โอร่า กู๊ด แคท สเปคไทย” หรือ”แมวจีน”จะเขย่าวงการBEVไทย?

- Advertisement -spot_imgspot_img
- Advertisement -spot_imgspot_img

มีทุกคำตอบข้อสงสัย “รถแมวจีน” ยกเว้นราคาที่คุณต้องรอตัดสินใจเอาเอง

Advertisements

แผนการของGWM ในการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ในประเทศไทยยังคงดำเนินไปต่อเนื่องผลิตภัณฑ์ตัวที่สองของGWM ในการเปิดตลาดไทย โดยรถใหม่เป็นนวัตกรรมBEVหรือ”รถยนต์ไฟฟ้า”ซึ่งเป้าหมายของGWMที่กำหนดไว้อย่างหนึ่งในหลายวัตถุประสงค์ในการขยายตลาดรถออกนอกจีนแผ่นดินใหญ่คือ การนำเอาความเปลี่ยนแปลงไปสู่ตลาดใหม่ๆ ง โอร่า กู๊ดแคทถือเป็น”แมวไฟฟ้า”ที่ท้ารบกับอาณาจักรICE ผู้ที่มีรถญี่ปุ่นครอบครอง เม็ดเงินมหาศาลนี้จะถูกแบ่งโดยแบรนด์จีนหรือมไ่ม่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง โดยโอกาสของรถจีนในวันนี้ คือ ตลาดไทยไม่มีค่ายญี่ปุ่นรายใดเปลี่ยนอาวุธจากเครื่องICE เป็นBEV เลย

โอร่า(ORA) เป็นซับแบรนด์ของ GWM รถรุ่นกู๊ดแคท( Good Cat) เป็นรถแฮทแบค 5ประตูเผยโฉมหน้าให้เห็นมาในตลาดโลกมาระยะหนึ่งแล้ว ส่วนตัวจริงในไทยก็เผยตัวรถให้ได้สัมผัสกันในงานบางกอก มอเตอร์โชว์ครั้งที่21เมื่อเดือนเม.ย.2564 แม้จะมีการเปิดโฉมรถให้เห็นแต่ที่ผ่านมา GWMยังไม่มีการเปิดสเปค ไม่มีราคาไม่มีการขายเหมือนเดิมแผนการตลาดอันซับซ้อนของGWM เมืองไทยทำเอาหลายคนบ่นยาวกันไปเพราะว่าลีลาขั้นตอนก่อนขายรถ ตามแผนตลาดของGWMนั้นเป็นการทำงานที่ผู้ซื้อในตลาดไทยไม่คุ้นเคย

การปล่อยข้อมูลของผลิตภัณฑ์ตัวที่สองนี้ก็เช่นเดียวกัน มีคนบ่นถึงขึ้นตอนการเข้าทำตลาดที่ซับซ้อน มีขี้นตอนการลง”คิวจองการซื้อ” ซึ่งเป็นการเสนอแคมเปญส่วนลดก่อนที่จะเห็นราคาและตัวในโชว์รูม จากนั้นจึงจะเปิดจองเมื่อเปิดราคาและรับเออเดอร์จริงจังในวันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม 2564

สำหรับการจองคิวการจองรถโอร่า GMW แจ้งว่ามีคนลงชื่อ”จองสิทธิ์”ไว้4,296 รายชื่อใน24 ชม. ซึ่งเมื่อถึงวันจริง คนซื้อเท่าไรต้องรอดู เพราะมีตัวแปรสำคัญคือราคา ในขณะที่BEV ก็ยังคงเป็นตลาดใหม่ มีผู้จำหน่ายในไทยหลายรายเปิดจำหน่ายBEV อย่างเป็นทางการในประเทศไทย แต่ก็มีปริมาณการซื้อน้อยมากไม่ว่า รถของเกีย ออดี้ ปอร์เช่ BYD ฮุนได การเห็น”โอร่า”ในครั้งแรกทำให้นึกถึงบีทเทิ่น”และยังย้อนไปถึงการก่อนเกิดของGWMในสมัยแรกๆ ที่เกรทวอลล์เริ่มต้นพัฒนารถด้วยแนวทาง C&Dและนี่คงเป็นมรดกเดียวที่เหลืออยู่มาจนถึง ปัจจุบัน

ข้อมูลอย่างเป็นทางการของORA Good Cat ที่เตรียมเปิดตัวอย่างเป็นทางการและเริ่มวางจำหน่าย ประกอบด้วยมีด้วยกันทั้งหมด 3 รุ่น ตามตารางด้านล่าง

Advertisements
[table id=16 /]

เวลาหยุดที่ กู๊ดแคท

GWM เลือก Good Cat แบบ5 ประตูมาจำหน่ายดีเอ็นเอนั้น คลี่คลายมาจาก คาแรคเตอร์ของแบรนด์”โอร่า”นับตั้งแต่โอร่า ได้เผยตัวในสื่อโซเช่ียล ในไทยได้เห็นรถที่งาน BIMS 2021 เมืองทองธานี ทำให้นึกถึงรถที่ไร้กาลเวลาอย่าง “นิว บีทเทิ่น”ซึ่งนิวบีทเทิ่นเป็นผลงานการออกแบบของ J Mays และ Freeman Thomas จากสถาบันการออกแบบของVW ในแคลิฟอร์เนียที่นำรถตำนานเต่าทองมาทำใหม่เมื่อปี2541หรือกว่า 23 ปีมาแล้ว หลังจากVWหยุดผลิตไปเมื่อปี 2519 (โรงงานสุดท้ายในแม็กซิโก) “โอร่าทำให้นึกถึงบีทเทิ่น”และยังย้อนไปถึงการก่อนเกิดของGWMในสมัยแรกๆ ที่เกรทวอลล์เริ่มต้นพัฒนารถด้วยแนวทาง C&Dและนี่คงเป็นมรดกเดียวที่เหลืออยู่มาจนถึงปัจจุบัน

