Wednesday, December 18, 2024

นิสสัน ฮอนด้า รวมตัวสู้ศึกรถยนต์

- Advertisement -spot_imgspot_img
- Advertisement -spot_imgspot_img

นิสสัน ฮอนด้า มิตซูบิชิ 3แบรนด์ เจรจารวมกิจการ

Advertisements

นิสสันเผชิญวิกฤตการเงินและการบริหาร หลายครั้ง โดยครั้งแรกในช่วงปี 1990 หรือ พ.ศ.2533 จากการที่เศรษฐกิจฟองสบู่ในญี่ปุ่นแตก (Bubble Economy) ทำให้บริษัทในอุตสาหกรรมยานยนต์หลายแห่งประสบปัญหาทางการเงิน รวมถึงนิสสันที่ขาดทุนจากยอดขายรถยนต์ที่ลดลงอย่างรุนแรง การบริหารงานแบบขยายตัวเกินตัว ส่งผลให้หนี้สินพอกพูน เพราะ ขาดทุนสะสม2 ล้านล้านเยน บริษัทต้องเผชิญปัญหาสภาพคล่องจนเกือบล้มละลาย

ในปี 1999 (พ.ศ.2542)นิสสัน ได้ขายหุ้น 36.8% ให้กับเรโนลต์ และแต่งตั้ง คาร์ลอส กอส์น (Carlos Ghosn) เป็นซีอีโอคนใหม่ การเข้ามาของ กอส์น ซีอีโอจากเรโนลต์ กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เขาใช้กลยุทธ์ Nissan Revival Plan ซึ่งประกอบด้วย การลดต้นทุนการผลิต ปลดพนักงาน 21,000 ตำแหน่งทั่วโลก การปิดโรงงานที่ไม่ทำกำไร การมุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น Nissan X-Trail และ Nissan Altima และภายในปี 2001 (พ.ศ.2544) นิสสันกลับมามีกำไรครั้งแรกในรอบ 7 ปีกอส์นกลายเป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยฟื้นฟูชื่อเสียงของนิสสันในตลาดโลก

ต่อมา นิสสันมีผลดำเนินงานที่ได้รับผลกระทบจาก วิกฤตการเงินโลก 2008(พ.ศ. 2551) ซึ่ง วิกฤตเศรษฐกิจโลกส่งผลให้ความต้องการซื้อรถยนต์ลดลง การแข่งขันในตลาดสหรัฐฯ รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะจากผู้ผลิตรถยนต์ในสหรัฐฯ ทำให้ยอดขายทั่วโลกลดลงอย่างหนัก นิสสันจำเป็นต้องลดกำลังการผลิตและปรับโครงสร้างองค์กรเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามนิสสันเผชิญปัญหาภายใน จากการบริหาร คาร์ลอส กอส์น 2018( พ.ศ2561)

มีการจับกุม คาร์ลอส กอส์น ในข้อหาทุจริตทางการเงิน และเกิดความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารในพันธมิตร Renault-Nissan-Mitsubishi ทำให้ ความเชื่อมั่นในองค์กรลดลงอย่างรุนแรง ยอดขายลดลงในหลายภูมิภาค โดยเฉพาะญี่ปุ่นและสหรัฐฯ นิสสันมีการแต่งตั้งผู้บริหารใหม่และวางแผนฟื้นฟูองค์กร โดยลดการพึ่งพาการขายในตลาดขนาดใหญ่เพียงไม่กี่แห่ง มีการยกเลิกโมเดลรถยนต์ที่ทำกำไรต่ำแม้ยอดขายยังไม่กลับมาเป็นปกติ แต่องค์กรเริ่มปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้ดีขึ้น ก่อนที่นิสสันจะเผชิญหน้า วิกฤตครั้งสำคัญ จากการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่มุ่งเน้นไปที่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) และไฮบริด
การแข่งขันในตลาดจีนจากแบรนด์ในประเทศจีน เช่น BYD และ NIOในตลาดสหรัฐฯ ความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น แต่นิสสันไม่มีผลิตภัณฑ์ที่สามารถแข่งขันได้

ทำให้ยอดขายในสหรัฐฯ จีนลดลงอย่างหนัก รวมถึงภูมิภาคอื่นๆ เช่น ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิสสันเริ่มขาดทุนจากการดำเนินงานในบางไตรมาส แม้ว่า นิสสันจะเร่งพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า เช่น Nissan Ariyaออกมา เพื่อแข่งขันในตลาดรถยนต์ไฟฟ้า มีการประกาศปรับโครงสร้างองค์กร ลดกำลังการผลิต และปลดพนักงาน

ล่าสุด บริษัทฮอน ด้า มอเตอร์ และบริษัท นิสสันมอเตอร์ กำลังเตรียมที่จะเริ่มการเจรจาเกี่ยวกับการควบรวมกิจการที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งในที่สุดอาจขยายไปรวมถึงบริษัทมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ด้วย สำนักข่าวนิกเคอิของญี่ปุ่นรายงานเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2567

Advertisements
- Advertisement -spot_imgspot_img

Latest news

Advertising

spot_img

Related news

- Advertisement -spot_img