ยอดรถยนต์ใหม่“MOTOR EXPO 2018” ความเป็นไปภายใต้ยอดจอง4.4 หมื่นคัน

- Advertisement -spot_imgspot_img
- Advertisement -spot_imgspot_img

“มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 35” ปิดฉาก ยอดขายรถรวมเฉียด 45,000 คัน รถเก๋ง รถเอสยูวี รถหรู คึกคัก จักรยานยนต์เข้าเป้า เม็ดเงินหมุนเวียนกว่า 5.6 หมื่นล้าน
นายขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานจัดงาน มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 35 เปิดเผยว่า ยอดจองรถยนต์ใหม่ในงานจาก 36 ผู้ผลิต มีจำนวนทั้งสิ้น 44,189 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10.9% โดย 5 อันดับสูงสุดได้แก่
อันดับ 1 HONDA 6,842 คัน
อันดับ 2 MAZDA 6,509 คัน
อันดับ 3 TOYOTA 5,907 คัน
อันดับ 4 ISUZU 4,437 คัน
อันดับ 5 MITSUBISHI 3,619 คัน
ภาพรวมของยอดจองรถยนต์ใหม่ ในงานหกรรมยานยนต์ อาจจะไม่สามารถสะท้อนความเป็นไปของความสามารถในการขายและความนิยมของตลาดได้ เพราะว่ามีเงื่อนไข โปรโมชั่น และการเก็บสถิติสำหรับรายงานที่แตกต่างกันมากแต่ล่ะค่าย นอกจากนี้ยังเป็นเพียงการขายช่วงสั้นๆ ในงานเท่านั้นอย่างไรก็ตาม ความสนใจของผู้ซื้อในเวทีนี้อาจสะท้อน นัยยะสำคัญที่น่าสนใจ
ในภาพรวมลำดับต้นๆ ยอดขายของค่ายรถใหญ่อย่าง อีซูซูและโตโยต้า ไม่สามารถขึ้นแท่นกลุ่มนำได้เหมือนยอดในอดีต นั้นสะท้อนให้เห็นว่า เวทีมหกรรมยานยนต์เป็นเวทีของรถยนต์นั่งเสียส่วนใหญ่และเป็นปัจจัยให้มาสด้าและฮอนด้า ก้าวขึ้นมาแถวหน้าในการทำยอดช่วงเวลา 10กว่าวันของงาน เนื่องจาก ฮอนด้าไม่มีรถกระบะจำหน่ายเลย ในขณะที่มาสด้า ถือว่า โดดเด่นในรถนั่ง บทบาทของกระบะนั้นมีน้อยมาก อย่างไรก็ตามค่ายใหญ่สอง่ค่ายหลักคือ โตโยต้า และอีซูซูก็ยังมีอิทธิพลต่อตลาดด้วยการรั้งเบอร์ 3 และ 4 ในงาน ในขณะที่เบอร์5 อย่างมิตซูบิชิ ที่มีรถยนต์น่าสนใจ มีความสดใหม่เช่นกระบะไทรทัน 2018 (บิ๊กไมเนอร์เชนจ์)และความแข็งแกร่งของรถอีโค คาร์ของมิตซูบิชิ รวมถึงรถเอสยูวีที่มีความคุ้มค่าและรถเอ็มพีวี ตัวใหม่ ก็ยังช่วยให้ ต่ายทรีไดมอนติด ลำดับต้นๆ ได้ ส่วนที่ขาดหายไป คือ นิสสัน ซึ่งไม่สามารถทำสถิติมีได้แม้จะมีรถยนต์ใหม่เทคโนโลยีล้ำสมัยอย่าง รถยนต์ไฟฟ้ารุ่น ลีฟท์ ที่เปิดของครั้งแรกในงาน
ตลาดเก๋งสัดส่วนจอง38.7%
สำหรับสัดส่วนการของ รถเก๋งได้รับความสนใจสูงสุด มีสัดส่วนยอดขาย 38.9% ใกล้เคียงปีก่อน (38.7%) แบ่งเป็นเก๋งซีดาน 25.4% และแฮทช์แบค 13.5% โดย 5 อันดับแรก ได้แก่ HONDA CIVIC, HONDA CITY, MAZDA 2, HONDA JAZZ และ MG 3