ทันทีที่เห็น Good Cat ตัวอื่นๆ ในเวที BIMS เอกลักษณ์เด่นๆ ปฎิเสธไม่ได้ว่า อิทธิพลของรถเต่าทอง แบ่งบานใน Good Cat ด้วยสิ่งที่เป็นมรดกของ “บีทเทิ่น” คือ ซุ้มล้อที่ดูแยกส่วนออกมาจากตัวถังเป็นเหมือนปีกที่กางออกมา โคมไฟหน้านั้นต้องเอียงลาด ส่วนไฟท้ายเป็นทรงกลมขนาดใหญ่ แน่นอนว่าแนวเส้นหลังคาต้องการเป็นหลังคาสูงทรงโค้ง ค้าย”กระดองเต่า” แต่Good Cat ได้ส่วนด้านหน้ามาจาก เต่าทองก็จริงแต่ แตกต่างตรงที่มี 5 ประตู ส่วน บีทเทิ่นนั้นมี2ประตู(เทียบกับเต่าทองดั้งเดิม) ส่วนโอร่าอื่นๆ ที่ยังไม่ขายในไทยมีความเหมือนเต่าทองมากกว่า Good Cat และนี่เป็นเหตุผลทำให้สื่อต่างประเทศเล่นข่าวว่า VW พิจารณาที่จะฟ้องผู้ผลิตรถจีนรายนี้และมีแนวโน้มว่าอาจจะต้องขึ้นศาลเมื่อมีการตรวจสอบรายละเอียดกรณีการลอกเลียนแบบ (ผู้ผลิตรถยนต์จำนวนมากได้ร้องเรียนเกี่ยวกับบริษัทจีน ทำการลอกแบบรถ แต่บ่อยครั้งที่ศาลท้องถิ่นจีนได้เพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องดังกล่าว)
มาดูคำอธิบายที่มารูปแบบภายนอกของ Good Cat ซึ่งGWM อธิบายว่า โอร่า มีรูปลักษณ์ภายนอกอันล้ำสมัยแต่แฝงไปด้วยความ”คลาสสิกเหนือกาลเวลา”ภายใต้คอนเซ็ปต์ Retro Futuristic พร้อมสะท้อนตัวตนอันเป็นเอกลักษณ์เมื่ออยู่บนท้องถนน

คลี่คลายเทคโนโลยี

การมาทีหลังด้วยแนวทางการออกแบบของรถสมัยใหม่ที่ขีดจำกับทางด้าน”วิศวกรรม”การออกแบบลดน้อยลงในปัจจุบัน การขยายตัวถังเพื่อการวางผลิตภัณฑ์ตามคอนเซ็ปการตลาดเป็นเรื่องง่าย

มิติตัวรถ Good Cat เป็นรถขนาด 1,825 x 4,235 x 1,596 มม. (กว้าง x ยาว x สูง) ระยะฐานล้อ 2,650 มม. เป็นกลุ่มรถที่กึ่งกว่างระหว่าง ซับคอมแพ็คกับคอมแพ็คคาร์ ซึ่งการวางขนาดรถแบบนี้ก็เพื่อหาตลาดใหม่ของตัวเอง ขนาดที่ไม่เล็กไม่ใหญ่ นั้นเทียบได้กับ HR-V ที่มีฐานล้อ 2610 มม.ในขณะที่ซิตี้แฮทแบคมีฐานล้อ 2589 มม.ส่วนโตโยต้า โคโรลล่า ครอส มีขนาดฐานล้อ2640มม. สำหรับ ฮอนด้า ซีวิคใหม่นั่นมีขนาด 2733มม. สำหรับ CR-V มีฐานล้อ 2662 มม.

“การใส่อุปกรณ์อิเล็คทรอนิค(รวมถึงระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า)และปรับปรุงวัสดุต่างๆ ในORA Good Cat ก็เช่นเดียวกัน การพัฒนาระบบไฟส่องสว่างด้านหน้า แทนที่จะเป็นไฟแบบดั้งเดิมทุกวันนี้ไฟLED กลายเป็นมาตรฐานของทุกๆ ค่าย”


ผู้ผลิตรถจีนนั้นพยายามจะทำรถให้ทันสมัยด้วยการใส่อุปกรณ์อิเล็คทรอนิค(รวมถึงระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า)และปรับปรุงวัสดุต่างๆ ในORA Good Cat ก็เช่นเดียวกัน การพัฒนาระบบไฟส่องสว่างด้านหน้า แทนที่จะเป็นไฟแบบดั้งเดิมทุกวันนี้ไฟLED กลายเป็นมาตรฐานของทุกๆ ค่าย ในGood Cat เรียกไฟหน้าอันเป็นเอกลักษณ์นี้ว่า เป็นรูปทรง Cat Eye ซึ่งมีฟังก์ชั่นในโคมเดียวอย่างไฟกลางวัน (Daytime Running Light) และไฟส่องสว่างหลังดับเครื่องยนต์( Follow Me Home) เพื่อช่วยส่องทางในขณะที่เจ้าของเดินลงจากรถไปเปิดประตูบ้าน ส่วนไฟท้าย เป็นระบบLED Tail light Strip คือมีความยาวพาดยาวซ้ายจรดขวาซึ่งดูเหมือนผู้ออกแบบรถจากจีนจะนิยมใช้มากที่สุด ลักษณะไฟท้ายแบบนี้เราพบเห็นในกลุ่มรถเยอรมันอย่างออดี้และปอร์เช่ มาก่อนหน้า กระจังหน้า

