มิตซูบิชิ ไปรษณีย์ไทยและโออาร์ เดินหน้านำนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่นำจ่ายไปรษณียภัณฑ์ ตั้งเป้าดันเส้นทางขนส่งคาร์บอนต่ำ สตาร์ทที่แรกเมืองสมาร์ทซิตี้ “ภูเก็ต – ชลบุรี”

- Advertisement -spot_imgspot_img
- Advertisement -spot_imgspot_img

กรุงเทพฯ – 13 ก.พ.66: บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์มิตซูบิชิจากญี่ปุ่น สานต่อความร่วมมือระยะที่ 2 กับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และ บริษัท ปตท.น้ำมัน และการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ ‘โออาร์’เพื่อใช้รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ มิตซูบิชิ มินิแค็บ มีฟ สำหรับการนำจ่ายไปรษณียภัณฑ์ภายในประเทศหลังจากประสบความสำเร็จในโครงการศึกษานำร่องที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อปีก่อน โดยมุ่งต่อยอดการพัฒนากระบวนการนำจ่ายของไปรษณีย์ไทยให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยในรูปแบบที่ใช้งานได้จริงความร่วมมือในครั้งนี้ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทยและหน่วยงานพันธมิตรที่มีเจตนารมณ์ร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนเป็นกลาง โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงมหาดไทยและการสื่อสารของประเทศญี่ปุ่นรวมทั้งการไปรษณีย์ญี่ปุ่น และมิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น
ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญเพื่อสาธิตการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในเส้นทางเดิมเป็นประจำทุก ๆ วัน
ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อกิจการโลจิสติกส์และการเดินทางในชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไปที่มีการเดินทางไป-กลับ
ระหว่างบ้านและที่ทำงานด้วยเส้นทางที่คุ้นเคย

Advertisements


นายเออิอิชิ โคอิโตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย)จำกัด กล่าวว่า ผมขอขอบคุณพันธมิตรชั้นนำที่ให้ความร่วมมือกับเราเป็นอย่างดีมาตลอด ทั้งไปรษณีย์ไทย และ โออาร์ การผนึกกำลังทำงานร่วมกัน ช่วยให้เราเดินหน้าเข้าใกล้เป้าหมายด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สู่สังคมคาร์บอนเป็นกลาง สอดคล้องกับวาระการส่งเสริมยนตรกรรมพลังงานไฟฟ้าของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย”
“มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย จะเดินหน้าแสวงหาโอกาสและร่วมมือกับพันธมิตรใหม่ๆ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อช่วยขับเคลื่อนตลาดรถยนต์ไฟฟ้าและส่งเสริมระบบเดินทางขนส่งในประเทศไทย การนำ มิตซูบิชิ มินิแค็บ มีฟ มาทดลองใช้ในการนำจ่ายไปรษณียภัณฑ์ จะเป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมของการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในชีวิตจริง ทั้งเพื่อธุรกิจ
และเพื่อการเดินทางไป-กลับที่ทำงานด้วยเส้นทางประจำทุก ๆ วัน” นาย โคอิโตะ กล่าวเพิ่มเติม
ในการดำเนินโครงการศึกษาระยะที่ 2 นี้ ไปรษณีย์ไทย จะทดลองใช้รถยนต์ไฟฟ้า มิตซูบิชิ มินิแค็บ มีฟ นำจ่ายไปรษณียภัณฑ์บนเส้นทางที่ลาดชันในจังหวัดภูเก็ตและชลบุรี รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นนี้มอบประสบการณ์การขับขี่ที่เงียบสงบ ประหยัดพลังงาน
และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยศักยภาพการบรรทุกสินค้าได้สูงสุด 350 กิโลกรัมพร้อมผู้โดยสาร 2 คน
ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เปิดเผยว่า ในปี 2566 แผนงานด้านการนำจ่ายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่ไปรษณีย์ไทยให้ความสำคัญเป็นอย่างมากเนื่องจากการเติบโตของภาคธุรกิจที่ต้องพึ่งพาการขนส่งและไปรษณีย์ไทยต้องมีการนำจ่ายทุกเส้นทางในประเทศไทยจึงจำเป็นต้องใช้พลังงานสะอาดเพื่อลดมลพิษ
ตลอดจนช่วยควบคุมต้นทุนและรายจ่ายในด้านพลังงานน้ำมันซึ่งนับว่ามีความผันผวนในทุก ๆ ปี