เวทีมหกรรมยานยนต์ นั้นจัดที่กรุงเทพ ที่เป็นเมืองหลวงของรถยนต์นั่งอยู่แล้วดังนั้น สัดส่วนการจองของรถยนต์นั่งจึงสูงกว่ากระบะ โดยมีค่ายฮอนด้า นำโด่งมา 2 รุ่นแม้ค่ายบางนาจะไม่มีรถยนต์ใหม่ และขายรถเดืมทุกรุ่นบนเวทีแต่ ฮอนด้า ก็ยังเป็นตัวเลือกของผู้บริโภค โดยเฉพาะในกลุ่มซีเซ็คเมนท์ ซีวิคแทบผูกขาดเนื่องจาก คู่แข่งสำคัญคือ โตดยต้า อัลติส ค่อนข้างอยู่ในช่วงอ่อนแอของสินค้าและรอเปลี่ยนรุ่นอัลติสในเดือนเม.ย.2562 ในขณะที่มาสด้าเองก็รอเปลี่ยนรุ่นมาสด้า 3 ในช่วงต้นปีหน้าเช่นกัน
สำหรับรถซับคอมแพ็ค ฮอนด้า ยังแข็งแกร่งด้วยรูปลักษณ์ของตัว ซิตี้ ที่ยังไร้ที่ติในระดับราคาเดียวกัน รถที่สามารถเบียดคู่แข่งมาได้ดีตลอดมาคือ มาสด้า ที่มีความชัดเจนในการพัฒนาแบรนด์ต่อเนื่องทำให้เกิดความเชื่อมั่นในกลุ่มลูกค้ารวมถึง คาแรคเตอร์ของ การขับขี่มีมีคุณภาพถูกรสนิยมของผู้ใช้การออกแบบสวยงามมาสด้าเลยทิ้งห่างรถที่ควรจะอยู่ในตำแหน่งเบอร์2 ของตลาดเก๋งอย่างนิสสันไปมากทีเดียว ในเวทีนี้ตลาดรถเก๋งยังคงเป็นเก๋งเล็ก (ซัพคอมแพ็ค)เสียส่วนใหญ่ เช่น มาสด้า 2 ฮอนด้า ซิตี้ และเอ็มจี3
รถตรวจการณ์สัดส่วนสูงขึ้น
ขณะที่รถกิจกรรมกลางแจ้งหรือรถตรวจการณ์ (SUV) มีสัดส่วน 34.3% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย (33.9%) 5 อันดับแรก ได้แก่ MITSUBISHI PAJERO SPORT, MG ZS, HONDA CR-V, HONDA HR-V และ FORD EVEREST
สำหรับเวทีมหกรรมยานยนต์สะท้อนความนิยมของตลาดรถตรวจการณ์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งความนิยมนี้ได้เพิ่มขึ้นมาตลอด3ปี และเป็นเทรนด์ทั่วโลกในไทยเองรถยนต์ใหม่ที่ออกสู่ตลาดและแสดงบนเวทีก็มี”โมเดล”ใหม่ๆ ในรูปแบบรถเอสยูวีเพิ่มขึ้น รถยนต์ตรวจการณ์ที่นำเสนอในตลาดมีความคุ้มค่า มีอรรถประโยชน์มากกว่าทำให้ลูกค้าบางส่วนเปลี่ยนจากรถซีดาน หรือรถแฮทแบค(5ประตู) มาใช้รถตรวจการณ์ทำให้สัดส่วนของรถตรวจการณ์เพิ่มขึ้นตลอดเวลา ในแง่ของการแข่งขึ้น ปาเจโรสปอร์ต ก้าวขึ้นมาสู่ผู้นำ ด้วยการปรับเปลี่ยนโฉมหน้าใหม่(ไมเนอร์เชนจ์)และมิตซูบิชิแข็งแกร่งในแง่ของการ”ให้ความคุ้มค่าต่อราคา”มากสุดด้วยเทคโนโลยีความปลอดภัย ที่ทันสมัยและนำหน้าคู่แข่ง รองลงมาคือ เอ็มจีZSรถที่มีราคาโดนใจเพราะไปเบียดกับเก๋งซีดาน ขนาดซับคอมแพ็ต ลูกค้าจะซื้อเก๋งต้องมองZS เป็นทางเลือก
กระบะเรนเจอร์ทำยอดขึ้นนำ
รถกระบะมีสัดส่วน 17.2% ลดลงจากปีก่อนเล็กน้อย (17.9%) 5 อันดับแรก ได้แก่ FORD RANGER, ISUZU D-MAX, MITSUBISHI TRITON, TOYOTA REVO และ NISSAN NAVARA