ของGood Cat มีรูปแบบดีไซน์คลาสสิกซึ่งเป็นเพราะโครงสร้างบังคับให้มีลักษณะนี้หากฉีกออกไปก็ไม่ใช่เต่าทองเพียงแต่ระบบการผลิตที่เอื้ออำนวยยืดหยุ่นอย่างในยุคปัจจุบัน การเจาะช่องการปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นทำได้ง่ายดังนั้น GMW ก็ออกแบบให้มีระบบ Active Air Intake หรือระบบที่ปล่อยให้อากาศไหลผ่านเข้าได้นั่นเอง รถสมัยก่อนนั้นกันชนตันๆ ทื่อๆ เป็นโลหะการเซาะร่องเจาะช่องทำได้ยากภายในมีการออกแบบอย่างภายในให้ประณีต เรียกว่า “Intelligent Cockpit with Exquisite Craftsmanship” และออกแบบหน้าจอ Interactive Double Screen ด้วยความเก่งกาจของอุตาสหกรรมจอมอนิเตอร์จีนที่ เป็นหนึ่งในฐานการผลิตหน้าจอTFT ของโลกในรถGood Cat จึงออกแบบจอขนาดใหญ่มากคือ17.25 นิ้ว (นึกถึงทีวี 14นิ้วสมัยก่อนว่ามันใหญ่แค่ไหน)หน้าจอแบ่งเป็น2 หน้าที่คือ จอแสดงผลการขับขี่แบบดิจิตอล (Full TFT) ขนาด 7 นิ้ว และหน้าจอระบบมัลติมิเดีย(ระบบสัมผัส) ขนาด 10.25 นิ้ว นอกจากนี้ระบบเครื่องเสียง รอบทิศทางที่ติดตั้งลำโพง 6 ตัว

ภายในห้องโดยสาร

วัสดุภายในห้องโดยสาร ใช้วัสดุ คุณภาพสูงให้สัมผัสที่นุ่มนวล จุดนี้เป็นอีกจุดหนึ่งที่ผู้ผลิตรถจากจีนพยายามใช้เป็นจุดเด่น จุดขาย ตัวเบาะนั่งถูกออกแบบประณีต ควบคุมด้วยระบบไฟฟ้าและมีระบบ Welcome Seat ทำให้ผู้ขับขี่สามารถเข้า-ออกจากรถได้ง่าย มี

การติดตั้ง ระบบเบาะนวดไฟฟ้า ส่วนหลังคาเป็นแบบ พาโนรามิคซันรูฟ สองสิ่งหลังนี่บรรดาผู้ผลิตญี่ปุ่นยากที่จะให้เป็นออฟชั่นติดรถมาตรฐานออกมา เบาะหลังสามารถพับลงได้ทำให้ เพิ่มพื้นที่ในการบรรทุกสัมภาระได้สูงสุด 858 ลิตร ระบบสั่งการด้วยเสียงสามารถควบคุมการใช้งานฟังก์ชันได้ตลอดเวลาด้วยเสียง สามารถทำให้ได้รับบริการอย่างที่ต้องการ สามารถควบคุมเครื่องปรับอากาศ ซันรูฟ ระบบนำทาง และมัลติมีเดีย ได้ในประโยคเดียว โดยหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการขับขี่ทำให้เกิดความปลอดภัย

ระบบ Cockpit Cleaning System พร้อมระบบกรองอากาศ PM2.5 ช่วยเปิดการไหลเวียนของอากาศจากภายนอกจากระยะไกลเพื่อระบายอากาศโดยอัตโนมัติ และสามารถช่วยลดปริมาณฝุ่น PM2.5 เมื่อเข้าสู่ห้องโดยสาร เกียร์ระบบ Electronic Shifterช่วยลดขนาดพื้นที่คอนโซลกลางให้มีความทันสมัย
ระบบชาร์จไร้สาย (Wireless Charging) การเชื่อมต่อโครงข่ายระยะไกล ช่วยให้สามารถควบคุมการเปิด-ปิดการชาร์จ เครื่องปรับอากาศ ปิดหน้าต่าง ได้จากระยะไกล และสามารถดูสถานะของรถรถได้ผ่านระบบ GWM Application Good Cat มาพร้อมกับ ระบบช่วยเหลือการขับขี่อัจฉริยะ เช่น ระบบความบันเทิงในรถยนต์