โดยแผนงานด้านดังกล่าวไปรษณีย์ไทยได้เริ่มดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 3 ปี
โดยเฉพาะในปี 2565 ที่ได้ทดลองและเริ่มใช้ทั้งรถจักรยานยนต์พลังงานไฟฟ้า รถขนส่งพลังงานไฟฟ้า เช่น รถบรรทุกขนาดใหญ่ รถตู้ นำจ่ายจริงในเส้นทางต่างๆ
“ไปรษณีย์ไทยได้เริ่มเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าในการนำจ่ายพัสดุ –ไปรษณียภัณฑ์เพื่อลดต้นทุนระยะยาว และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากการนำจ่ายของไปรษณีย์ไทยมีระยะทางที่ชัดเจนและต้องให้บริการในทุก ๆ วัน
โดยนอกจากกลยุทธ์ ‘กรีนโลจิสติกส์’ แล้วยังมีการร่วมกับองค์กรที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า อย่างมิตซูบิชิในการนำ“มิตซูบิชิ มินิแค็บ มีฟ” ยานยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ในงานขนส่งบนเส้นทางที่วิ่งเป็นประจำ
ซึ่งพบว่าประหยัดค่าเชื้อเพลิง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


สอดคล้องกับเป้าหมายในการลดคาร์บอนขององค์กร โดยในระยะเริ่มต้นปี 2566 นี้จะทดลองนำจ่ายในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และจังหวัดภูเก็ตซึ่งเป็นเมืองสมาร์ทซิตี้และมีการเติบโตในด้านธุรกิจขนส่ง ก่อนจะขยายไปยังพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป”ดร.ดนันท์ กล่าวเสริม
นายอาคิระ โกโตะ รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการระหว่างประเทศ สำนักนโยบายด้านบริการไปรษณีย์ กระทรวงมหาดไทยและการสื่อสารของญี่ปุ่น กล่าวว่า “เราสนับสนุนโครงการนี้เพื่อแบ่งปันองค์ความรู้และเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าในการใช้งานจริง ปัจจุบัน ทุกองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน ล้วนมีเป้าหมายเดียวกันในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
สนับสนุนการก้าวสู่สังคมคาร์บอนเป็นกลาง อีกทั้งที่ญี่ปุ่นก็มีการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า มิตซูบิชิ มินิแค็บ มีฟ เพื่อการขนส่งพัสดุทั่วประเทศอยู่ก่อนแล้ว การนำรถยนต์ไฟฟ้า มิตซูบิชิ มีฟ มาปรับใช้กับกิจการขนส่งที่คล้ายคลึงกันในไทยจึงนับว่าเหมาะสมและเป็นไปได้จริง”

ในประเทศญี่ปุ่น มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ได้จัดส่งรถยนต์ไฟฟ้ามิตซูบิชิ มินิแค็บ
มีฟ รวมทั้งสิ้น 10,000 คัน ให้กับบริษัทขนส่งต่าง ๆรวมถึงบริษัทค้าปลีกและหน่วยงานรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ
ซึ่งในจำนวนนี้ได้รวมถึงการจัดส่งมิตซูบิชิ มีฟ 1,800 คันไปยังการไปรษณีย์ของญี่ปุ่นเพื่อใช้ในกิจการไปรษณีย์
นายทรงพล เทพนำโสมนัสส์รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านธุรกิจเอนเนอร์ยี่โซลูชัน บริษัท ปตท.
น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ ‘โออาร์’ กล่าวว่า หนึ่งในเป้าหมายของโออาร์ ภายในปี 2030
คือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินธุรกิจและเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน ความร่วมมือกับมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย และไปรษณีย์ไทย จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายดังกล่าว และสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ธุรกิจพลังงานแบบผสมผสานเพื่อการเคลื่อนที่อย่างไร้รอยต่อ


นอกจากนี้ โออาร์ ได้วางแผนการขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้าอีวี สเตชั่น พลัซ (EV Station PluZ)ให้มากขึ้น รวมเป็น 800 แห่ง ภายในปี 2566 ทั้งภายในและภายนอก พีทีที สเตชั่นพร้อมทั้งแสวงหาความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจในการขยาย EV Station PluZ อย่างต่อเนื่อง
เพื่อเป้าหมาย 7,000 หัวชาร์จในปี 2573และเพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง”
ภายใต้บันทึกข้อตกลงที่ลงนามในปีที่แล้ว มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย จัดส่งรถยนต์มิตซูบิชิ มินิแค็บ มีฟ จำนวน 2 คัน เพื่อการศึกษาและทำความเข้าใจถึงการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่เพื่อวัตถุประสงค์ด้
านการพาณิชย์ รวมถึงการเก็บข้อมูลการใช้งานเครื่องชาร์จไฟฟ้าพฤติกรรมการใช้งานในกลุ่มรถขนส่งพัสดุของไปรษณีย์ไทย
และความเป็นไปได้ที่จะขยายการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย อันเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ความรับผิดชอบต่อสังคมที่มุ่ง “สรรค์สร้าง เคียงข้างสังคมไทย” และหลักสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ การศึกษา สิ่งแวดล้อม และสุขภาพมุ่งส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวมของประเทศไทย

Advertisements
Advertisements
- Advertisement -spot_imgspot_img

Latest news

Advertising

spot_img

Related news

- Advertisement -spot_img