หลังจากที่มีกระแสรถึงความล่าช้าในการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าของค่ายรถยนต์ญี่ปุ่น จนถูกรถจากจีนเบียดแซงหน้าไปในโอกาสที่งานแสดงรถยนต์ประจำปีของฝั่งรถญี่ปุ่นคือ Japan Mobility Show 25 (JMS23) ซึ่งเปลี่ยนชื่อจากโตเกียว มอเตอร์โชว์ แต่ยังจัดแสดงที่บิ๊กไซด์เหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา ท่ามกลาง กระแสรถยนต์ไฟฟ้าที่ไหล่บ่า จับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรมวันนี้เรามาดูสิ่งที่ค่ายรถญี่ปุ่นพยายาจะสื่อและเป็นการหาคำตอบว่า อนาคตของรถยนต์ญี่ปุ่นนั้นจะเป็นไปในทิศทางใด
มาสด้าICONIC SPไม่ธรรมดาจากค่ายคนรักรถ
สปอร์ตคอมแพคคาร์เจเนอเรชั่นใหม่ สวยสกดทุกสายตานั่น มาสด้า ICONIC SP มาสด้าปล่อยรถคันนี้ออกมาล่าฝัน”คนรักรถ”
อดีตที่ผ่านมา มาสด้าเป็นค่ายที่เคยตกต่ำ แต่ด้วยการนำเทคโนโลยี และดีไซด์มาเป็นกลยุทธ์ทำให้มาสด้า ฟื้นฟูแบรนด์จากแบรนด์ติดลบมาอยู่ในแนวหน้าได้
มาสด้าผ่านความตกต่ำ เพราะมุ่งไปเทคโนโลยีโรตารี่ซึ่งสุดท้ายนำมาซึ่งปัญหาการเงิน ตนต้องหยุดและได้โคโดะดีไซด์และสกายแอคทีฟมาช่วย แต่พอมาถึงยุคเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้ามาสด้าดูนิ่งสนิทไปเลยทีเดียวมาสด้าเป็นอีกค่ายหนึ่งที่ยืนแถวหน้าว่าไฟฟ้ายังไม่เหมาะกับการนำมาใช้ ทำให้ติดกลุ่มรถญี่ปุ่นที่ไม่เอาไฟฟ้า ท่าทีของค่ายญี่ปุ่นอื่นๆ ที่เคลื่อนตัวช้าเกิดจากปัจจัยมากมายหลายอย่าง งานJMS2023 มาสด้าได้เผยโฉมรถ MAZDA ICONIC SP รถยนต์คอนเซ็ปต์ แบบสปอร์ตคอมแพ็ค หรือรถกลุ่ม มาสด้า 3 ที่มีขนาดกะทัดรัด สิ่งที่มาสด้านำเสนอในรถไม่ใช่แค่เทคโนโลยี EV แบบจ๋าๆ แต่ว่ามาสด้า พยายามนำเสนอสิ่งที่มากกว่ารถและเทคโนโลยีทั่วไป ธีมของมาสด้า คืออนาคตที่เกิดจาก ‘ความรักในรถยนต์’
“ตามปรัชญาการพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง เราต้องการทําการวิจัยเกี่ยวกับผู้คนให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และกระชับความสัมพันธ์ของเรากับรถยนต์เพื่อเติมพลังให้กับพวกเขา และเราต้องการฝึกฝนเทคโนโลยีดังกล่าว สร้างโอกาสในการสัมผัสกับพวกเขาร่วมกัน และหล่อเลี้ยงความรู้สึกว่าเรารักรถยนต์ มีพนักงานหลายคนที่มาสด้าที่หลงใหลในการทําให้สิ่งนี้เกิดขึ้น”มาสด้าจะยังคงให้บริการรถยนต์ที่ทําให้ลูกค้ารู้สึกว่ารถยนต์สนุกและดี”คำกล่าวของ ประธานและซีอีโอ Masahiro Moro ในงานเปิดตัวโมเดล “MAZDA ICONIC SP”
แม้ว่ามาสด้าไม่ได้พูดถึงนวัตกรรมแบบค่ายรถทั่วไปแต่ว่าในขุมพลังของรถคอนเซ็ป คาร์ตัวใหม่ก็มีเทคนิคที่นำสมัยในการนำพาไปสู่เป้าหมาย การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์