ระบบความปลอดภัยอัจฉริยะ ระบบช่วยเหลือการขับขี่อัจฉริยะ
เทคโนโลยีสำหรับการขับขี่สมัยใหม่ เช่น การอัปเกรดเฟิร์มแวร์ผ่านระบบออนไลน์ (FOTA) เป็นมาตรฐานสำหรับรถจีนเช่นกัน รถสามารถอัปเกรดเฟิร์มแวร์สำหรับการควบคุมระบบขับเคลื่อน ระบบส่งกำลัง ระบบการขับขี่ต่างๆ รวมถึงระบบ Infotainment และระบบควบคุมอื่นๆ ภายในรถยนต์ผ่านระบบออนไลน์ การตอบโต้ด้วยเสียง ผ่านระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) ลดการกดปุ่ม เพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้ขับขี่ อย่างไรก็ตามระบบนี้ต้องใช้ทักษะการเรียนรู้ไปด้วยกันระหว่างรถกับผู้ขับขี่
นอกจากนี้รถยังมีระบบการสั่งการและควบคุมรถจากระยะไกล ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถควบคุมการทำงานบางฟังก์ชันของรถยนต์ได้ เช่น การควบคุมระบบปรับอากาศ การล็อคและปลดล็อคประตู การค้นหารถยนต์ และสามารถสั่งการปิดหน้าต่าง แม้ผู้ขับขี่จะอยู่ในระยะที่ไกลจากตัวรถ รวมไปถึงการสร้างระบบความปลอดภัยให้กับรถยนต์ ฟังก์ชันการเข้าถึงข้อมูลแบตเตอรี่รถไฟฟ้า เช่น ระบบตรวจสอบสถานะปริมาณแบตเตอรี่ ระบบตรวจสอบสถานะการชาร์จแบตเตอรี่ ระบบตรวจสอบระยะทางวิ่งคงเหลือ ระบบช่วยเตือนเมื่อแบตเตอรี่มีปริมาณต่ำระบบช่วยเตือนเมื่อแบตเตอรี่มีความร้อนสูง และการค้นหา POI ระบบความบันเทิงแบบมัลติมีเดีย รองรับ Apple CarPlay และ Siri รองรับ Android Auto และ Google Assistant ระบบนำทาง รองรับแอปพลิเคชั่นเพลง เช่น JOOX

วิศวกรรมโครงสร้าง (PLATFORM )
แพลตฟอร์มโมดูล่าร์ ของGWMส่วนนี้เป็นเรื่องของวิศวกรรมหลังบ้านของGWM ที่ช่วยลดต้นทุนการออกแบบ การพัฒนาและการผลิต และเพิ่มการใช้ทรัพยากรต่างๆ ของภาคการผลิตให้คุ้มค่า เพราะพัฒนาครั้งเดียวสามารถปรับเปลี่ยนและรองรับเครื่องยนต์ได้หลากหลายรูปแบบ รวมไปถึงพัฒนาด้านความปลอดภัยซึ่ง GWM LEMON E PLATFORM ถูกปรับเพื่อสำหรับใช้งานกับรถไฟฟ้า (BEV) โดยเฉพาะ

แบตเตอรี่2ชนิด

การพิจารณารถBEV ต้องว่ากันด้วย มอเตอร์กับแบตเตอรี่มาที่ระบบแบตเตอรี่ก่อน Good Cat มี2 เกรด ให้เลือกและใช้แบตเตอรี่ต่างชนิดกัน

1.แบตชนิดลิเธียมไอออนฟอสเฟต (LFP) ความจุ 47.788 kWh มีระยะทางวิ่งสูงสุด 400 กิโลเมตร(รุ่น 400 TECH และ 400 PRO)
2.แบตเตอรี่ชนิดลิเธียม Ternary (NMC) ความจุ 63.139 kWh ระยะทางวิ่งสูงสุด 500 กิโลเมตร ในรุ่น 500 ULTRA

ตรงนี้ให้เห็นภาพยกตัวอย่างของรถที่เทียบเคียงคือ นิสสัน ลีฟ ที่มีความจุแบตเตอรี่40kWH ระยะทางวิ่ง 311 กม. ราคานิสสัน ลดลงจาก1.99ล้านเหลือ1.499ล้านบาท(แคมเปญวันนี้ถึง 31 ตุลาคม 2564 )

ข้อแตกต่างระหว่าง LFP กับ NMC
LFP-หรือแบตเตอรี่ลิเธียม
“ลิเธียมไอออนฟอสเฟต” เป็นแบตลิเธียมดั้งเดิมได้รับการพัฒนามาอย่างยาวนาน และมีการใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งในเครื่องใช้ไฟฟ้า, ยานยนต์ แบตเตอรี่แบบ LFP นี้ชาร์จได้รวดเร็ว อายุการใช้งานยาวนาน ให้พลังงานสูง มีเสถียรภาพ เซลล์

แบตเตอรี่มีความแข็งแรง ทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้ดี กรณีเกิดการรั่วเกิดขึ้นที่เซลล์ใดเซลล์หนึ่ง แบตเตอรี่แบบ LFP จะไม่ลุกไหม้แต่จะเกิดเพียงควันเท่านั้นส่วนข้อด้อย คือ ข้อด้อย คือ กักเก็บพลังงานได้น้อย แบตเตอรี่ LFPไม่สามารถใช้งานได้กับอุปกรณ์ที่ต้องการพลังงานสูง และมีพื้นที่จำกัด เพระหากต้องการพลังงานมากๆต้องใช้พื้นที่มากเนื่องด้วย แบตเตอรี่แบบ LFP เป็นที่นิยมทำให้มีการผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนของแบตเตอรี่จึงต่ำลงถือเป็นจุดเด่นในเรื่อง ราคาประหยัด

