ใบขับขี่ใบแรกของโลกสู่ ถึง ยกเลิก “ใบขับขี่ตลอดชีพ”ไทย

- Advertisement -spot_imgspot_img
- Advertisement -spot_imgspot_img

สำหรับ “ใบขับขี่”หนึ่งในเอกสารที่ควรมีในชีวิตหนึ่ง ทั้งนี้หลายคนไม่รู้ ความเป็นมา แม้กระทั่ง รัฐบาลไทยกำลังศึกษาแนวคิด ทบทวนผู้ถือใบอนุญาต”ขับขี่รถยนต์ตลอดชีพ”เพื่อลดอุบัติเหตุ

Advertisements

คาร์ล เบนซ์ ถือใบขับขี่ใบแรกของโลก

คาร์ล เบนซ์ ( Karl Benz )ช่อนี้คุ้นๆ เพราะเขาคือ คนแรกที่คิด”รถยนต์”ขึ้นมาในโลกนี้ จากการปฎิวัติอุตสาหกรรม มีเครื่องจักรไอน้ำ และมีการคิดเครื่องยนต์เบนซินขึ้นมา แต่รถยนต์ยังไม่เป็นรูปเป็นร่าง มีแต่รถราง รถไฟ แต่คาร์ล เบนซ์ได้คิดทำรถยนต์ขึ้นดังนั้น ใบอนุญาตขับขี่ใบแรกของโลกนั้นออกให้แก่เขา

ในปี ค.ศ.1888 ประชาชนในเมือง มันไฮม์ ( Mannheim )ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมัน ได้ร้องเรียนเกี่ยวกับเสียงและกลิ่นไอเสียของรถต้นแบบ ที่เบนซ์สร้างขึ้น เบนซ์จึงขออนุญาตจากทางการในสมัยนั้นเพื่อ ที่ทดลองการขับรถของเขาในทางสาธารณะ
จนกระทั่งเริ่มต้นศตวรรษที่ 20 ทางการรัฐPrussia (อาณาจักรเยอรมันเดิม ) เริ่มมีการออกใบอนุญาตขับขี่ โดยมีการกำหนดข้อบังคับ เกี่ยวกับใบอนุญาตขับขี่ และวันที่29ก.ย. ค.ศ.1903 สมาคมที่ควบคุมยานพาหนะที่เคลื่อนด้วยรถจักรไอน้ า (Steam Boiler Supervision Association) ได้จัดให้มีการทดสอบความ สามารถในการควบคุมเครื่องยนต์ของผู้ขับขี่ขึ้น (Drivers’ Mechanical Aptitude)จากนั้นในปี ค.ศ.1910 เยอรมันจึงได้ประกาศบังคับใช้การจดทะเบียนใบอนุญาตขับขี่ขึ้นบังคับใช้ในประเทศ และได้มีการจัดตั้งระบบให้การให้ความรู้แก่ผู้ขับขี่ และระบบทดสอบผู้ขับขี่ ซึ่ง เปรียบเสมือนแม่แบบของกฎหมายใบอนุญาตขับขี่ของประเทศอื่น

ใบขับขี่อเมริกาเริ่มต้นที่นิวยอร์ค
ในประเทศอเมริกาหลังจากมีรถยนต์วิ่งบนถนน รถยนต์ได้ก่อนให้เกิด ความเสียหายแก่ชีวิตของผู้คนเป็นจำนวนมาก ประชาชนจึงมีเสียงเรียกร้องให้ฝ่ายนิติบัญญัติเริ่มศึกษา การบังคับใช้กฏหมายของการขับขี่ โดยอเมริกาได้ศึกษาการออกข้อบังคับการขับขี่รถยนต์จาก ประเทศฝรั่งเศสและประเทศเยอรมัน ซึ่งตอนนั้นมีกฎหมายที่เป็นแม่แบบกฎหมายใบอนุญาตขับขี่ ใช้แล้ว
1 ส.ค.1910 กฎหมายเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนใบอนุญาตขับขี่ฉบับแรก
ของอเมริกาได้มีผลบังคับใช้ เป็นฉบับแรกในรัฐนิวยอร์ก แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายฉบับดังกล่าว บังคับใช้เฉพาะกับ ผู้ที่มีวิชาชีพขับรถเท่านั้น (Professional Chauffeurs) ต่อมาเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1913 รัฐนิวเจอร์ซี เป็นรัฐแรกที่บังคับให้ผู้ขับขี่ทุกคนต้องผ่านการทดสอบการขับขี่ตามที่กฎหมายกำหนดเสียก่อน จึงจะได้รับใบอนุญาตขับขี่ ทั้งนี้ก็เนื่องจากรัฐต้องการควบคุมการใช้ยานพาหนะในถนนสาธารณะ และต้องการควบคุมปริมาณการเกิดอุบัติเหตุในท้องถนน

