Friday, September 20, 2024

จับตาความสัมพันธ์BYD ปูนใหญ่ฯ -ไรเซน เอนเนอร์จี (ลีนุตพงษ์) จะกลายเป็นเส้นขนาน

- Advertisement -spot_imgspot_img
- Advertisement -spot_imgspot_img
อภิชาติ ลีนุตพงษ์

ความสัมพันธ์2ปี ระหว่างค่ายรถจีน บีวายดี(BYD) กับนักลุงทุนชาวไทยกำลังถึงรอยต่อหลังจากที่กระแสข่าว รายงานถึง พันธมิตรรายใหม่ของบีวายดี กับบริษัทในเครือปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งต่างเป็นยักษ์ใหญ่ทั้งคู่ในขณะที่เอสซีจีเข้ามาแล้วบทบาทของ “ไรเซน เอนเนอร์จี”ที่มี คนหนุ่มอย่าง อภิชาติ ลีนุตพงษ์ และพันธมิตร รวมถึง เอเจฯ กำลังจะวางบทบาทอย่างไร แต่ที่แน่ๆ 2ปีกว่าๆการเจรจาและการทำตลาดเชิงรุกของบีวายดีในเมืองไทยช้าไปหรือไม่สุดท้าย ความสัมพันธ์ของ BYd จะให้น้ำหนักอย่างไรต่อพันธมิตร
ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง แบบพลิกโลกของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่รถที่ใช้เครื่องยนต์IEC กำลังจะถึงทดแทนด้วยBEV  (รถยนต์มอเตอร์ไฟฟ้า)ใครก็ตามที่กล้าบุกตะลุยก่อนเพื่อน ถ้าจังหวะมา  โชคดีเข้าก็แจ้งเกิดไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้นั่นหลายถืง การเกิดใหม่ของมหาเศรษฐีอีกมากมาย
ในเมืองไทยนอกจากค่ายรถยนต์เริ่มปรับเปลี่ยนทิศทางรองรับBEV กันแล้วอย่างเอ็มจี( MG) หรือฮุนได (hyundai ) นักลงทุนไทย กลุ่มหนึ่งที่ร่วมเกาะรถไฟฟ้า เพื่อก้าวไปกับนวัตกรรมยานยนต์ ได้แก่  ไรเซน เอนเนอร์จี -บริษัท คนไทยที่  ร่วมทุนกับ บีวายดี (BYD) ยักษ์ใหญ่ของจีน ในการปูทางสู่รถยนต์ไฟฟ้าเมืองไทยเมื่อปี2560
ไรเซน เอนเนอร์จี   มีทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 50 ล้านบาท มีพาร์ทเนอร์ใหญ่ 2 กลุ่มคือ เอเจ 45% ร่วมกับ นายอภิชาติ ลีนุตพงษ์ (ดูคาติ ไทยแลนด์ ,ลัมโบกินี่, รอยังแอนด์ฟิวด์, ) ถือหุ้น 25% , นายบรมกช ลีนุตพงษ์ ถือหุ้น 10% , นายรณชัย จินวัฒนาภรณ์ อดีตผู้บริหารยนตรกิจปัจจุบัน ผู้บริหารดีลเลอร์ ซูบารุ และตัวแทนจำหน่ายรถบรรทุกMANในลาว  ถือหุ้น 10% ,นายนัยสันต์ จันทรศรี ถือหุ้น 5% และนายจาตุรนต์ โกมลมิศร์ ผู้บริหาร กรังปรีซ์กรุ๊ป ถือหุ้น 5%
เมื่อปี2561 ในความร่วมมือกับ บีวายดีใช้ลงทุนก้อนแรกมูลค่า 50-100 ล้านบาท เป้าหมายของ ไรเซนฯคือ นำเข้าและจัดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ภายใต้แบรนด์ BYD แต่เนื่องจากในมุมมองของบีวายดีมองว่าเมืองไทยยังไม่พร้อมสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลดังนั้นแผนการตลาดของไรเซนฯจึงเปิดตลาดด้วยรถฟีดเป็นหลักเป้ามหายปีแรกวางเป้าไว้ว่าจะขายขายรถเก๋งรุ่น e6 จำนวน 500 คัน และรถบัส eBus จำนวน 20 คัน จากนั้นอีก3-5ปีค่อยเปิดตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคล
ในขณะที่ ฝั่งของ บีวายดีนั้น เครือข่ายของ BYDได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2555 เมื่อมี ทดลองนำ รถ e6 มาใช้เป็นรถยนต์อย่างเป็นทางการสำหรับการไฟฟ้านครหลวง ( MEA )ได้ทดลองใช้ นอกจากนี้ รถบัสไฟฟ้า K9 ก็ได้ถูกนำไปใช้โดยกลุ่ม ล็อกเลย์(Loxley) ยักษ์ใหญ่ในภาคอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์เพื่อเริ่มต้น ‘กลยุทธ์การใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย
BYD ในฐาน อยู่ที่เซินเจิ้นการเข้ามาในไทย BYD มองว่า อุตสาหกรรมของไทยเติบโตต่อเนื่องและเล็งเป้าหมายการลงทุนในเขต  EECของไทยด้วย
ปูนใหญ่ฯบีวายดี
ภาพข่าวประชาสัมพันธ์ แสดงถึงความสัมพันธ์และพันธมิตรรายใหม่ระหว่าง บีวายบีกับ บริษัท เอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในเอสซีจี (ปูนใหญ่)
โดยมีภาพนายบรรณ เกษมทรัพย์ (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ และบริษัทบีวายดี ออโต้ อินดัสทรี โดยนายหลิว เฉีย เหลี่ยง (ขวา) General Manager Asia-Pacific Auto Sales Division ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง ”การศึกษาและพัฒนาธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า” โดยความร่วมมือครั้งนี้ เป็นการประสานจุดแข็งระหว่างเอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล ที่มีช่องทางการจัดจำหน่าย
ที่แข็งแกร่ง และมีแผนผลักดันธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบ กับบริษัทบีวายดี ออโต้ อินดัสทรี จำกัด ซึ่งเป็นผู้นำตลาดและมีความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อพัฒนาและต่อยอดธุรกิจเกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นการนำเสนอทางเลือกใหม่แก่ลูกค้าให้สามารถมีส่วนร่วมลดมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม ตลอดจนช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
มองกลยุทธ์ปูนฯ
ในขณะที่ปูนซีเมนต์ การร่วมมือกับบีวายดี ถือเป็นปรับตัวเข้ามาเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้านยานยนต์แบบก้าวไปพร้อมกับ ยุคใหม่ของยนตรกรรม ปูนฯเองก็มีขา เกี่ยวอยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น โรงงานผลิตเครื่องยนต์ดีเซล ที่ถือหุ้นกับ Toyota โรงงานแบตเตอรี่ยี่ห้อ FB แล้วก็ยาง มิชลิน
ไรเซน เอนเนอร์จี ไปไหนทำไมไม่ทำตลาด
แหล่งข่าวระบุกับ Thaiautopress ว่า เป็นไปได้ที่เร็วๆ นี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของ 2 ผู้ถือหุ้นใหญ่ชาวไทย ส่วนสาเหตุนั้น เนื่องจากแนวทางและปรัชญาธุรกิจ ไม่ตรงกัน ส่วนของเอเจฯ ต้องรอดูท่าทีของเอเจต่อไป อาจจะหาผู้ร่วมทุนใหม่หรืออย่างไรต้องติดตามดู
BYD e6 รถเก๋งคันแรกโดย ไรเซน เอนเนอร์จี
BYD e6  ราคา 1.89 ล้านบาท รถยนต์ไฟฟ้าจากจีน มาในสไตล์ครอสโอเวอร์ เอ็มพีวี ขนาดคอมแพกต์ เน้นความอเนกประสงค์ เรียบง่าย ดีไซน์ไม่หวือหวาสะดุดตามากนัก แต่ก็รองรับผู้โดยสารได้ 5 ที่นั่ง เท่านั้น