MAZDA ICONIC SP เป็นแนวคิดรถสปอร์ตขนาดกะทัดรัดแนวใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของคน “รักรถยนต์” และ “เพลิดเพลินกับรถยนต์อย่างแท้จริง” มาสด้า ปรับให้เข้ากับยุคสมัยด้วยการใช้ขุมลพัง ระบบโรตารี่-อีวี แบบคู่ ที่มีขนาดกะทัดรัดที่เป็นเอกลักษณ์ของ Mazda มีความยืดหยุ่นในการจัดวางในระดับสูง และมีจุดศูนย์ถ่วงต่ําที่ทําให้เกิดคุณภาพการขับขี่ เมื่อแบตเตอรี่ออนบอร์ดถูกชาร์จด้วยไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานหมุนเวียนแบตเตอรี่สามารถทํางานบนเชื้อเพลิงที่เป็นกลางทางคาร์บอนได้ สีแผงด้านนอกสีแดงสด VIOLA RED เป็นสีแนวคิดที่สร้างขึ้นโดยการซ้อนทับปรัชญาองค์กรของ Mazda ที่ว่า “การขยายวงของผู้คนที่อาศัยอยู่ในปัจจุบันด้วยความคิดเชิงบวก” ตามความปรารถนาของ Mazda ที่จะให้คุณค่ากับสีแดง
มิติของมาสด้า ICONIC SP
ยาว x กว้าง x สูง (mm) | 4,180 × 1,850 × 1,150 |
ระยะฐานล้อ (มม.) | 2,590 |
อัตราส่วนกําลังต่อน้ําหนัก | 3.9 |
กําลังสูงสุด (PS) | 370 |
น้ําหนักรถ (กก.) | 1,450 |
BEV 1000 กม.โตโยต้า คิดใหญ่แต่ช้า
ยานยนต์ของญี่ปุ่น สนใจความเคลื่อนไหวของโตโยต้าเป็นอย่างมากเพราะ รถยนต์จากญี่ปุ่นรายนี้ยังไม่มีผลิตภัณฑ์ที่แข่งขันได้โดยตรงในตลาดของยานยนต์ไฟฟ้า ในงาน Japan Mobility Show ปี 2023 นิสสัน โตโยต้าได้ส่งคอนเซ็ป คาร์มาแสดงมากมายแต่ดูเหมือนมันก็ยังไม่ใกล้นักในการนำไปสู่ โปรดักซ์ชั่นคาร์
ธีมของบูธโตโยต้าคือ “ค้นหาอนาคตของคุณ”และด้วยคำคมของสปีดประธานโตโยต้า ที่ว่า”อนาคตไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนสามารถตัดสินใจได้ แต่เป็นสิ่งที่ทุกคนสร้างขึ้น” โตโยต้าดูเหมือนจะยังห่างไกลอนาคตสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ขายไปในตลาดวงกว้าง
ดูเหมือนโตโยต้าจะพูดถึง กุญแจสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า ที่แท้จริงนั้นคือ การทําให้รถยนต์มีขนาดเล็กต่ําและเบาตั้งแต่รถสปอร์ตไปจนถึง SUV รถปิคอัพรถตู้ขนาดเล็กเพื่อสามารถสร้างกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายพร้อมคุณสมบัติที่ดี ซึ่งน้ำหนักเบาหมายถึงการลดการใช้พลังงาน สามารถเพิ่มระยะวิ่งได้ไกลขึ้นซึ่งแนวคิดนี้เป็นความท้าทายเริ่มต้นของการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าอยู่แล้วแต่จะมีใครทำให้เป็นรูปธรรมแบบเบรคทรูเทคโนโยลี เหมือนที่ค่ายญี่ปุ่นเคยทำได้ในอดีต สำหรับโตโยต้าเป้าหมายระยะวิ่งตามแนวคิดนี้ คือแบตเตอรี่ที่มีระยะทำการ 1,000 กิโลเมตร ไม่ใช่ 500-600กม.แบบปัจจุบัน ด้วยการพัฒนาโครงสร้างรถ พัฒนาอากาศพลศาสตร์ เป้าหมายคือ ค่าCD ให้ได้ 0.2รวมถึงการพัฒนาแบตเตอรี่
บนเวทีของโตโยต้า มีการจัดแสดงรถครั้งแรกในโลกคือ LF-ZC รถคอนเซ็ป EVรุ่นต่อไปที่มีกําหนดเปิดตัวในปี 2026 มีการเปิดเผยถึง แพลตฟอร์ม EV รุ่นต่อไปรวมกับเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ไฟฟ้าล่าสุดเพื่อให้เกิด “ความสนุกสนานในการขับขี่” พร้อมกับแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ใหม่ “Arene OS” และการเปิดตัวรอบปฐมทัศน์โลกของรถคอนเซปคาร์ LF-ZL เรือธงของรถ EVs ของแบรนด์ LEXUS