สำหรับในประเทศไทยรถรุ่นแรกที่มีบทบาทคือ “รถลาก” ซึ่งเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 4 มีพระยาโชฎึกเศรษฐี ข้าราชการกรมท่าซ้าย ได้ งติดต่อซื้อติดสำเภากลับมาใช้ในเมืองไทย และได้นำรถลากขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 4 รถลากจึงมีในเมืองไทยครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2414

Advertisements

ในช่วงนั้นเริ่มมีการติดต่อค้าขายกับคนตะวันตกมากขึ้น ชาวต่างประเทศก็เริ่มตัดถนน ตามแบบอย่างตะวันตก เพื่อเดินทางติดต่อต่อกัน ถนนที่สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกบางแห่งโรยหิน ยานพาหนะที่ใช้กันในสมัยนั้นก็คือ รถม้าลาก และรถคนลาก หรือรถเจ๊ก

2488 จดทะเบียนคนขับครั้งแรกในไทย
ต่อมาก็เริ่มมีรถยนต์เข้ามาวิ่งรถยนต์คันแรกของประเทศไทย นำมาโดยเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ทำการรับจ้างขนส่ง หลังจากมี พระราชบัญญัติรถลาก พ.ศ.2444 พระราชบัญญัติรถลาก พ.ศ.2448, พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2448 เพื่อจัดระเบียบการจดทะเบียนเจ้าของรถ, จดทะเบียนคนขับรถ, กำหนดค่าทะเบียนใบอนุญาต, ตลอดจนข้อบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัย เช่น การบรรทุกคนโดยสาร การตรวจสอบสภาพรถ พอสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 รถลากก็ค่อยๆ หายไป

กรุงเทพมีรถโดยสารประจำทางโดยพระยาภักดีนรเศรษฐ (นายเลิด เศรษฐบุตร) เป็นผู้ดาเนินการ โดยใช้รถ ฟอร์ดหน้าหม้อทองเหลือง ต่อตัวถังแบบ 2 แถว บรรทุกคนโดยสารได้ราว 10 คน รถยนต์ฟอร์ดนี้ มีสามล้อใช้ยางต้น ตอนท้ายทาสีขาว มีกากบาทสีแดงล้อมรอบด้วยวงแดง รถแท็กซี่ หรือรถเก๋งรับจ้าง พระยาเทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้ให้ลูกหลานเอารถออกวิ่งรับจ้างคนเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2467 จำนวนรถยนต์เมื่อ พ.ศ.2470 มีอยู่ไม่เกิน 1,000 คัน มีถนนไม่กี่สายแม้กระนั้น การกีดขวางทางและอุบัติเหตุจราจรก็เกิดขึ้นมาก

เริ่มต้นใบขับขี่ขึ้นอยู่กับตำรวจ

เวลานั้นยังไม่มีตำรวจจราจร ยังไม่มีพระราชบัญญัติจราจรสาหรับใช้บังคับคดีแม้คำว่า “จราจร” ก็ยังไม่เกิดขึ้น อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ฉบับแรก อำนาจตำรวจในการปฏิบัติงาน ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2463 ทำให้ ตำรวจต้องทำหน้าที่เป็นนายทะเบียน ซึ่งเจ้าหน้าที่กองทะเบียนสังกัดอยู่กับกองพิเศษตำรวจนครบาลมีสำนักงานอยู่ที่กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย (สมัยนั้น)

ต่อมา พ.ศ.2475จำนวนรถชนิดต่างๆ ได้เพิ่มมากขึ้นประกอบกับสะพานพระพุทธยอดฟ้า เปิดใช้งานแล้ว การจราจรก็เพิ่มมากขึ้น จำนวนรถยนต์ก็มีมาก ปี พ.ศ.2477 กรมตำรวจได้จัดตั้ง “กองจัดยวดยาน” เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกรมตำรวจทำหน้าที่ควบคุมการจราจรโดยเฉพาะในถนนเจริญกรุงและเยาวราช มีความยุ่งยากในการจราจรมากที่สุด

ปี พ.ศ.2477 เป็นปีที่เกิดคำว่า “จราจร” ขึ้นในประเทศไทย โดยกรมตำรวจได้เสนอร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก ต่อกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอให้ออกเป็นกฎหมาย ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ พันตารวจเอก ซี.บี.ฟอลเล็ต เป็นผู้ร่างขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ โดยอาศัยหลักกฎหมายจราจรของประเทศอังกฤษมาดัดแปลง และได้ออกกฎหมายเมื่อ พ.ศ.2477 เป็นพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 จากนั้นคำว่า “จราจร” ก็แพร่กระจายทั่วไป