NMC-แบตเตอรี่ลิเธียม-
“ลิเธียมแมงกานีส-โคบอลท์-ออกไซต์” เป็นแหล่งพลังงานที่ใหม่กว่าเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ลิเธียมแบบดั้งเดิม NMC มีความหนาแน่นของพลังงานสูงกว่าแบบ LFP ซึ่งหมายความว่า”ใช้พื้นที่น้อยกว่า”แต่สามารถกักเก็บพลังงานได้มาก ทำให้น้ำหนักเบาอย่างไรก็ตามข้อจำกัดคือ การที่เพิ่งพัฒนาทำให้ต้นทุนการผลิตมีราคาสูงตามไปด้วยและ เมื่อเกิดรูรั่วหรือการรั่วไหลที่เซลล์ของแบตเตอรี่ แบตเตอรี่แบบ NMC จะอยู่ในสถานะไม่เสถียร อนาคตหากNMC มีการใช้งานมากขึ้นราคาต้นทุนของแบตอาจจะถูกลง ทั้งนี้อุตสาหกรรมแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์มีความคืบหน้าในการพัฒนาตลอดเวลา

TERNARY -แบตเตอรี่ลิเธียมแบบ Ternaey หมายถึงแบตเตอรี่ลิเธียมที่ใช้วัสดุที่ประกอบด้วยลิเธียมนิกเกิลโคบอลต์แมงกานีสออกไซด์ (LiNiMnCoO2, NMC) หรือลิเธียมนิกเกิลโคบอลต์อะลูมิเนต (NCA) เป็นวัสดุแอโนด Ternary หมายถึงสัดส่วนที่แตกต่างกันสำหรับการปรับที่แตกต่างกันของเกลือนิกเกิล เกลือโคบอลต์ และเกลือแมงกานีสเป็นส่วนประกอบสามส่วน แบตเตอรีจำนวนมากมีสัดส่วนของวัสดุแบบTernary ที่แตกต่างกันมากมาย

ระบบการชาร์จ
Good Cat มีระบบการชาร์จหลายแบบตามมาตรฐานของBEV
1.แบบเร็วด้วยไฟกระแสตรง (DC) สูงสุด 60 kW
ชาร์จแบบเร็วด้วยไฟฟ้ากระแสตรง DC (0% – 80%) 45 นาที สำหรับรุ่น 400 และ 60 นาที สำหรับรุ่น 500
ชาร์จแบบเร็วด้วยไฟฟ้ากระแสตรง DC (30% – 80%) 32 นาที สำหรับรุ่น 400 และ 40 นาที สำหรับรุ่น 500
2.การชาร์จไฟบ้านแบบ AC 6.6 kW ระยะเวลา 8-10 ช.ม.

ลักษณะอื่นๆ ของแบตเตอรี่
ระบบแบตเตอรี่ สามารถใช้งานขับขี่ได้ในสภาพแวดล้อมอุณหภูมิ -30°C – 55°C แบตเตอรี่สามารถชาร์จไฟได้ในสภาพแวดล้อมอุณหภูมิ -20°C – 55°Cแบตเตอรี่สามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติในช่วงความกดอากาศ -150 ถึง 5,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล

ปานกลาง และภายใต้สภาวะความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ 2 – 98%แบตเตอรี่มีความสามารถในการป้องกันมาตรฐาน IPX9K และ IP67 ซึ่งสามารถป้องกันน้ำ การกัดกร่อน การชน อัคคีภัย และการกระแทกได้ โดยเมื่อเกิดการกระแทกระบบไฟฟ้าจะตัดการทำงานภายใน 0.1 วินาที เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่และผู้โดยสารเซลล์แบตเตอรี่ถูกห่อหุ้มด้วยกล่องที่มีความแข็งแรงในระดับ 3 มิติ พร้อมมีการควบคุมอุณหภูมิและระบบระบายความร้อน

มอเตอร์ 105 kW
ส่วนของมอเตอร์ Good Catทุกเกรด ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าแบบ Permanent Magnet Synchronous Motor ให้กำลังสูงสุด 105 kW หรือ 143แรงม้า(PS) แรงบิดสูงสุด 210 นิวตัน-เมตร ความเร็วสูงสุด 152 กิโลเมตร/ชั่วโมง สมรรถนของรถ มีอัตราเร่ง 0-50กม./ชม. ภายใน 3.8 วินาที ส่วนอัตรเร่ง 0-100 กม/ชม.ยังไม่มีข้อมูล

ข้อมูลเทคนิคอื่นๆ
การออกแบบเน้นการลดแรงต้านทานอากาศโดยมีค่าสัมประสิทธิ์แรงต้านอากาศ 0.273 ระบบช่วงล่างด้านหน้าแบบอิสระแมคเฟอร์สันสตรัท (MacPherson Strut) พร้อมเหล็กกันโคลงซึ่งเป็นมาตรฐานของรถขับเคลื่อนล้อหน้าทั่วโลก ส่วน ระบบช่วงล่างด้านหลังแบบทอร์ชันบีม หรือ คานบิด (Torsion Beam) พร้อมเหล็กกันโคลง ซึ่งการใช้โครงสร้างแบบ ทอร์ชันบีม นี้ช่วยประหยัดพื้นที่ของอุปกรณ์รองรับแรงสะเทือนและมีพื้นที่ว่างในห้องโดยสารหลังมากขึ้น ทอร์ชันบีม นิยมใช้ในรถยนต์นั่งขนาดเล็กที่มีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ ทั้งในรถพรีเมี่ยมและในรถอีโคทั่วไป

