รู้จัก โอมาดะ และแจคู การกลับมาของ”เณอรี่” ในถิ่นสยาม

- Advertisement -spot_imgspot_img
- Advertisement -spot_imgspot_img

กลับมาอีกครั้งกับแบรนด์ เณอรี่จากจีนหลังจากครั้งหนึ่งเคยจับมือกับยนตรกิจในการทำตลาดไทยแต่ไม่ประสบความสำเร็จ คราวนี้ เณอรี่มาในยุคพลังงานบริสุทธิ์ซึ่งแผนการทำธุรกิจได้ถูกเผยแพร่ออกมาโดยใช้2แบรนด์ใหม่ในเครือคือ โอมาดะกับ แจคู

Advertisements

รถยนต์แบรนด์เณอรี่นั้นเคย เปิดตลาดไทยมาแล้วเมื่อหลายสิบปีก่อน แต่ต้องถอยทัพกลับไปด้วยความไม่พร้อมต่างๆ นานา แต่วันนี้เณอรี่กลับมาอีกครั้งด้วยการทำธุรกิจตรงในตลาดไทย

1 กันยายน2566 ที่ผ่านมา ค่ายรถสัญชาติจีนจาก 2 แบรนด์ นั่นคือโอมาดะ(Omoda) และแจคู( Jaecoo) จัดงานแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ณ โรงแรม So Bangkok เพื่อแนะนำแผนการลงทุนในประเทศไทยโดยมีรถยนต์ แบรนด์ Omoda และ Jaecoo เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับการทำตลาดในอนาคต

น่าสนใจว่า สองแบรนด์ใหม่นี้เป็นใครมาจากไหนโดยเนื้อแท้แล้วต้องเข้าใจว่า เจ้าของที่อยู่เบื้องหลัง 2 แบรนด์ใหม่นี้คือ เณอรี่ กรุ๊ปจากจีน

นายชี่ เจี๋ย (Qi Jie) ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของโอมาอะและแจคู (ประเทศไทย)จำกัด ผุ้แทนจำหน่ายรถยนต์ โอมาอะ(Omoda)และแจคู (Jaecoo)จาก สาธารณะรัฐประชาชนจีน เปิดเผยว่า Omoda และ Jaecoo จะเปิดตัวพร้อมกันในประเทศไทยในต้นปี2567โดยจะจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทยให้แล้วเสร็จในเดือนต.ค.2566 และพัฒนาโชว์รูม 30 แห่งก่อนเปิดตัวครอบคลุมพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดสำคัญของภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Omoda & Jaecoo International Co ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Chery International ผู้ผลิตรถยนต์ของรัฐของจีน วางแผนที่จะยื่นขอสิทธิพิเศษจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BoI)เพื่อจัดตั้งฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV)
แผนการลงทุนในไทย มี3 ระยะครอบคลุมปี 2567-2567 โดยมีกำลังการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 1.8หมื่นคันต่อปี
โดยในสัปดาห์นี้บริษัทเตรียมหารือกับบริษัท อรุณพลัส จำกัด บริษัทในเครือ ปตท. เกี่ยวกับแผนการว่าจ้างอรุณพลัสเพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้กับ Omoda & Jaecoo ในแผนธุรกิจระยะแรกก่อนกำหนดและจะก่อตั้งโรงงานผลิตเองในขั้นตอนต่อไป

Advertisements

ในช่วงระยะที่สองระหว่างปี 2569-27 บริษัทต้องการเพิ่มกำลังการผลิตเป็นประมาณ 50,000 คันต่อปี โดย 45,000 คันจะเป็นสำหรับตลาดส่งออก ส่วนที่เหลือสำหรับตลาดในประเทศ

ในระยะที่สามระหว่างปี 2571-30 กำลังการผลิตของ Omoda & Jaecoo จะถูกขยายเป็นมากกว่า 100,000 คันต่อปี โดย 60,000 คันสำหรับตลาดส่งออก ซึ่งทางบริษัทกำลังเจรจากับพันธมิตรชาวไทยเกี่ยวกับการร่วมทุนระยะยาวในการผลิตรถยนต์ EV

“บริษัทกำลังหารือกับบริษัทไทยเกี่ยวกับการลงทุนในโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและสถานที่ตั้ง” นายเจี๋ยกล่าว

ประเทศไทยเป็นประเทศที่สามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เณอรี่ ตัดสินใจลงทุน รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย

โรงงานผลิตแห่งใหม่ของไทยจะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับตลาดในประเทศและส่งออกเท่านั้น ทั้งนี้บริษัทมีเป้าหมายที่จะใช้ประเทศไทยในการผลิตการส่งออกรถยนต์ไฟฟ้า ในขณะที่อินโดนีเซียและมาเลเซียจะผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องยนต์สันดาปภายใน

ทั้งนี้บริษัท กำลังรอดูท่าทีของ รัฐบาลชุดใหม่ ในการกำหนดทิศทางของ นโยบาย EV เนื่องจากมาตรการใหม่สำหรับการส่งเสริม EVโครงการ 3.0 ในปัจจุบันจะหมดอายุในเดือนธันวาคมปีนี้ และรัฐบาลไทยอาจจะอนุมัติโครงการ “EV 3.5”

หากรัฐบาลใหม่ชะลอการอนุมัติโครงการนี้ บริษัทอาจเลื่อนการลงทุนในประเทศไทย เนื่องจากโครงการ EV 3.5 จะสนับสนุนผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและเพิ่มความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย

สำหรับแบรนด์ Jaecoo เป็นแบรนด์ของเณอรี่ ที่ใช้นอกประเทศจีนโดยมีรถยนต์ที่น่าสนใจเช่น แจคู 7

(Jaecoo 7) รถ SUV แบบครอสโอเวอร์ขนาดกะทัดรัดที่ผลิตโดย Chery ตั้งแต่ปี 2023 ภายใต้ เปิดตัวครั้งแรกในงาน Auto Shanghai 2023 โดยมาจากพื้นฐานรถต้นแบบ Chery TJ-1 C-DM

Advertisements
- Advertisement -spot_imgspot_img

Latest news

Advertising

spot_img

Related news

- Advertisement -spot_img