ส่วนภายในถือว่าออกแบบได้ดี แต่ไม่ถึงกับจัดจ้านหรือโดดเด่นเป็นพิเศษ กว้างขวางโปร่งตาพอสมควร ขณะที่วัสดุในความเห็นของเรานั้นพอรับได้แต่ยังเป็นรองคู่แข่ง ไม่เนียนเท่ากับทางฝั่งญี่ปุ่นและเกาหลีที่ให้ผิวสัมผัสน่าประทับใจกว่าทั้งนี้ข้อเด่นของ BYD e6 คือระยะทางวิ่งประมาณ 350 กม./ชาร์จ (ตามสเปกการทดสอบของ BYD) ด้วยแบตเตอรี่ (ลิเธียม-ไออน ฟอสเฟต) ความจุ 80
kWh มากที่สุดในไทย (ซึ่งก็ชาร์จไฟนานหน่อยราว 11-12 ชม. กรณีเป็นเครื่องชาร์จติดตั้งในบ้าน แบบ 7kW ไฟ 1 Phase 220V ของ BYD ราคา 49,900
บาท) มอเตอร์ไฟฟ้า AC Synchronous ให้กำลังสูงสุด 134 แรงม้า และแรงบิดสูงสุด 450 นิวตันเมตร สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ 149 กม./ชม.รถรุ่นนี้อาจจะ เป็นรถรุ่นเดียวและคันสุดท้ายในนาม  ไรเซน เอนเนอร์จี ยุคที่มีลีนุตพงษ์ ถือหุ้น ด้วย
รู้จักบีวายดีนักC&Dตัวยง
BYD ถ้าไปเมืองจีนจะได้เห็นความยิ่งใหญ่ของค่ายรถที่มี คำย่อมาจากคำว่า  Build Your Dream ค่ายBYDคือ ความสำเร็จของ นักกอปปี้และพัฒนา (C&D) เพราะว่ายุคหนึ่งรถยนต์ค่ายนี้ แกะแบบBMW และHonda มาล้วนๆ แต่ปัจจุบันไม่ใช่เพราะว่า BYD มีดีไซด์ เซ็นเตอร์ของตัวเองและเป็นดีไซด์เซ็นเตอร์ที่ใหญ่และอลังการมากๆ
หวัง ซานฟู (Wang Chuanfu ) ได้เริ่มธุรกิจแรกเริ่มของเขา  เมื่อปี 2538 (1995) หรือ 24 ปีที่แล้ว  ด้วยการ ผลิตแบตเตอรี่มือถือ ก่อนจะเติบโตขึ้นจนกลายเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ สำหรับมือถือเบอร์ 2 ของโลกโดย ปัจจุบันเป็นประธานบริหาร (president), ซีอีโอ, ประธานบอร์ดของบริษัท
BYD เข้าสู่ธุรกิจรถยนต์ในปี 2002 จากการซื้อบริษัทรถยนต์ Tsinchuan Automobile Co Ltd เข้ามาเป็นบริษัทลูก และเปลี่ยนชื่อเป็น BYD Auto Co.,Ltd
ในช่วงแรก BYD ยังผลิตและจำหน่ายรถยนต์เครื่องยนต์ ICE เหมือนค่ายรถจีนทั่วไป  ต่อมาราวปี 2008 รัฐบาลจีนออกนโยบายสนับสนุนการผลิต รถยนต์ไฟฟ้า ทำให้ BYD ตัดสินใจเข้าร่วม ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า โดยทำการเปิดตัวรถ ปลั๊กอินไฮบริดตัวแรกในรุ่น BYD F3DM และได้รับความสนใจในอุตสาหกรรมค่อนข้างมาก
ส่วนรถรุ่นที่ทำให้ BYD เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นคือ BYD Qin (บีวายดี ฉิน)รถปลั๊กอินไฮบริด เปิดตัวปี 2013 และขึ้นแท่นเป็นรถยนต์ที่ขายดีที่สุดในจีน ในปีต่อมา และติดอันดับรถยนต์ปลั๊กอินที่ขายดีที่สุดอันดับ 7 จาก 10 อันดับในปี 2014    BYD Tang(ถัง) รถ SUV ปลั๊กอินไฮบริด, BYD Qin (ฉิน) และ BYD e6 ที่เป็นไฟฟ้าทั้งคัน มียอดขายติดท็อป 3 ในจีน  ล่าสุดกำลังจะออก คือBYD e1 BYD e1 เปิดขายในจีน เม.ย.  2562 ที่ผ่านมา
ราคาในจีน ประมาณ 270,000-360,000 บาท (รัฐบาลจีนสนับสนุน 80,000 บาท) ขนาดแบตเตอรี่: 32.2 kWh  ระยะทาง: 305 กม. ต่อการอัดประจุการอัดประจุไฟฟ้า: 1.5 ชั่วโมง จาก 30-80%
กำลัง/แรงบิดของมอเตอร์ : 45 kW/ 110 Nm มิติของรถ: 3465×1618×1500 มิลลิเมตร (cr:@Yossapong )

Advertisements
Advertisements
- Advertisement -spot_imgspot_img

Latest news

Advertising

spot_img

Related news

- Advertisement -spot_img