สำหรับโหมด การขับเคลื่อนGood Catมี ระบบขับขี่ทั้งหมด 5 แบบ ได้แก่ 1) มาตรฐาน 2) Sport 3) ECO 4) ECO+ และ 5) อัตโนมัติ ซึ่งผู้ขับขี่สามารถปรับได้เองตามปริมาณแบตเตอรี่ที่คงเหลือ และมีโปรแกรมความสามารถการกู้คืนพลังงาน (Energy Recovery)

ได้3ระดับ คือ1. น้อย2. มาตรฐาน และ3.มาก เพื่อการประหยัดพลังงาน

ระบบความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกในการขับขี่


เป็นเหมือนรถสมัยใหม่ทั่วไปที่นิยมติดตั้ง ระบบการช่วยเหลือผู้ขับขี่และระบบความปลอดภัย (Driver Assistance and Safety Systems) หรือเรียกรวมๆ ว่า ADAS
สำหรับGood Cat ใช้การขับขี่แบบอัตโนมัติในระดับL2+ ซึ่งค่อนข้างล้ำหน้าไปมาก ระบบประกอบไปด้วยระบบการช่วยเหลือผู้ขับขี่ต่างๆ
-ระบบความปลอดภัยเชิงป้องกัน (Active Safety)
-ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรผัน (ACC) มาพร้อมกล้องติดรถยนต์ ADAS ที่ประสานกับชิปควบคุมการขับเคลื่อนอัตโนมัติ EYEQ4 ของโมบายอาย ช่วยควบคุมในช่วงความเร็วเต็มพิกัดที่กำหนดไว้ รวมถึงการหยุดและรีสตาร์ทกลับไปยังความเร็วที่ตั้งไว้