ด้วยความเจริญของสังคมทำให้การใช้รถใช้ถนนมีความสาคัญจึงมีการปรับปรุงแก้ไขกฏหมาย ให้มีความทันสมัยรองรับสภาพการใช้รถใช้ถนน ตามลำดับ การแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการจราจร ในปี พ.ศ.2522 ถือว่า เป็นการแก้ไขครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ขึ้นใช้บังคับแทนกฎหมายที่เกี่ยวกับการจราจรที่ใช้บังคับแต่เดิมกฎหมายเหล่านี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมให้มีความทันสมัยโดยตลอดจนถึงปัจจุบันดังนี้

  1. พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2539, (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2535, (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2538, (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2542, (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550 เป็นกฎหมายหลักที่บัญญัติเกี่ยวกับการจราจร กฎหมายฉบับนี้ตราขึ้นเพื่อบังคับให้เจ้าของและผู้ขับขี่ปฏิบัติตามโดยได้บัญญัติเกี่ยวกับลักษณะของรถที่ใช้ในทาง การใช้ไฟ หรือเสียงสัญญาณของรถ การบรรทุก สัญญาณจราจรและเครื่องหมายจราจร การใช้ทางเดินรถ และได้กาหนดรายละเอียดในการขับรถการขับแซงและผ่านขึ้นหน้าการออกรถ การเลี้ยวรถ และการกลับรถฯลฯ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้รถถือปฏิบัติเป็นไปในลักษณะเดียวกันนอกจากนี้ยังได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานจราจรและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการควบคุมดูแล และการจัดการจราจร ทั้งนี้กฎหมายได้กำหนดบทลงโทษต่อผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติกฎหมายไว้ด้วย
  2. พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524, (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2525 (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2527, (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2528, (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2528, (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2530, (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2530, (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2537, (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2542, (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2544, (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2546, (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2547, (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2550, (ฉบับที่ 15) พ.ศ.2551 เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อบังคับรถยนต์ทุกประเภท โดยการกำหนดประเภทและลักษณะของรถยนต์ที่สามารถใช้วิ่งบนทางรวมทั้งการจดทะเบียน การใช้รถและการชำระภาษี ตลอดจนใบอนุญาตขับขี่ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ทางร่วมกัน

พระราชบัญญัติรถยนต์ มาตรา 42 ที่กำหนดให้ ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตขับรถและต้องมีใบอนุญาตขับ รถและส าเนาภาพถ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถ เพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานได้ทันที และมาตรา 46 ที่กำหนดให้ผู้จะขอใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล ผู้ขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล หรือรถจักรยานยนต์ชั่วคราวจะต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด คือ มีอายุไม่ต่ำกว่า 18ปีบริบูรณ์ และมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์สำหรับรถจักรยานยนต์ นอกจากนี้ยัง กำหนดให้ต้องมีความรู้และความสามารถในการขับรถ และรู้กฎหมายจราจรอีกด้วย รวมถึงต้องมีสภาพร่างกายที่พร้อมขับรถได้ เช่นร่างกายไม่พิการ ไม่เป็นโรคประจำตัวที่เป็นอันตรายต่อการขับรถ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตเป็นต้น

2521ย้ายใบขับขี่ขึ้นกับขนส่ง

เมื่อปี พ.ศ.2521 ได้มีการรับโอนงานทะเบียนรถบรรทุกส่วนบุคคล (ปิคอัพ) พร้อมใบอนุญาตขับรถตามพระราชบัญญัติรถยนตร์ จากกรมตำรวจ มาดำเนินการในปี พ.ศ.2522 งานทะเบียนรถบรรทุกส่วนบุคคลได้โอนกลับไปกรมตำรวจอีกครั้งหนึ่ง ในปี 2523 ต่อมาในวันที่ 23 กรกฎาคม 2531 กรมการขนส่งทางบกได้รับโอนงานทะเบียนรถยนต์จากกรมตำรวจมาดำเนินการทั้งหมด ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติล้อเลื่อน

และ 28 ก.ค.2546 ปิยะพันธ จัมปาสุต อธิบดีกรมการขนส่งทางบกได้ปรับปรุงระบบการออกใบขับขี่โดยยกเลิกใบขับขี่ตลอดชีพให้ใช้แบบชั่วคราว2ปีและ5ปีแทน

CR: http://dspace.spu.ac.th/

Advertisements
- Advertisement -spot_imgspot_img

Latest news

Advertising

spot_img

Related news

- Advertisement -spot_img