ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา รถยนต์ญี่ปุ่นเคยครองตลาดโลกด้วยคุณภาพ ความน่าเชื่อถือ และการปรับตัวที่ดีต่อความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน รถยนต์จากญี่ปุ่นกลับเผชิญความท้าทายที่เพิ่มขึ้นทั้งจากรถยนต์จีนและยุโรปในหลายภูมิภาคและด้านต่างๆ ทำไมอุตสาหกรรมรถยนต์ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับความพ่ายแพ้ในเชิงยุทธศาสตร์ของโลกยานยนต์ในบางประเด็นสำคัญ
- การเข้าถึงตลาดเกิดใหม่
ญี่ปุ่น: แม้ว่าผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นจะทำรถยนต์เพื่อจำหน่ายในตลาดเกิดใหม่ เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา แต่การปรับตัวของผลิตภัณฑ์มักเป็นเพียงรุ่นย่อย ที่ดัดแปลงจากโมเดลหลักหรือไม่ก็เป็นรถญี่ปุ่น ที่ถูกออกแบบเพื่อเจาะจงตลาดนี้โดยตรงทำให้เกิดการด้อยค่า ในสายตาของผู้ใช้งานโดยเฉพาะคุณภาพของรถและคุณค่าที่ให้เมื่อเทียบกับเงินที่จ่ายเนื่องจากมีการเปรียบเทียบกับ เทคโนโลยีการออกแบบ ที่ล้าหลังขณะที่การเปลี่ยนรุ่นแต่ล่ะครั้งก็แทบจะไม่ให้คุณค่าอะไรเพิ่มเติม
จีน: ในขณะที่ผู้ผลิตรถยนต์จีนเริ่มทำรถยนต์ราคาประหยัดที่ออกแบบมาเฉพาะเพื่อจำหน่ายในตลาดเกิดใหม่ เช่น แอฟริกาและเอเชีย ผู้ผลิตจีนมีความเข้าใจตลาดเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากทั้งในแง่ราคาและความสามารถในการผลิตต้นทุนต่ำ
เป็นสิ่งที่จีนมองเห็นช่องโหว่เหล่านี้
ยุโรป: ผู้ผลิตรถยนต์ยุโรปมุ่งเน้นไปที่ตลาดที่มีศักยภาพสูงและราคาสูง ไม่ค่อยเข้าถึงตลาดเกิดใหม่ด้วยผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม จึงทำให้รถยุโรปขาดความสามารถในการแข่งขันในภูมิภาคตลาดเกิดใหม่ สิ่งเหล่านี้สะท้อนความเป็นไปของอุตสาหกรรมได้อย่างดีในประเทศไทย - ราคาที่เข้าถึงได้และการลดต้นทุน
ญี่ปุ่น: รถยนต์ญี่ปุ่นบางรุ่นมีราคาที่เข้าถึงได้ แต่เกิดจากการลดต้นทุนอย่างหยั่งลึก เพื่อตอบโจทย์การทำกำไร ซึ่งในตลาดที่อ่อนไหวต่อราคาได้ส่งผลต่อคุณภาพรถยนต์ญี่ปุ่นอย่างเห็นได้ชัด การปรับลดต้นทุนเชิงลึกนี้ทำให้รถยนต์ญี่ปุ่นบางรุ่นสูญเสียคุณค่าที่ เคยทำไว้อย่างโดดเด่นจะเห็นว่าช่องโหว่นี้ทำให้แบรนด์รถจีนเข้าสู่ตลาด ได้ง่ายแม้การรับรู้หรือรู้จักแบรนด์ยังแทบไม่มีในตลาดไทย สิ่งเหล่านี้มีผลต่อรถญี่ปุ่น ตลาดค่อยซึมซับไปจนสุดท้ายตลาดปฎิเศษแบบฉับพลันต่อรถญี่ปุ่นที่ลดต้นทุนอย่างหนักและเปิดช่องโหว่ให้รถหน้าใหม่เข้าสู่ตลาดอย่างง่ายดาย
จีน: ผู้ผลิตรถยนต์จีนมีความสามารถในการผลิตรถยนต์ราคาประหยัดโดยไม่กระทบต่อคุณภาพ ทำให้สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าในตลาดเกิดใหม่ เอเซีย อาฟริกา หรือโซนที่พัฒนาแล้วอย่างยุโรปซึ่งหากไม่มีการกัดกันการค้า จีนน่าจะไปได้ไกลในหลายภูมิภาค
ยุโรป: รถยนต์ยุโรปส่วนใหญ่มีราคาสูงกว่าและไม่ได้มุ่งเน้นที่การผลิตรถยนต์ราคาถูก สำหรับทำตลาดที่อ่อนไหวต่อราคา ทำให้ขาดความสามารถในการแข่งขันในตลาดระดับล่างจะเห็นว่า ตลาดไทยนั้นรถที่มีชื่อเสียงในตลาดล่างของยุโรปอย่าง โฟล์ค เปอโยต์ เรโนลต์ไม่สามารถเจาะตลาดไทยได้เลย - นโยบายแลกผลิต OEM
ญี่ปุ่น: ผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นมีนโยบายในการผลิตและแลกเปลี่ยนรถยนต์กับบริษัทอื่น (OEM) เพื่อขยายตลาดและลดความเสี่ยง ซึ่งทำให้สามารถเจาะตลาดได้ในหลายประเทศ แบรนด์ที่เป็นคู่แข่งในบางประเทศเช่น โตโยต้ากับซูซูกิ กับเป็นพันธมิตรกันในอีกประเทศหนึ่ง เช่น โตโยต้านำรถของซูซูกิเข้าทำตลาดในอินเดีย
จีน: ผู้ผลิตรถยนต์จีนยังไม่มีนโยบายการแลกผลิตกับ OEM อย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีการพัฒนากลยุทธ์การผลิตและการออกแบบเป็นของตัวเอง ทำให้เกิดการแข่งขันอย่างรุนแรง