ก่อนหน้า โดยรถจะลดความเร็วลงและหยุดตามคันหน้า และเมื่อรถคันหน้าเคลื่อนตัวหลังจากเบรคภายใน 3 วินาที รถของเราจะเคลื่อนตัวตามคันข้างหน้าอัตโนมัติ โดยจะมีระยะห่างการติดตาม
-ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติอัจฉริยะ (ICA) ทำงานตามความเร็วที่ผู้ขับขี่ตั้งเอาไว้ แต่จะตรวจจับรถคันหน้าเพื่อรักษาระยะห่างที่ปลอดภัย
-ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติที่ความเร็วต่ำ (TJA) เป็นระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติเมื่อใช้ความเร็วต่ำ โดยสามารถควบคุมรถให้ติดตามรถด้านหน้าหรือขับต่อไปด้วยความเร็วคงที่เพื่อลดภาระของผู้ขับขี่
-ระบบเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติบนทางตรงและทางแยก (AEBI) ถือเป็นหนึ่งในระบบที่ดีทีสุดในระดับ L2+ ที่มาพร้อมระบบการตรวจจับคนเดินถนน และทางแยก โดยสามารถคำนวณระยะทางระหว่างรถและคนเดินถนนได้แบบเรียลไทม์ มีสัญญาณเตือนด้วยเสียงและการเบรกอัตโนมัติช่วยหลีกเลี่ยงการชนหรือลดแรงกระแทก
-การเบรกฉุกเฉินความเร็วต่ำ เมื่อเรดาร์ทำงาน จะตรวจสิ่งกีดขวางทั้งที่หยุดนิ่งหรือคนเดินถนนที่เคลื่อนที่ในแนวถอยจอดและหากพบว่ามีความเสี่ยงที่จะชน ระบบจะช่วยเบรคให้อัตโนมัติ โดยความเร็วขณะถอยจะไม่ต้องเกิน 8 กม./ชม.
-ระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่ในเลน (LKA) ช่วยควบคุมพวงมาลัยให้รถอยู่ในเลน โดยจะระบุเส้นแบ่งเลนถนนผ่านกล้องที่กระจกหน้ารถ เมื่อคนขับเบี่ยงเลนโดยไม่รู้ตัว ระบบจะช่วยระบบจะช่วยควบคุมพวงมาลัยให้รถอยู่ในเลน เมื่อระบบตรวจสอบพบว่าผู้ขับขี่มีลักษณะการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย ระบบจะแจ้งเตือนด้วยเสียง
-ระบบช่วยเตือนเมื่อรถออกนอกเลน (LDW) แจ้งเตือนเมื่อรถกำลังออกนอกเลน เมื่อรถเบี่ยงออกจากเลนโดยไม่รู้ตัว ระบบจะส่งเสียงเตือนเพื่อให้ผู้ขับขี่มีเวลาตอบสนองมากขึ้น เมื่อผู้ขับขี่มีอาการจาม อ่อนล้า ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้รถเบี่ยงออกนอกเลน ระบบจะแจ้งเตือนโดยทันที
-ระบบช่วยรักษาระยะให้อยู่กลางเลน (LCK) ช่วยควบคุมรถให้อยู่กึ่งกลางเลน
-ระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่ในเลนในภาวะฉุกเฉิน (ELK) โดยหากมีการตรวจสอบพบรถอีกคันกำลังแล่นมา หรือมีรถแซงขึ้นมาจากอีกเลนหนึ่ง ระบบจะทำการแทรกแซงการทำงานมากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดการชน
-ระบบช่วยเลี่ยงการเข้าใกล้รถใหญ่จากด้านข้าง (WDS) โดยระบบจะตรวจสอบรถบรรทุกขนาดใหญ่หรือรถที่มีขนาดยาว​ โดยในระหว่างการแซง ระบบจะรักษาช่องว่างระหว่างรถตามระยะที่เหมาะสม​เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะ และจะประคองรถให้กลับสู่เลนเดิมอัตโนมัติ
-การเข้าโค้งอัจฉริยะ (Intelligent Turn) เมื่อระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรผัน (ACC) ทำงาน กล้องจะทำการตรวจสอบความโค้งของถนน และความเร็วจะถูกปรับอัตโนมัติหากจำเป็นต้องลดความเร็วในขณะเข้าโค้งเพื่อความปลอดภัย และเมื่อผ่านโค้งไปแล้ว รถจะกลับเข้าสู่ความเร็วเดิมที่ตั้งไว้
-ระบบช่วยออกตัวบนทางชัน (HSA) โดยเมื่อออกจากจุดที่หยุดนิ่งบนเนินสูงชัน เบรกจะยังคงค้างอยู่ราว 2 วินาที จนกระทั่งคันเร่งทำงานเพื่อป้องกันการถอยหลัง ระบบตรวจความดันลมยาง (TPMS) โดยรถจะทำการวัดแรงดันลมยางอย่างต่อเนื่องและเตือนผู้ขับขี่หากมีแรงดันลมยางล้อใดลดลง
-กล้องแสดงภาพรอบทิศทาง 360 องศา ประกอบไปด้วยกล้องที่มองได้รอบ 4 ตัว มีความละเอียดคมชัดระดับ 4 Megapixel โดยระบบจะรวมเอามุมมองภาพทั้ง 4 กล้องมาสร้างภาพที่มีมุมมอง 360 องศา เพื่อแสดงให้เห็นมุมมองของรถในแบบ “เฮลิคอปเตอร์” และเปิดการทำงานอัตโนมัติเมื่อเข้าสู่โหมดการถอยหลัง โดยสามารถดูได้เมื่อขับรถที่ความเร็ว 15 หรือ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและตอนสตาร์ทรถ
-ระบบช่วยจอดรถอัตโนมัติ 3 รูปแบบ (IAP) ใช้เซนเซอร์และกล้องในการตรวจสอบเพื่อตรวจจับวัตถุและเครื่องหมายบริเวณช่องจอดหรือจุดจอดรถและช่วยทำงานเต็มรูปแบบเพื่อเข้าจอด ทั้งแนวตั้ง แนวนอน หรือ แนวเฉียง โดยเมื่อระบุช่องว่างที่จะนำรถเข้าจอดแล้วรถจะทำการจอดด้วยตัวเองด้วยการควบคุมพวงมาลัย เบรก และคันเร่ง
-ระบบช่วยเตือนเมื่อมีรถในจุดอับสายตาขณะถอยหลัง (RCTA) เซนเซอร์ช่วยตรวจสอบจุดอับสายตาด้านหลังของตัวรถทั้งด้านซ้ายและด้านขวาของช่องทางเดินรถในขณะถอยหลัง เมื่อกำลังถอยหลังออกจากช่องจอดเข้าสู่ช่องจราจร เซนเซอร์หลังของรถจะทำการเช็กด้านซ้ายและขวาของช่องจราจรและ ส่งสัญญาณเตือนด้วยเสียงและภาพ หากผู้ขับขี่ยังเพิกเฉย ไม่หยุดรถ ระบบเบรกอัตโนมัติในกรณีฉุกเฉินจะเริ่มทำงานด้วยการลดความเร็วและหยุดรถเพื่อหลีกเลี่ยงการชน
-ระบบช่วยเตือนความเมื่อยล้าขณะขับขี่ (DFM) ช่วยประเมินและวิเคราะห์ลักษณะในการขับขี่ เช่นมุมบังคับเลี้ยวการเบรกการควบคุมไฟส่องสว่าง และใบบัดน้ำฝน ระยะเวลาในการขับ หากพบว่ามีลักษณะการขับขี่ที่เหนื่อยล้า หรือหลังจากขับรถด้วยความเร็วเกิน80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และขับรถมากกว่า 4 ชั่วโมง ระบบจะเตือนด้วยภาพและเสียงนาน 20 วินาที ทุกๆ 10 นาที โดยสามารถทำการตั้งค่าใหม่ได้ก็ต่อเมื่อทำการหยุดรถเท่านั้นรถจะทำการแจ้งเตือนและแนะนำให้หยุดพัก

ความปลอดภัยเชิงปกป้อง (Passive Safety)
โครงสร้างตัวถัง ทำจากเหล็กกล้า IronBone™ เหล็กขึ้นรูปร้อนที่มีความแข็งแรงสูงเป็นพิเศษที่สามารถต้านทานแรงดึงได้สูงถึง 1,520 Mpa รวมไปถึงเหล็กกล้าความแข็งแรงสูง 65% และเหล็กเทอร์โมฟอร์ม 8 ชิ้น สามารถดูดซับและลดแรงกระแทกเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นหลัก
ถุงลมนิรภัย 6 ตำแหน่งเพื่อปกป้องผู้โดยสารเมื่อเกิดอุบัติเหตุในกรณีที่ถุงลมนิรภัยทำงานสัญญาณเตือนอันตรายจะทำงานประตูจะถูกปลดล็อก และรถจะโทรติดต่อศูนย์ช่วยเหลือฉุกเฉิน และสามารถส่งตำแหน่งเพื่อขอความช่วยเหลือได้
มาตรฐานความปลอดภัย ได้รับการรับรองจาก China Insurance Research Institute (C-IASI) ในระดับ Good