นอกจากนี้ยังมีรถยนต์ คอนเซ็ป คาร์ FT-3E(พราโด) ซึ่งเป็นรถเอสยูวี ในกลุ่มแลนด์ครูยเซอร์ และรถสปอร์ตน้ำหนักเบา เอฟที-เอสอีที่โตโยต้า โชว์บนเวที โตโยต้าเน้นมาที่เรื่องราวของกระบะ IMV-0 หรือไอเอ็มวี ซีโร่ ที่จะมีการเปิดตัวในตลาดเร็วๆนี้โตโยต้าได้แสดงให้เห็นถึงความเอนกประสงค์ของการเปลี่ยนลักษณะการใช้งานตามความต้องการของลูกค้า เช่น รถขนผักและผลไม้ รถคาเฟ่ รถสำนักงานร้านกาแฟ รถบรรทุกอาหาร หรือทำเป็นบาร์ในเวลากลางคืน ซึ่งบนเวทีมีการเสนอแนวคิดการปรับแต่งต่างๆ หลายคันซึ่งหากเราดูความเคลื่อนไหวจริงๆ แล้ว IMV-0 นี่ล่ะคือ รถอีวี ในตลาดแมสที่พร้อมที่สุดของโตโยต้าซึ่งตลาดใหญ่ที่สุดสำหรับกระบะแล้่วโตโยต้าคือผู้ครอบครองตลาดนี้ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจหากโตโยต้าจะทุ่มเทเพื่อ เก็บตลาดนี้ไว้ก่อนที่ค่ายรถจีนคู่แข่งจะไหวทัน
นิสสันเป็นหนึ่งใน3 อันดับแรกของรถญี่ปุ่นที่ “ตื่นตัว” ในรถยนต์ไฟฟ้า วางแผนที่จะลงทุนเพื่อเปิดตัวรุ่นขับเคลื่อนไฟฟ้า ภายในปีงบประมาณมากมายในงานปีนี้นิสสันได้จัดแสดงกลุ่มผลิตภัณฑ์แนวคิดเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าที่น่าสนใจ ซึ่งตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในด้านการเคลื่อนที่ด้วยพลังงานไฟฟ้า นอกเหนือจาก 4 คอนเซ็ปต์ “ไฮเปอร์ คาร์” ที่เปิดเผยไปก่อนหน้านี้แล้วนิสสันได้เปิดตัวรถคอนเซ็ปคาร์แนว ไฮเปอร์ ตัวใหม่นั่นคือ ไฮเปอร์ ฟอร์ซซึ่งได้รับฉายาว่า สัตว์ประหลาดตัวจริงด้วยขนาดมอเตอร์ 1,000kW พร้อมระบบขับเคลื่อน4 ล้อที่เรียกว่า e4orce นิสสัน ไฮเปอร์ เออร์บัน (Nissan Hyper Urban) รถยนต์ครอสโอเวอร์พลังงานไฟฟ้ารุ่นแรกที่เปิดตัวในรูปแบบดิจิทัลระหว่างการจัดงาน ใช้คําว่า “ไฮเปอร์” เพื่อแสดงวิสัยทัศน์ของนิสสันเกี่ยวกับรถเอสยูวีในเมืองในอนาคต
ในปี 2023 ฮอนด้าประกาศการลงทุนมูลค่า 4หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าหลายสิบรุ่นภายในปี 2030 ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าและไฮบริด คิดเป็น 40% ของยอดขายทั้งหมดฮอนด้า
บนเวทีJMS2023 ฮอนด้าให้ความสำคัญกับ “ความสุขในการขับขี่” เป็นแนวคิด ที่รวบรวมความคิดด้านกีฬาที่ไม่เปลี่ยนแปลงและบุคลิกลักษณะที่โดดเด่น โดยมีรถเด่นคือ พรีรูด ซึ่งชื่อนี้ที่นำกลับมาใช้อีกครั้ง
ฮอนด้า ยังคงพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า อย่างช้าๆ จากความร่วมมือกับจีเอ็ม เพื่อพัฒนารถรุ่นใหม่ๆ ที่ใช้แพลตฟอร์มจาก ออโต้นีออนเพื่อลดการวิจัยและพัฒนา และต้นทุนการผลิต รถเอสยูวีรุ่นPrologue ที่เพิ่งเปิดตัวใหม่ นําเสนอการขับเคลื่นอ สองระบบคือระบบขับเคลื่อนล้อหน้าแบบมอเตอร์เดี่ยวและระบบขับเคลื่อนสี่ล้อแบบมอเตอร์คู่ เหมือนว่าการขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์รถยนต์ไฟฟ้าของ Honda จะมุ่งเน้นไปสําหรับตลาดอเมริกาเหนือ เป็นส่วนใหญ่สำหรับในเอเซียแล้วมีเพียงที่จีนเท่านั้นที่ฮอนด้าทำได้ดีเพราะว่าเป็นพันธมิตรกับตงฟง มอเตอร์ กรุ๊ป ส่วนในไทยในเร็วๆนี้ยังไม่มีอะไรคืบหน้าจากฮอนด้า