ตลาดกระบะค่อนข้างพลิกผันเพราะ ความแรงของเรนเจอร์ที่ใส่เทคโนโลยีมาเพิ่มจากทุนเดิมคือหน้าตาที่โดนใจ เรนเจอร์ใหม่2018 ออกตลาดมา3เดือนเป็นช่วงฮันนี่มูน เนื่องจากคู่แข่งสำคัญในตลาดอย่างอีซูซูอยู่ในช่วงท้ายโมเดล (รอเปลี่ยน2019) ส่วนโตโยต้ารีโว่ เจ้าตลาดยังไม่หวือหวาเท่าที่ควร ในขณะที่รถใหม่อย่าง ไทรทัน 2018 ก็เสียบตลาดด้วยหน้าตาใหม่ ซึ่ง 4 ค่ายหลักนี้กลายเป็นเมเจอร์ของตลาด โดยแบ่งแฟนกันไปชัดเจน
ส่วนรถหรู มียอดขายรวม 4,213 คัน โดย 5 แบรนด์ ที่ได้รับความสนใจสูงสุด ได้แก่ MERCEDES-BENZ, BMW, VOLVO, AUDI และ PORSCHE
รถเก๋งหรูหราหรือตลาดพรีเมี่ยม ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนักรถตราดาว 3 แฉก ครองเบอร์หนึ่งด้วยความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และราคาสมเหตุสมผลมากขึ้น เบอร์2ยังคงเป็นค่ายใบพัดสีฟ้า ซึ่งตามหลังมาห่างๆ ส่วนเบอร์3 ได้แก่ วอลโว่ ที่อัดเต็มทุกเทคโนโลยีราคาโดนใจ วอลโว่แข็งแกร่งในผลิตภัณฑ์แต่ยังคงอ่อนแอในส่วนของ อะไหล่ บริการและเครือข่าย หากว่า วันนี้วอลโว่มีเครือข่ายแข็งแกร่งแบบเบนซ์ (ซึ่งเป็นไปไม่ได้)วอลโว่จะกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง
จักรยานยนต์ ปิด9พันคัน
รถจักรยานยนต์จาก 23 ผู้ผลิต ยอดขายรวม 9,169 คัน สูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้ อันดับ 1 ได้แก่ HONDA 1,531 คัน อันดับ 2 YAMAHA 1,111 คัน อันดับ 3 LAMBRETTA 1,012 คัน อันดับ 4 KAWASAKI 775 คัน และ อันดับ 5 VESPA 605 คัน
ในตลาดจักรยานยนต์เนื่องจากมีความหลากหลายแตกต่างของผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายในงานเป็นอย่างมากคือ มีบิ๊กไบค์ มีมินิไบค์ ยอดขายไม่ได้สะท้อนความเป็นไปของตลาดที่แท้จริง (ไม่วิเคราะห์)
ราคาเฉลี่ยของรถที่ขายได้ในงานเพิ่มขึ้นเป็น 1,286,898 บาท (ปีก่อน 1,271,837 บาท) เงินหมุนเวียนภายในงานราว 56,000 ล้านบาท ผู้เข้าชมงานจำนวน 1,534,961 คน เพิ่มขึ้น 12.8%

Advertisements

*ปล การจัดเก็บของมูลที่นำมาวิเคราห์ ทำโดยระบบของผู้จัดงาน
*มหกรรมยานยนต์ มีระบบการจัดเก็บข้อมูล ที่น่าเชื่อถือกว่างานแสดงรถอื่นๆ
*ยอดที่รายงานเป็นยอดจองรถยนต์ใหม่ (การขายจริงอาจจะไม่ทำได้ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขไฟแนนซ์และอื่นๆ เช่นการทิ้งใบจอง )

Advertisements
- Advertisement -spot_imgspot_img

Latest news

Advertising

spot_img

Related news

- Advertisement -spot_img