บรรยากาศการเทรนนิ่งด้านเทคนิคก่อนเปิดขายรถโอรา่ โดยมีฝ่ายบริการในตลาดโอเวอร์ซีเข้าร่วมรับการฝึก รวมถึงตัวแทนช่างจากประเทศไทย

เราปฎิเสธไม่ได้ว่า อนาคตกำลังมาเยือนเราด้วยข้อเด่นของรถBEVที่ภาระการซ่อมบำรุง ลดน้อยลง พื้นที่ใช้งานมากกว่ารถเครื่องยนต์ICE อัตราเร่งดีกว่าแต่การใช้งานจริงระบบการชาร์จไฟที่ใช้เวลานานกว่าการเติมน้ำมัน และการกระจายตัวของสถานีชาร์จ ที่ยังอยู่ในการพัฒนาดังนั้นข้อจำกัดของการใช้รถBEV เลยเป็นข้อจำกัดภายนอกของGood Catด้วยหากจะถามว่ารถBEV เหมาะกับใครให้ดูปัจจัยความพร้อมของตัวเราเองหาก พร้อมจะรอและรับเงื่อนไขสำคัญเกี่ยวกับ การชาร์จ ข้อจำกัดในการวิ่ง ราคาขายต่อ การหารถBEV ก็น่าจะลองส่วนจะเลือกหน้าใหม่ค่ายจีนที่ยังไม่รู้ว่าคุณภาพในระยะยาวจะเป็นอย่างไร การที่คุณจะได้หนีจาก ICE ไปสู่BEV มันคือ “จุดเริ่มต้นของทางแยก” พร้อมเสี่ยงก็ไปได้

ราคาอย่างเป็นทางการ29 ต.ค.64

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีรถยนต์BEV

รถยนต์ ORA Good Cat ที่นำมาขายในประเทศไทย เป็นรถยนต์นำเข้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศ (Completely Built Units: CBU) ซึ่งจะต้องมีอัตราภาษีหลายรายการ เช่น อากรขาเข้า-ภาษีสรรพสามิต-ภาษีเพื่อมหาดไทย-ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับอากรขาเข้า หรือ Import Duty tax สำหรับภาษีนำเข้า“อีวี” จากจีนเป็น 0% ตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนส่วนการนำเข้ามาจากญี่ปุ่นรถเกาหลีใต้เก็บภาษีนำเข้า 40% และรถยุโรปเก็บภาษีนำเข้า 80% ส่วนรถญี่ปุ่น ได้รับสิทธิพิเศษตามกรอบความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ทำให้เสียภาษีในอัตรา 20%จากที่ปกติเก็บ 80% สาหรับรถยนต์นำเข้า ในส่วนของภาษีสรรพสามิต อัตรา 8% สำหรับกลุ่มสำหรับกลุ่มรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (HEV/PHEV/BEV) โดยภาษีตัวนี้จะลดลงเหลือ 4% กรณี HEV/PHEV และ 2% กรณี BEV ตามประกาศกระทรวงการคลัง และล่าสุด คณะรัฐมนตรีมีมติลดภาษีสรรพสามิต อัตรา 0% ในกรณีรถยนต์ไฟฟ้า 100% (BEV) โดยมีเงื่

อนไขให้ผู้ลงทุนหรือผู้ประกอบการ จะต้องนำสนอแผนการลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตและชิ้นส่วนในประเทศไทย ซึ่งต้องเป็นชิ้นส่วนหลัก ที่สาคัญของรถยนต์ไฟฟ้า เช่น แบตเตอรี และได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ก่อน จึงจะได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีนี้ และในปัจจุบัน รถยนต์ไฟฟ้าที่จำหน่ายในประเทศไทย เป็นรถยนต์นำเข้า เป็นส่วนใหญ่ มีผู้ประกอบการ 3 รายคือ AAT-มาสด้าฟอร์ด (ยังอยู่ในขั้นตอนการเตรียมการผลิต) ฟอร์มและทาคาโน เท่านั้น ที่ที่ผ่านเงื่อนไขและได้รับการอนุมัติและสนับสนุนจากบีโอไอ ดังนั้น

หมายเหตุ: กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ปรับลดอัตราภาษีรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (Electric Powered Vehicle) ลดลงเหลืออัตราร้อยละ 0 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 จนถึง 31 ธันวาคม 2565 (รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 3 ปี) หลังจากนั้น ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2566 จนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2568 ให้ใช้อัตราภาษี 2 %ตามเดิม

ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม

ผลการเปิดการจองสิทธิ์ลงทะเบียนในแคมเปญ ORA Good Cat ULTRA DEAL ดังกล่าว ตั้งแต่เวลา 00.01 น. ของวันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมา ภายในเวลา 24 ชั่วโมง (24.00 น. ของวันเดียวกัน) เกรท วอลล์ มอเตอร์ได้รับยอดจองสิทธิ์ทั้งสิ้น 4,296 คัน 

เกี่ยวกับการทำงานของสื่อมวลชนสายยานยนต์
GWM เปิดโอกาศให้สื่อมวลชน เข้าร่วมกิจกรรมการทดสอบรถ วันที่ 17-19 ตุลาคม 2564  บริษัทฯ อนุญาติให้เผยแพร่ข้อมูลและคอนเทนต์จากการทดสอบรถได้ในวันที่ 20 ตุลาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 12.00 น. (เที่ยงวัน) เป็นต้นไป 

Advertisements
- Advertisement -spot_imgspot_img

Latest news

Advertising

spot_img

Related news

- Advertisement -spot_img