ก่อนหน้าจะมีงาน JMS2023 วงการยานยนต์โลกมีการจัดแสดงงานใหญ่ 2งานคือ งานเซี่ยงไฮ้มอเตอร์โชว์และงานมิวนิคมอเตอร์โชว์ซึ่งเราเห็นรถยนต์ไฟฟ้า ลงมาอวดโฉมราวกับพายุ ในขณะที่ภาพรวมงานJMS2023 ค่ายรถญี่ปุ่นในฐานะเจ้าภาพ ก็อวดโฉมผลิตภัณฑ์ใหม่ อย่างเต็มที่รถที่แสดงบนเวทีคือความลับที่ซ่อนอยู่ ผู้อ่านคิดอย่างไรกับอนาคตของ
ซูซูกิ eVX: รถยนต์ไฟฟ้าคันแรกของซูซูกิ
ค่ายเล็กๆ อย่างซูซูกิ กลับเป็นค่ายค่ายรถญี่ปุ่นที่มีความเคลื่อนไหวน่าสนใจ เพราะซูซูกิได้เผยโฉมรถ eVX รถ SUV ไฟฟ้าขนาดเล็กและเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตแบบแมส คันแรกของแบรนด์ซูซูกิ รูปทรงของรถทั้งคันสร้างความรู้สึกหนักแน่นโดยยังคงรักษารูปทรงของรถคอนเซ็ป คาร์ ก่อนหน้านี้
ในแง่ของพลังงาน Suzuki eVX อาจใช้แบตเตอรี่แบบเบรทด์ ของ BYD ที่มีความจุ 60 kWh และระยะทางวิ่งราว 550 กิโลเมตรและอาจใช้เกียร์สองสปีดสําหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่พัฒนาร่วมกันโดย Suzuki และ Inmotive ของแคนาดา
สวิฟท์ใหม่มาดังกว่ารถไฟฟ้า
ในงานJMS2023 ปีนี้ซูซูกิยังได้โชว์ รถคอนเซ็ป Speedwing ซึ่งตีความกันไปแล้วว่านี่คือ รุ่นต่อไปของซูซูกิ สวิฟท์ ที่จะนําไปผลิตและเปิดตัวในปี 2024
ซูซูกิยังยังคงรักษาสไตล์การออกแบบของรุ่นปัจจุบันไว้ ตัวถัง ออกแบบใหม่ทั้งหมดมีความคล่องตัวมากขึ้นและกระจังหน้ารังผึ้ง fishmouth ไฟหน้า LED รูปแบบใหม่ ติดตั้งเซ็นเซอร์เรดาร์ที่กระจกมองหลังและส่วนบนของกระจังหน้าและยังมีกล้องใต้กระจกมองข้างซึ่งหมายความว่ารถใหม่จะได้รับการปรับปรุงในแง่ของความสามารถในการขับขี่
จากด้านข้างของรถมือจับประตูด้านหลังถูกย้ายจากด้านข้างของเสา C ไปยังตําแหน่งปกติโปรไฟล์ไฟท้ายก็เปลี่ยนไปอย่างมาก ด้านขวาของประตูท้ายมีตราสัญลักษณ์ “ไฮบริด” ส่วนภายในก็เปลี่ยนคอนโซลใหม่หมด
ข้อมูลกําลังของรถยังไม่ได้รับการเผยแพร่อย่างเป็นทางการ แต่เชื่อว่า ยังคงผลิตบนแพลตฟอร์ม Heartect ขุมพลังอาจมีการ อัพเกรดระบบไฮบริด พร้อมเครื่องยนต์เบนซิน 1.2 ลิตรที่ติดตั้งในรุ่นปัจจุบัน
นี่คือส่วนหนึ่งของความเคลื่อนไหวของค่ายใหญ่ฝั่งญี่ปุ่นก่อนหน้าจะมีงาน JMS2023 วงการยานยนต์โลกมีการจัดแสดงงานใหญ่ 2งานคือ งานเซี่ยงไฮ้มอเตอร์โชว์และงานมิวนิคมอเตอร์โชว์ซึ่งเราเห็นรถยนต์ไฟฟ้า ลงมาอวดโฉมราวกับพายุ ในขณะที่ภาพรวมงานJMS2023 ค่ายรถญี่ปุ่นในฐานะเจ้าภาพ ก็อวดโฉมผลิตภัณฑ์ใหม่ อย่างเต็มที่รถที่แสดงบนเวทีคือความลับที่ซ่อนอยู่ ผู้อ่านคิดอย่างไรกับอนาคตของ