือ การที่ผู้บริโภคเริ่มคลายความกังวลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ที่กำลังจะได้รับการประกาศให้เป็น “โรคประจำถิ่น” สังเกตุได้จากสภาพการจราจรที่กลับมาคึกคักอีกครั้งจากการผ่อนคลายมาตรการ “Work From Home” เพื่อให้พนักงานกลับเข้าทำงานตามปกติ โรงเรียนเริ่มเปิดให้นักเรียนกลับเข้าห้องเรียน รวมทั้งการออกจากบ้านมาทำงานของประชาชนทุกสาขาอาชีพ ล้วนผลักดันเศรษฐกิจโดยรวมให้ฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ และส่งผลต่อความต้องการใช้รถยนต์ของผู้บริโภคให้เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนเม.ย. 2565
- ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 63,427 คัน เพิ่มขึ้น 9.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 21,681 คัน เพิ่มขึ้น 13.2% ส่วนแบ่งตลาด 34.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 16,595 คัน เพิ่มขึ้น 11.0% ส่วนแบ่งตลาด 26.2%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 5,107 คัน ลดลง 5.8% ส่วนแบ่งตลาด 8.1% - ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 20,492 คัน เพิ่มขึ้น 20.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 6,901 คัน เพิ่มขึ้น 39.2% ส่วนแบ่งตลาด 37.8%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 3,969 คัน ลดลง 10.5% ส่วนแบ่งตลาด 21.7%
อันดับที่ 3 ซูซูกิ 2,045 คัน เพิ่มขึ้น 18.0% ส่วนแบ่งตลาด 11.2% - ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 42,935 คัน เพิ่มขึ้น 4.4%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 16,595 คัน เพิ่มขึ้น 11.0% ส่วนแบ่งตลาด 38.7%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 14,780 คัน เพิ่มขึ้น 4.1% ส่วนแบ่งตลาด 34.4%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,529 คัน ลดลง 8.9% ส่วนแบ่งตลาด 5.9% - ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*)
ปริมาณการขาย 33,629 คัน เพิ่มขึ้น 3.1%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 15,451 คัน เพิ่มขึ้น 13.2% ส่วนแบ่งตลาด 45.9%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 12,605 คัน เพิ่มขึ้น 1.4% ส่วนแบ่งตลาด 37.5%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,529 คัน ลดลง 8.9% ส่วนแบ่งตลาด 7.5%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 4,559 คัน
โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ 2,199 คัน
อีซูซุมิวX 1,302 คัน
มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต 641 คัน
ฟอร์ด เอเวอร์เรสต์ 318 คัน
นิสสัน เทอร่า 99 คัน - ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 29,070 คัน เพิ่มขึ้น 5.9%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 14,149 คัน เพิ่มขึ้น 20.7% ส่วนแบ่งตลาด 48.7%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 10,406 คัน ลดลง 0.1% ส่วนแบ่งตลาด 35.8%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,211 คัน ลดลง 2.6% ส่วนแบ่งตลาด 7.6%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – เมษายน 256
ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 294,616 คัน เพิ่มขึ้น 16.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 98,825 คัน เพิ่มขึ้น 31.6% ส่วนแบ่งตลาด 33.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 74,015 คัน เพิ่มขึ้น 15.3% ส่วนแบ่งตลาด 25.1%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 30,731 คัน เพิ่มขึ้น 1.2% ส่วนแบ่งตลาด 10.4%
ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 96,218 คัน เพิ่มขึ้น 17%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 27,237 คัน เพิ่มขึ้น 39.9% ส่วนแบ่งตลาด 29.0%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 23,865 คัน ลดลง 7.4% ส่วนแบ่งตลาด 25.4%
อันดับที่ 3 มาสด้า 8,377 คัน เพิ่มขึ้น 11.0% ส่วนแบ่งตลาด 8.9%- ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 198,398 คัน เพิ่มขึ้น 16.7%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 74,015 คัน เพิ่มขึ้น 15.3% ส่วนแบ่งตลาด 37.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 71,588 คัน เพิ่มขึ้น 28.7% ส่วนแบ่งตลาด 36.1%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 10,908 คัน เพิ่มขึ้น 9.7% ส่วนแบ่งตลาด 5.5% - ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*)
ปริมาณการขาย 156,401 คัน เพิ่มขึ้น 18.5%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 68,607 คัน เพิ่มขึ้น 16.2% ส่วนแบ่งตลาด 43.9%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 62,694 คัน เพิ่มขึ้น 33.0% ส่วนแบ่งตลาด 40.1%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 10,843 คัน เพิ่มขึ้น 12.3% ส่วนแบ่งตลาด 6.9%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 20,815 คัน
โตโยต้า 9,964 คัน – อีซูซุ 6,234 คัน – มิตซูบิชิ 2,781 คัน – ฟอร์ด 1,415 คัน – นิสสัน 421 คัน - ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 135,586 คัน เพิ่มขึ้น 21.2%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 62,373 คัน เพิ่มขึ้น 20.1% ส่วนแบ่งตลาด 46.0%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 52,730 คัน เพิ่มขึ้น 36.5% ส่วนแบ่งตลาด 38.9%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 8,464 คัน ลดลง 7.2% ส่วนแบ่งตลาด 6.2%