ยุโรป: การแลกเปลี่ยน OEM กับผู้ผลิตรายอื่นยังคงมีอยู่ในระดับเล็กน้อย เนื่องจากยุโรปให้ความสำคัญกับนวัตกรรมและความเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ เราแทบไม่เห็นแบรนด์ยุโรปมีการแลกรถกันทำตลาดเลย - ขนาดตลาดในประเทศ กับอีโคโนมีออฟสเกล
ญี่ปุ่น: แม้ตลาดในประเทศของญี่ปุ่น จะมีขนาดใหญ่แต่ก็ไม่สนับสนุนการเติบโตของผู้ผลิตรถยนต์ตัวเองมากนัก เนื่องจากความอิ่มตัวของตลาดในประเทศและรสนิยมในผลิตภัณฑ์เฉพาะตัว ทำให้ผู้ผลิตญี่ปุ่นต้องพึ่งพาตลาดโลกเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน รถบางรุ่นที่ญี่ปุ่นผลิตออกจำหน่ายจึงไม่มีขายในประเทศตัวเอง
จีน: รถยนต์จีนได้รับการสนับสนุนจากตลาดในประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีส่วนอย่างมากช่วยให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมได้ต่อเนื่อง ยอดขายของรถจีน บางรุ่น ทำสดิติว่าเป็นรถที่ขายดีที่สุดในโลกแต่ไม่ได้มีบทบาทหรือได้รับความนิยมในประเทศที่เป็นตลาดหลักภูมิภาคอื่นๆของโลกจะมีเพียงแบรนด์BYD แบรนด์เดียวที่ก้าวข้ามประเด็นนี้ได้
ยุโรป: ผู้ผลิตยุโรปยังคงได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งแกร่งจากตลาดในยุโรป แต่ตลาดที่อิ่มตัวและความต้องการที่เปลี่ยนแปลงทำให้ต้องขยายไปยังตลาดนอกยุโรปมากขึ้น
“สิ่งที่ญี่ปุ่นกำลังปรับตัวอย่างหนักคือ การเพิ่มคุณค่ารถและการร่วมมือกันทางด้านเทคโนโลยี เพื่อประหยัดต้นทุน หวังจะรับมือกับการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในอนาคต“
- การตลาดและการชำนาญในพฤติกรรมผู้บริโภค
ญี่ปุ่น: ผู้ผลิตญี่ปุ่นมีความชำนาญในการปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในหลายประเทศ จึงได้รับความนิยมอย่างสูงในตลาดสำคัญๆ แต่บางครั้งรถญี่ปุ่นยังขาดความยืดหยุ่นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ตลาดที่พัฒนาแล้วและตลาดเกิดใหม่ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
จีน: รถยนต์จีนยังไม่ค่อยมีความเข้าใจในพฤติกรรมผู้บริโภคนอกประเทศจีนมากนัก แต่ก็พยายามปรับปรุงด้านการตลาดเพื่อตอบโจทย์ตลาดโลกซึ่งยังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการทดลองผิดทดลองถูกกว่าจีนจะผ่านกำแพงนี้ไปได้
ยุโรป: ผู้ผลิตยุโรปมีความชำนาญในการทำการตลาดระดับสากล และมีความเข้าใจในพฤติกรรมผู้บริโภคในหลายภูมิภาค โดยเฉพาะในตลาดที่เน้นคุณภาพและแบรนด์ ดังจะเห็นว่า ความจงรักภักดีของแบรนด์ยุโรปมีความมั่นคง เหนียวแน่นที่สุดกว่ารถคู่แข่ง - การผลิตและห่วงโซ่อุปทาน
ญี่ปุ่น: ญี่ปุ่นมีเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่งทั่วโลก ซึ่งเป็นจุดแข็งที่สำคัญ แต่เมื่อเทียบกับจีนที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้สูงกว่าญี่ปุ่น อาจทำให้ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับความท้าทายด้านต้นทุนการผลิตในระยะยาว
จีน: ผู้ผลิตจีนมีห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่งภายในประเทศ ซึ่งทำให้ลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างไรหากจีนออกมานอกพื้นที่ของตัวเองอย่างเช่นในไทย ซัพพลายเออร์ส่วนใหญ่เป็นญี่ปุ่นจึงเป็นงานยากของแบรนด์จีนที่จะประโยชน์จากส่วนนี้ได้
ยุโรป: ห่วงโซ่อุปทานของยุโรปมีความหลากหลายแต่ยังมีข้อจำกัดในการจัดหาและผลิตชิ้นส่วนที่สำคัญภายในภูมิภาค
แม้ญี่ปุ่นจะมีความสามารถในการแข่งขันด้านเทคโนโลยีและการวิจัยพัฒนา แต่ความท้าทายในเรื่องการลดต้นทุน แต่การแข่งขันกับจีนในตลาดเกิดใหม่ และการปรับตัวกับความต้องการของผู้บริโภคในภูมิภาคต่างๆ ทำได้ไม่ดีนัก
ส่งผลให้ ผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นเริ่มสูญเสียความได้เปรียบในตลาดโลก และสิ่งที่ญี่ปุ่นกำลังปรับตัวอย่างหนักคือ การเพิ่มคุณค่ารถและการร่วมมือกันทางด้านเทคโนโลยี และเพื่อประหยัดต้นทุน หวังจะรับมือกับการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในอนาคต